เมนู

ตอบว่า พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุใดสละกรรมนั้น
ในเวลาจบ, ภิกษุนั้นย่อมไม่ต้องอาบัติเหล่านี้; เพราะเหตุนั้น อาบัติที่
ไม่ได้ต้องจึงระงับไป ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า อาบัติที่ต้องแล้ว
ย่อมระงับไป ดุจอสาธารณาบัติ ระงับไปเพราะเพศกลับฉะนั้น, จะ
ประโยชน์อะไร ด้วยอาบัติที่ยังไม่ได้ต้องระงับไปเล่า ?

[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยกรรมชอบธรรมเป็นต้น]


สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺญี มีความว่า ถ้าสมนุภาสน-
กรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม เธอมีความสำคัญในสมนุภาสนกรรมนั้นว่า
เป็นกรรมชอบธรรม. ในบททั้งปวงก็มีนัยเหมือนกันนี้. ความสำคัญใน
บทว่า กมฺมสญฺญี นี้คุ้มไม่ได้ เพราะกรรมเป็นของชอบธรรม เมื่อไม่
สละอย่างนั้น ย่อมต้องอาบัติ.
บทว่า อสมนุภาสนฺตสฺส มีความว่า เมื่อไม่ถูกสวดสมนุภาส
แม้ไม่ยอมสละ ก็ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ปฏินิสฺสชฺชนฺตสฺส มีความว่า ไม่ต้องด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
แก่ภิกษุผู้สละเสียก่อนแต่ญัตติ หรือในขณะญัตติ หรือในเวลาจบญัตติ
หรือเพียงที่สวดยังไม่ถึง ย อักษร แห่งอนุสาวนาที่ 1 ก็ดี ที่ 2 ก็ดี
ที่ 3 ก็ดี.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส มีความว่า ก็ในสิกขาบทนี้ พระเทวทัต
เป็นต้นบัญญัติ เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า พระเทวทัตได้พยายาม
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ทรงปรารภพระเทวทัตในเพราะเรื่องนั้น.
ก็พระเทวทัตนั่นแล เป็นต้นบัญญัติแห่งการพยายามเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น

หาได้เป็นต้นบัญญัติแห่งการไม่ยอมสละไม่. เพราะว่า กรรมนั้น สงฆ์
ไม่ได้ทำแก่เธอ.
ถ้าจะมีคำถามว่า ก็คำที่กล่าวนี้ พึงทราบได้อย่างไร ?
ตอบว่า พึงทราบได้ โดยพระสูตร.
เหมือนอย่างว่า การย่อมปรากฏว่า สงฆ์ทำแล้วแก่อริฎฐภิกษุ
เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า อริฎฐภิกษุมีบรรพบุรุษเป็นคนฆ่าแร้ง
ไม่ยอมสละด้วยสมนุภาสน์ จนถึงครั้งที่ 3 ทรงปรารภอริฎฐภิกษุใน
เพราะเรื่องนั้น ดังนี้ ฉันใด กรรมจะได้ปรากฎว่า สงฆ์ทำแก่พระ-
เทวทัต ฉันนั้น หามิได้. แม้ถ้าใคร ๆ จะพึงกล่าวด้วยเหตุสักว่าความ
ชอบใจของตนเท่านั้นว่า กรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเทวทัตนั้น จะพึงมี
ไซร้ แม้อย่างนั้น ขึ้นชื่อว่าอาบัติ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ
ในเพราะไม่สละเสีย. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อนาบัติ ย่อมไม่ปรากฎแก่ภิกษุ
ผู้ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว นอกจากสิกขาบทที่ทรงอนุญาตไว้โดย
เฉพาะ.
แม้คำว่า อาทิกมฺมิกสฺส ในอนาปัตติวารแห่งอริฏฐสิกขาบทที่
ท่านลิขิตไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย ก็ลิขิตไว้ด้วยความพลั้งเผลอ. ก็แลข้อที่
คำนั้น เป็นคำที่ท่านลิขิตไว้ด้วยความพลั้งเผลอ พึงทราบโดยพระบาลี
สำหรับยกอาบัติในกรรมขันธกะอย่างนี้ว่า อริฎฐภิกษุอันสงฆ์พึงโจทก่อน,
ครั้นโจทแล้วพึงให้เธอให้การ, ครั้นให้เธอให้การแล้ว พึงยกอาบัติขึ้น
ปรับ กรรมนั้นสงฆ์ไม่ได้ทำแก่พระเทวทัตผู้เป็นอาทิกัมมิกะในเพราะ
พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ด้วยประการฉะนี้; เพราะเหตุนั้น อาบัตินั้นแล
ชื่อว่า ยังไม่เกิด, แต่พระเทวทัตนั้น ถูกเรียกว่า ผู้เป็นต้นบัญญัติ เพราะ

ทำความเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภท่านบัญญัติสิกขาบท
อนาบัติท่านกล่าวแล้วสำหรับพระเทวทัตนั้น เพราะไม่มีอาบัตินั่นเอง
ด้วยประการฉะนี้.
ก็แลอนาบัตินี้นั้น สำเร็จด้วยบทนี้เทียวว่า อสมนุภาสนฺตสฺส
แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น สงฆ์ไม่ได้ทำสมนุภาสนกรรมอย่างเดียวแก่ภิกษุใด
ภิกษุนั้น ท่านเรียก ชื่อว่า ผู้ไม่ถูกสวดสมนุภาส ไม่เรียกว่า ผู้เป็น
ต้นบัญญัติ ส่วนพระเทวทัตนี้ คงเป็นต้นบัญญัติแท้ , เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวบทว่า อาทิกมฺมิกสฺส ไว้.
วินิจฉัยในสมนุภาสน์แห่งสิกขาบททั้งปวง เว้นแต่อริฏฐสิกขาบท
เสีย พึงทราบโดยอุบายนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีองค์ 3 มีสมุฎ
ฐานเดียว, ชื่อว่า สมนุภาสนสมุฎฐาน ย่อมตั้งขึ้นทางกาย ทางวาจา
และทางจิต, แต่เป็นอกิริยา เพราะเมื่อภิกษุไม่ทำกายวิการหรือเปล่งวาจา
เลยว่า เราจะสละคืน จึงต้อง, เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ด้วยประการฉะนี้.
ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11


เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัต


[600] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร-
ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย