เมนู

แก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า
ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง
ลำเอียงด้วยความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่
ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุ
ทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความ
พอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความ
กลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


[621] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่
หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า
ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียง
ด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว
หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีจริงหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร
ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงไม่ประพฤติโดยชอบ
ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า
ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียง
ด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว
หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของโมฆ-
บุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม-
ใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระ-
ปุนัพพสุกะโดยอเนกปริยายดังนี้เเล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก
ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะ
สมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือเพื่อความรับ
ว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ
บังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


17. 13. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใด
แห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติเลวทรามของเธอ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ
สกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่
ด้วย ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้
ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
ของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอัน
ท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจง
หลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้นอันภิกษุ
ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า พวกภิกษุ