เมนู

ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม ย่อมทำตนให้
เป็นผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อให้สละ
เรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[611] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
กรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราญัตติ อาบัติถุลลัจจัย
เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกันมาก
มาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


[612] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
เสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละเสีย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส