เมนู

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[606] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุผู้สละเสียได้ 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน 1 ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11 จบ



สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11


ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา


ทุติยสังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในทุติยสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]


บทว่า อนุวตฺตกา มีความว่า ผู้ปฏิบัติตาม โดยยึดถือเอาความเห็น
ความพอใจ และความชอบใจ แห่งพระเทวทัตนั้น (ผู้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์) ภิกษุเหล่าใดพูดคำเป็นพรรค คือ คำมีในฝักฝ่ายแห่ง

ความไม่สามัคคีกัน; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่าผู้กล่าวคำเป็นพรรค.
ก็ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในวาจา
เป็นฝ่ายสรรเสริญพระเทวทัตนั้น. อธิบายว่า ตั้งอยู่แล้ว เพื่อต้องการ
สรรเสริญ และเพื่อต้องการความเจริญ แห่งพรรคพวก แก่พระเทวทัตนั้น
ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. พวกภิกษุที่กล่าวคำเป็นพรรค ย่อมเป็น
ผู้เช่นนี้โดยนิยม; เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้. แต่เพราะภิกษุมาก
กว่า 3 รูป เป็นผู้ไม่ควรแก่กรรม เพราะสงฆ์จะทำกรรมแก่สงฆ์ไม่ได้;
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอโก วา เทฺว วา ตโย วา
ดังนี้.
บทว่า ชานาติ โน มีความว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ย่อมรู้แม้ความ
พอใจเป็นต้นของพวกเรา.
บทว่า ภาสติ มีความว่า ย่อมกล่าวกับพวกเราว่า พวกกระผม
จะกระทำอย่างนี้.
ข้อว่า อมฺหากํเปตํ ขมติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ย่อม
กระทำสิ่งใด, สิ่งนั้น ย่อมเป็นที่ชอบใจแม้แก่พวกเรา.
ข้อว่า สเมตายสฺมนฺตานํ สงฺเฆน มีความว่า จิตของท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย จงถึงพร้อม คือ จงมาพร้อม, อธิบายว่า จงดำเนินไปสู่ความ
เป็นอัน เดียวกันกับสงฆ์. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น
เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน และเพราะมีอรรถอันตื้น. แม้
สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับสิกขาบทก่อนนั้นแล.
ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 12
เรื่องพระฉันนะ


[607] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
วิหารโฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติ
มารยาทอันไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ดูก่อนฉันนะ
ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ ประพฤติดังนี้ไม่ควร
พระฉันนะกล่าวตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่า
เราเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวกระนั้นหรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน
เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเรา พระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้
ธรรมแล้ว พวกท่านต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ต่างสกุลกัน
บวชรวมกันอยู่ ดุจลมกล้าพัดหญ้าไม้ และใบไม้แห้งให้อยู่รวมกัน หรือ
ดุจแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา พัดจอกสาหร่ายและแหนให้อยู่รวมกันฉะนั้น
ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านสำคัญว่าเราเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวกระนั้น
หรือ เราต่างหากควรว่ากล่าวพวกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าก็ของเรา
พระธรรมก็ของเรา พระลูกเจ้าของเราตรัสรู้ธรรมแล้ว
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน
พระฉันนะ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถูกทางธรรม จึงได้ทำตนให้เป็น
ผู้อันใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า