เมนู

ทำความเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภท่านบัญญัติสิกขาบท
อนาบัติท่านกล่าวแล้วสำหรับพระเทวทัตนั้น เพราะไม่มีอาบัตินั่นเอง
ด้วยประการฉะนี้.
ก็แลอนาบัตินี้นั้น สำเร็จด้วยบทนี้เทียวว่า อสมนุภาสนฺตสฺส
แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น สงฆ์ไม่ได้ทำสมนุภาสนกรรมอย่างเดียวแก่ภิกษุใด
ภิกษุนั้น ท่านเรียก ชื่อว่า ผู้ไม่ถูกสวดสมนุภาส ไม่เรียกว่า ผู้เป็น
ต้นบัญญัติ ส่วนพระเทวทัตนี้ คงเป็นต้นบัญญัติแท้ , เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวบทว่า อาทิกมฺมิกสฺส ไว้.
วินิจฉัยในสมนุภาสน์แห่งสิกขาบททั้งปวง เว้นแต่อริฏฐสิกขาบท
เสีย พึงทราบโดยอุบายนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีองค์ 3 มีสมุฎ
ฐานเดียว, ชื่อว่า สมนุภาสนสมุฎฐาน ย่อมตั้งขึ้นทางกาย ทางวาจา
และทางจิต, แต่เป็นอกิริยา เพราะเมื่อภิกษุไม่ทำกายวิการหรือเปล่งวาจา
เลยว่า เราจะสละคืน จึงต้อง, เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ด้วยประการฉะนี้.
ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11


เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัต


[600] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร-
ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย