เมนู

บทว่า อาธาวนฺติปิ มีความว่า วิ่งหันหน้าวกกลับมาตลอดระยะ
ทางที่ตนวิ่งไป (วิ่งเปี้ยวกัน).
บทว่า นพฺพชฺณนฺติ ได้แก่ ย่อมทำการปล้ำกัน.
สองบทว่า นลาฏิกมฺปิ เทนฺติ มีความว่า ย่อมแตะนิ้วที่หน้าผาก
ตนแล้ว แตะที่หน้าผากของหญิงฟ้อนนั้น พร้อมกับพูดว่า ดีละ ดีแล้ว
น้องหญิง !
สองบทว่า วิวิธมฺปิ อนาจารํ มีความว่า ประพฤติอนาจารต่าง ๆ
มีกลองปากเป็นต้น (ปี่พาทย์ปาก, ผิวปากเป็นต้น ) แม้อื่น ๆ ซึ่งไม่ได้
มาในพระบาลี.

[แก้อรรถตอนชาวกิฏาคีรีพบภิกษุอาคันตุกะ]


บทว่า ปาสาทิเกน ได้แก่ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือสมควร
เหมาะสมแก่สมณะ.
บทว่า อภิกฺกนฺเตน คือ มีการเดิน.
บทว่า ปฏิกฺกนฺเตน คือ มีการถอยกลับ.
บทว่า อวโลกิเตน คือ การมองดูไปข้างหน้า.
บทว่า วิโลกิเตน คือ ดูข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง.
บทว่า สมฺมิญฺชิเตน คือ การคู้ข้ออวัยวะเข้า.
บทว่า ปสาริเตน คือ การเหยียดข้อเหล่านั้นนั่นแหละออก. ใน
บททั้งปวงเป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถบอกอิตถัมภูต. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้
มีการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออก
อันน่าเลื่อมใส เพราะถูกควบคุมด้วยสติสัมปชัญญะ.

บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ คือ มีจักษุทอดลงเบื้องต่ำ.
บทว่า อิริยาปถสมฺปนฺโน มีความว่า มีอิริยาบถเรียบร้อย เพราะ
มีกิริยาก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น อันน่าเลื่อมใสนั้น.
บทว่า กฺวายํ ตัดบทเป็น โก อยํ แปลว่า ภิกษุนี้เป็นใคร่ ?
บทว่า อพฬพโฬ วิย มีความว่า ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเรียกคน
อ่อนแอว่า อพฬ. ก็คำกล่าวย้ำนี้ เป็นไปในอรรถว่า อย่างยิ่ง, เพราะ-
ฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เหมือนคนอ่อนแอเหลือเกิน.
ด้วยบทว่า มนฺทมนฺโท ชาวบ้านย่อมแสดงคุณแท้ๆ โดยเป็นโทษ
อย่างนี้ว่า เป็นผู้อ่อนแอนัก คืออ่อนเปียกนัก เพราะเป็นผู้มีอิริยาบถ
มีการก้าวเดินเป็นต้นไม่ปราดเปรียว.
บทว่า ภากุฏิกภากุฏิโก วิย มีความว่า เพราะท่านเป็นผู้มีจักษุ
ทอดลง ชาวบ้านจึงสำคัญพูดกันว่า ภิกษุนี้ทำหน้าสยิ้ว มีหน้านิ่วคิ้วขมวด
เที่ยวไปเหมือนคนโกรธ.
บทว่า สณฺหา คือ เป็นผู้ละเอียด. อธิบายว่า เป็นผู้ฉลาดชักนำ
อุบายสกชนไปในฐานะอันควรอย่างนี้ว่า แน่ะโยมหญิง โยมชาย พี่สาว
น้องสาว ! ท่านหาเป็นคนไม่มีพละกำลังเหมือนภิกษุรูปนี้ไม่.
บทว่า สขิลา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวาจานุ่มนวล.
บทว่า สุขสํภาสา นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งคำก่อน. จริงอยู่ ชน
ผู้มีการพูดจาอ่อนหวาน เป็นสัมโมทนียกถา ไม่หยาบคาย เสนาะหู
ท่านเรียกว่า ผู้มีวาจาไพเราะ ด้วยเหตุนั้น ชาวบ้านจึงกล่าวว่า (พระ-
ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา) เป็นผู้พูดไพเราะ พูดอ่อนหวาน. ก็ในคำนี้มี
อธิบายดังนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เห็นพวกอุบาสกอุบาสิกาแล้ว

กล่าวสัมโมทนียกถาไพเราะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้พูดไพเราะ อ่อน
หวาน ไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียกเหมือนภิกษุนี้เลย.
บทว่า มิหิตปุพฺพงฺคมา มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุเหล่านี้ มีการยิ้มแย้ม
เป็นไปก่อนพูด; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีการยิ้มแย้มเป็นเบื้องหน้า
ความว่า ภิกษุเหล่านั้นยิ้มแย้มก่อนจึงพูดภายหลัง.
บทว่า เอหิสฺวาคตวาทิโน มีความว่า เห็นอุบาสกแล้วมักพูด
อย่างนั้นว่า มาเถิด ท่านมาดีแล้ว หาเป็นคนมีหน้าสยิ้ว เพราะเป็นคนมี
หน้านิ่วคิ้วขมวดเหมือนภิกษุนี้ไม่. พวกชาวกิฏาคีรีชนบท ครั้นแสดง
ความเป็นผู้มีหน้าไม่สยิ้ว เพราะเป็นผู้มีปกติยิ้มแย้มก่อนเป็นต้น โดย
อรรถอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงแม้โดยสรุปอีก จึงได้กล่าวว่า มีหน้าไม่
สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ทั้ง 3 บท มีบทว่า อภากุฏิกา
เป็นต้นนี้ แสดงความไม่มีแห่งอาการแม้ทั้ง 3 โดยมาสับลำดับกัน
คือ อย่างไร ? คือ บรรดาบททั้ง 3 มีบทว่า อภากุฏิกา เป็นต้น
นั่น ด้วยบทว่า อภากุฏิกา นี้ ท่านแสดงความไม่มีอาการสยิ้วหน้าสยิ้วตา
ด้วยบทว่า อุตฺตานมุขา นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อนแอ
และอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้หน้าเบิกบานด้วยการลืมตาทั้งสอง
มองดู. ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียก.
ด้วยบทว่า ปุพฺพภาสิโน นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อน
แอและอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใด ย่อมทักทายก่อนว่า แน่ะโยมหญิง !
โยมชาย ! ดังนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในการโอภาปราศรัย, ภิกษุเหล่านั้น
หาเป็นผู้ไม่มีพละกำลังไม่ ฉะนี้แล.

[อุบาสกนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะไปยังเรือน]


บทว่า เอหิ ภนฺเต ฆรํ คมิสฺสาม มีความว่า ได้ยินว่า อุบาสก
นั้น เมื่อภิกษุกล่าวตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ! อาตมายังไม่ได้บิณฑบาตเลย
ดังนี้ จึงกล่าวว่า พวกภิกษุนั่นแหละ ทำให้ท่านไม่ได้บิณฑบาตนั่น ถึง
แม้ท่านจะเที่ยวไปจนทั่วหมู่บ้าน ก็จักไม่ได้เลย ประสงค์จะถวายบิณฑ-
บาต จึงกล่าวว่า มาเถิด ขอรับ ! พวกเราจักไปเรือนด้วยกัน.
ถามว่า ก็วาจานี้ เป็นวิญญัตติวาจา หรือไม่เป็น ?
ตอบว่า ไม่เป็น. ธรรมดาปัญหาที่เขาถามแล้วนี้ ควรจะตอบ.
เพราะฉะนั้น ถ้าแม้นว่าในทุกวันนี้ ใคร ๆ ถามภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวก
บ้านในเวลาเช้าก็ดี ในเวลาเย็นก็ดี ว่า ท่านเที่ยวไปทำไม ขอรับ !
การที่ภิกษุบอกความประสงค์ที่ตนเที่ยวไปแล้ว เมื่อเขาถามว่า ได้แล้ว
หรือยังไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ก็บอกว่า ยังไม่ได้ แล้วรับเอาสิ่งของที่เขาถวาย
ควรอยู่.
บทว่า หุฏฺโฐ มีความว่า ไม่ได้ทรุดโทรมลง ด้วยการยังความ
เลื่อมใสเป็นต้นให้พินาศไป, แต่ทรุดโทรมลง ด้วยอำนาจแห่งบุคคล
ผู้โทรม.
ทานทั้งหลายนั่นแล ท่านเรียกว่า ทานบถ. อีกอย่างหนึ่ง ทาน
ประจำ ท่านเรียกว่า ทานบถ มีคำอธิบายว่า ทานวัตร.
บทว่า อุปจฺฉินฺนานิ ได้แก่ ถูกพวกทายกตัดขาดแล้ว. อธิบายว่า
บัดนี้พวกทายกเหล่านั้น ไม่ถวายทานนั้น.
บทว่า ริญฺจนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้แยก
กันอยู่ คือกระจายกันอยู่ , มีคำอธิบายว่า ย่อมพากันหลีกหนีไป.