เมนู

[อุบาสกนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะไปยังเรือน]


บทว่า เอหิ ภนฺเต ฆรํ คมิสฺสาม มีความว่า ได้ยินว่า อุบาสก
นั้น เมื่อภิกษุกล่าวตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ! อาตมายังไม่ได้บิณฑบาตเลย
ดังนี้ จึงกล่าวว่า พวกภิกษุนั่นแหละ ทำให้ท่านไม่ได้บิณฑบาตนั่น ถึง
แม้ท่านจะเที่ยวไปจนทั่วหมู่บ้าน ก็จักไม่ได้เลย ประสงค์จะถวายบิณฑ-
บาต จึงกล่าวว่า มาเถิด ขอรับ ! พวกเราจักไปเรือนด้วยกัน.
ถามว่า ก็วาจานี้ เป็นวิญญัตติวาจา หรือไม่เป็น ?
ตอบว่า ไม่เป็น. ธรรมดาปัญหาที่เขาถามแล้วนี้ ควรจะตอบ.
เพราะฉะนั้น ถ้าแม้นว่าในทุกวันนี้ ใคร ๆ ถามภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวก
บ้านในเวลาเช้าก็ดี ในเวลาเย็นก็ดี ว่า ท่านเที่ยวไปทำไม ขอรับ !
การที่ภิกษุบอกความประสงค์ที่ตนเที่ยวไปแล้ว เมื่อเขาถามว่า ได้แล้ว
หรือยังไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ก็บอกว่า ยังไม่ได้ แล้วรับเอาสิ่งของที่เขาถวาย
ควรอยู่.
บทว่า หุฏฺโฐ มีความว่า ไม่ได้ทรุดโทรมลง ด้วยการยังความ
เลื่อมใสเป็นต้นให้พินาศไป, แต่ทรุดโทรมลง ด้วยอำนาจแห่งบุคคล
ผู้โทรม.
ทานทั้งหลายนั่นแล ท่านเรียกว่า ทานบถ. อีกอย่างหนึ่ง ทาน
ประจำ ท่านเรียกว่า ทานบถ มีคำอธิบายว่า ทานวัตร.
บทว่า อุปจฺฉินฺนานิ ได้แก่ ถูกพวกทายกตัดขาดแล้ว. อธิบายว่า
บัดนี้พวกทายกเหล่านั้น ไม่ถวายทานนั้น.
บทว่า ริญฺจนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้แยก
กันอยู่ คือกระจายกันอยู่ , มีคำอธิบายว่า ย่อมพากันหลีกหนีไป.

บทว่า สณฺฐเหยฺย มีความว่า พึงดำรงอยู่โดยชอบ คือพึงเป็นที่
พำนักของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก.
ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส ด้วยคำว่า
เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้
ไป ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์
ทั้งหลายเช่นนี้ว่า ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตามคำของเรา ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงไหว้พระเจดีย์ พระปฏิมา
ต้นโพธิ์ พระสังฆเถระ ดังนี้ ก็ดี ว่า ท่านจงทำการบูชาด้วยของหอม
การบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์ ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงนิมนต์ให้ภิกษุ
ทั้งหลายประชุมกัน, พวกเราจักถวายทาน จักฟังธรรม ดังนี้ ก็ดี ข่าว
สาสน์เหล่านี้ เป็นกัปปิยสาสน์ ไม่เกี่ยวด้วยคิหิกรรมของพวกคฤหัสถ์ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
คำว่า กุโต จ ตฺวํ ภกฺขุ อาคจนฺฉติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว
ไม่ใช่กำลังมา. แต่โดยอรรถภิกษุนั้นเป็นผู้มาแล้ว. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้
คำปัจจุบันกาลในอรรถอดีตที่ใกล้ต่อปัจจุบันกาล ย่อมมีได้ ; เพราะฉะนั้น
จึงไม่มีความผิด. แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ในสุดท้าย
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

[ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์]


ในคำว่า ปฐมํ อสฺสชิปุนพฺพสุกา ภิกฺขู โจเทตพฺพา นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ว่า พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ อันสงฆ์พึงให้ทำโอกาสว่า
พวกผมต้องการจะพูดกะพวกท่าน แล้วพึงโจทด้วยวัตถุและอาบัติ, ครั้น