เมนู

จักยังประชาชนให้ยินยอมด้วยวัตถุ 5 เหล่านี้) ดังนี้ จึงกล่าวตามควร
แก่ความรำพึงเนือง ๆ นั่นแลว่า เต มยํ อิเมหิ ปญฺจหิ วตฺถูหิ...
(พวกเรานั้นจะสมาทานประพฤติด้วยวัตถุ 5 เหล่านี้) เหมือนกับคนมีจิต
ฟุ้งซ่านฉะนั้นแล.
สองบทว่า ธุตา สลฺเลขวุตฺติโน มีความว่า ผู้ชื่อว่า ธุตะ เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยปฏิปทาอันกำจัดเสียซึ่งกิเลส, และผู้ชื่อว่ามีความประ-
พฤติขัดเกลา เพราะภิกษุเหล่านี้ มีความประพฤติขัดเกลากิเลสทั้งหลาย.
บทว่า พาหุลฺลิโก มีความว่า ภาวะที่ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น มีมาก
ชื่อว่า พาหุลละ. ความที่ปัจจัย 4 มีมาก มีแก่พระโคดมนั้น; เหตุนั้น
พระโคดมนั้น ชื่อว่า พาหุลลิกะ อีกอย่างหนึ่ง พระโคดมนั้น เป็นผู้
ประกอบ คือตั้งอยู่ในความมีปัจจัยมากนั้น; เหตุนั้น จึงชื่อว่า พาหุลลิกะ
(เป็นผู้มีความมักมาก).
สองบทว่า พาหุลฺลาย เจเตติ มีความว่า ย่อมคิด คือย่อมดำริ
ย่อมตรึก เพื่อต้องการความมีปัจจัยมาก. อธิบายว่า ผู้ถึงความขวนขวาย
อย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ ความเป็นผู้มีปัจจัย มีจีวรเป็นต้นมาก จะพึง
มีแก่เราและสาวกของเรา.

[แก้อรรถตอนตรัสประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท]


หลายบทว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า ทรงกระทําธรรมีกถา
อันสมควรในขณะนั้น คือเหมาะสมในขณะนั้น แก่พระเทวทัตและแก่
ภิกษุทั้งหลายเป็นอเนกประการ โดยนัยที่ตรัสไว้ในขันธกะ มีอาทิอย่างนี้ว่า
อย่าเลย เทวทัต ! การทำลายสงฆ์ อย่าเป็นที่ชอบใจแก่เธอเลย, ดูก่อน
เทวทัต ! การทำลายสงฆ์ หนักแล. ดูก่อนเทวทัต ! บุคคลใดแล ทำลาย

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ผู้นั้น จะประสบกรรมอันหยาบช้า คงอยู่ชั่วกัป,
ดูก่อนเทวทัต ! ส่วนบุคคลใดแล กระทำสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สมัคร
สมานกัน, ผู้นั้นย่อมประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป
ดังนี้.
บทว่า สมคฺคสฺส ได้แก่ ผู้ร่วมกัน, อธิบายว่า ผู้ไม่แยกกัน
ทั้งทางใจและทางกาย. จริงอยู่ แม้ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ได้ทรงแสดงเนื้อความอย่างนั้นเหมือนกัน.
แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า สมานสํวาสโก ย่อมเป็น
อันทรงแสดงความไม่แยกกันทางจิต.
เมื่อตรัสว่า สมานสีมายํ ฐิโต ย่อมเป็นอันทรงแสดงความไม่
แยกกันทางกาย. คืออย่างไร ? คือว่า ภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน เว้นจาก
ผู้มีสังวาสต่างกันโดยลัทธิ หรือผู้มีสังวาสต่างกันโดยกรรม ชื่อว่าเป็นผู้
ไม่แยกกันทางจิต เพราะมีจิตเสมอกัน, ผู้ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ไม่แยกกันทางกาย เพราะให้กายสามัคคี.
สองบทว่า เภทนสํวตฺตนิกํ วา อธิกรณํ ได้แก่ เหตุที่เป็นไป
เพื่อแตกแยกกัน คือเพื่อต้องการทำลายสงฆ์.
จริงอยู่ ในโอกาสนี้ เหตุท่านประสงค์เอาว่า อธิกรณ์ ดุจใน
ประโยคว่า กามเหตุ กามนิทานํ กามาธิกรณํ (แปลว่า มีกาม
เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นมูลเหตุ). ก็เพราะอธิกรณ์นั้นมี
18 ประการ; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วัตถุ
กระทำความแตกแยกกันมี 18 อย่าง. ก็เภทกรวัตถุเหล่านั้นมาแล้วใน
ขันธกะโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอุบาลี ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง

อธรรมว่า ธรรม ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความแห่ง
เภทกรวัตถุเหล่านั้นในขันธกะนั้นนั่นแล. อนึ่ง สังฆเภทนี้ แม้ใด อาศัย
วัตถุเหล่านี้ ย่อมมีโดยเหตุอื่นอีก 5 ประการ คือ โดยกรรม 1 โดยอุเทศ 1
โดยโวหาร 1 โดยอนุสาวนา 1 โดยการจับสลาก 1, ข้าพเจ้าจักประกาศ
สังฆเภทแม้นั้น ในอาคตสถานนั่นแล. แต่โดยสังเขปในคำว่า ถือเอา
อธิกรณ์ที่เป็นไปเพื่อความแตกแยกกัน นี้ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่าง
นี้ว่า ถือเอาเหตุที่เป็นไปเพื่อต้องการทำลายสงฆ์ คืออันสามารถให้สำเร็จ
การทำลายสงฆ์ได้.
บทว่า ปคฺคยฺห ได้แก่ ประคอง คือยกย่อง ทำให้ปรากฎ.
บทว่า ติฏฺเฐยฺย มีความว่า ยืนยันให้เป็นอย่างที่ตนถือเอาแล้ว
คืออย่างที่ตนยกย่องแล้วนั่นแลอยู่. ก็เพราะอธิกรณ์นั้น. ย่อมเป็นอัน
ภิกษุผู้ประคองและยืนยันอย่างนั้น แสดงแล้วและไม่สละคืน; ฉะนั้น
ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงแสดง และว่า ไม่พึงสละคืน
ดังนี้
คำว่า ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย มีความว่า ภิกษุนั้น เป็น
ผู้อันพวกลัชชีภิกษุเหล่าอื่นจะพึงว่ากล่าวอย่างนี้.
ก็ในบทภาชนะแห่งบทว่า ภิกฺขูหิ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- คำว่า
เย ปสฺสนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่าใดเห็นภิกษุนั้นผู้ยกย่องยันอยู่ต่อหน้า.
คำว่า เย สุณนฺติ มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าใด ได้ยินว่า พวกภิกษุ
ในวิหารชื่อโน้น ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นไปเพื่อความแตกกันยกย่องยันอยู่.
คำว่า สเมตายสฺมา สงฺเฆน มีความว่า ท่านผู้มีอายุ ขอจงร่วม
จงสมาคม จงเป็นผู้มีลัทธิอันเดียวกันกับด้วยสงฆ์.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่
วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺโมทมาโน มีความว่า บันเทิงอยู่
ด้วยดีด้วยสมบัติ (มีศีลเป็นต้น ) ของกันและกัน
บทว่า อวิวทมาโน มีความว่า ไม่วิวาทกันอย่างนี้ นี้ธรรม
นี้มิใช่ธรรม.
สงฆ์นั้นมีอุเทศอันเดียวกัน; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกุทเทส
(มีอุเทศเดียวกัน ). อธิบายว่า มีปาฏิโมกขุทเทส เป็นไปร่วมกันไม่
แยกกัน.
สองบทว่า ผาสุวิหรติ ได้แก่ ย่อมอยู่เป็นสุข.
คำว่า อิจฺเจตํ กุสลํ มีความว่า การสละเสียได้นั้น เป็นกุศล
คือปลอดภัย ได้แก่เป็นสวัสดิภาพแก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า โน เจ ปฏินิสฺสชฺชติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ได้แก่ เป็น
ทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ถูกสวด 3 ครั้ง แล้วไม่สละคืน.
ข้อว่า สุตฺวา น วทนฺติ อาปตฺติ ทุกฺกกสฺส มีความว่า เป็นทุกกฏ
แม้แก่พวกภิกษุ ผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ในที่ไกลเท่าไร จึงเป็นทุกกฏ
แก่พวกภิกษุผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว. ในวิหารเดียวกัน ไม่มีคำที่จะพึง
กล่าวเลย. ส่วนในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า ในระยะทางกึ่งโยชน์โดยรอบ
จัดเป็นภาระของภิกษุทั้งหลาย. ความพ้นจากอาบัติย่อมไม่มี แม้แก่ภิกษุ
ผู้ส่งทูตหรือจดหมายไปพูด. พึงไปห้ามเองทีเดียวว่า ท่านผู้มีอายุ !
การทำลายสงฆ์ เป็นการหนัก, เธออย่าพยายามเพื่อทำลายสงฆ์. แต่ภิกษุ

ผู้สามารถ แม้ไกล ก็ควรไป. จริงอยู่ แม้ที่ไกล ๆ จัดเป็นภาระของ
พวกภิกษุไม่อาพาธทีเดียว. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงแต่เพียงใจความเท่านั้น
ในคำว่า ก็ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ เป็นต้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงคุมตัวมา
แม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้ว พึงกล่าว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านี้นั้น สองบทว่า สงฺฆมชฺณมฺปิ อากฑฺฒิตฺวา
มีความว่า ถ้าภิกษุนั้น อันพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่โดยนัยก่อน ยังไม่สละ
คืน แม้พวกภิกษุจับที่มือและที่เท้า คุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึง
ว่ากล่าวเธออีกถึง 3 ครั้ง โดยนัยเป็นต้นว่า มา อายสฺมา ดังนี้.
สองบทว่า ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ มีความว่า สงฆ์พึงสวด
สมนุภาสถึงครั้งที่ 3 ก่อน. มีคำอธิบายว่า สงฆ์พึงกระทำกรรมด้วย
สมนุภาสนกรรมวาจา 3 หน. ก็ในบทภาชนะแห่งบทว่า ยาวตติยํ
สมนุภาสิตพฺโพ
นั้น เพื่อถือเอาแต่ใจความแสดงสมนุภาสนวิธี พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นว่า โส ภิกฺขุ สมนุภาสิตพฺโพ เอวญฺจ
ปน ภิกฺขเว สมนุภาสิตพฺโพ
ดังนี้.
ในคำว่า สมนุภาสิตพฺโพ เป็นต้นนั้น คำว่า ญตฺติยา ทุกฺกฏํ
ทฺวีหิ กมฺมวาจาหิ ถุลฺลจฺจยา ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺติ
มีความว่า อาบัติ
ทั้ง 3 คือ ทุกกฏที่ภิกษุต้องในที่สุดญัตติ และถุลลัจจัย ที่ต้องเพราะ
กรรมวาจา 2 หน ย่อมระงับไปด้วยกรรมวาจาครั้งที่ 3 พอสวดถึง
อักษร อย่างนี้ว่า ยสฺส นกฺขมติ โส ภาเสยฺย, ภิกษุนั้น ย่อมตั้งอยู่
ในสังฆาทิเสสทีเดียว.
ถามว่า อาบัติที่ต้องแล้วระงับไป หรือว่า อาบัติที่ไม่ได้ต้องระงับ.

ตอบว่า พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุใดสละกรรมนั้น
ในเวลาจบ, ภิกษุนั้นย่อมไม่ต้องอาบัติเหล่านี้; เพราะเหตุนั้น อาบัติที่
ไม่ได้ต้องจึงระงับไป ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า อาบัติที่ต้องแล้ว
ย่อมระงับไป ดุจอสาธารณาบัติ ระงับไปเพราะเพศกลับฉะนั้น, จะ
ประโยชน์อะไร ด้วยอาบัติที่ยังไม่ได้ต้องระงับไปเล่า ?

[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยกรรมชอบธรรมเป็นต้น]


สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺญี มีความว่า ถ้าสมนุภาสน-
กรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม เธอมีความสำคัญในสมนุภาสนกรรมนั้นว่า
เป็นกรรมชอบธรรม. ในบททั้งปวงก็มีนัยเหมือนกันนี้. ความสำคัญใน
บทว่า กมฺมสญฺญี นี้คุ้มไม่ได้ เพราะกรรมเป็นของชอบธรรม เมื่อไม่
สละอย่างนั้น ย่อมต้องอาบัติ.
บทว่า อสมนุภาสนฺตสฺส มีความว่า เมื่อไม่ถูกสวดสมนุภาส
แม้ไม่ยอมสละ ก็ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ปฏินิสฺสชฺชนฺตสฺส มีความว่า ไม่ต้องด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
แก่ภิกษุผู้สละเสียก่อนแต่ญัตติ หรือในขณะญัตติ หรือในเวลาจบญัตติ
หรือเพียงที่สวดยังไม่ถึง ย อักษร แห่งอนุสาวนาที่ 1 ก็ดี ที่ 2 ก็ดี
ที่ 3 ก็ดี.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส มีความว่า ก็ในสิกขาบทนี้ พระเทวทัต
เป็นต้นบัญญัติ เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า พระเทวทัตได้พยายาม
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ทรงปรารภพระเทวทัตในเพราะเรื่องนั้น.
ก็พระเทวทัตนั่นแล เป็นต้นบัญญัติแห่งการพยายามเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น