เมนู

เคลื่อนโดยฝัน เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส แต่
อสุจิของพวกเราเคลื่อนโดยฝัน ทั้งเจตนาความฝันนี้จะว่ามีก็ได้ ชะรอย
พวกเราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนานี้มีอยู่ แต่นั่น
เป็นอัพโพหาริก

ทรงบัญญัติพระอนุบัญญัติ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


5. 1. ก. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุหลายรูป

สิกขาบทวิภังค์


[303] บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ
ตั้งใจละเมิด.

บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี 10 อย่าง คือ สุกกะสีเขียว 1
สุกกะสีเหลือง สุกกะสีแดง 1 สุกะสีขาว 1 สุกกะสีเหมือนเปรียง 1
สุกกะสีเหมือนน้ำท่า 1 สุกกะสีเหมือนน้ำมัน 1 สุกกะสีเหมือนนมสด 1
สุกกะสีเหมือนนมส้ม 1 สุกกะสีเหมือนเนยใส 1
การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่า
การปล่อย.
บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือว่า ยกเว้นความฝัน.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ได้ ชักเข้าหาอาบัติเดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมาก
รูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆา-
ทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวด
อาบัตินั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


(อุบาย 4)


[304] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน 1 ปล่อยสุกกะในรูปภาย
นอก 1 ปล่อยสุกกะในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก 1 ปล่อยเมื่อ
ยังสะเอวให้ไหวในอากาศ 1

(กาล 5)


ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด 1 ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ
ปล่อยเมื่อเวลาปวดปัสสาวะ 1 ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม 1 ปล่อยเมื่อเวลา
ถูกบุ้งขน 1