เมนู

จักยังประชาชนให้ยินยอมด้วยวัตถุ 5 เหล่านี้) ดังนี้ จึงกล่าวตามควร
แก่ความรำพึงเนือง ๆ นั่นแลว่า เต มยํ อิเมหิ ปญฺจหิ วตฺถูหิ...
(พวกเรานั้นจะสมาทานประพฤติด้วยวัตถุ 5 เหล่านี้) เหมือนกับคนมีจิต
ฟุ้งซ่านฉะนั้นแล.
สองบทว่า ธุตา สลฺเลขวุตฺติโน มีความว่า ผู้ชื่อว่า ธุตะ เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยปฏิปทาอันกำจัดเสียซึ่งกิเลส, และผู้ชื่อว่ามีความประ-
พฤติขัดเกลา เพราะภิกษุเหล่านี้ มีความประพฤติขัดเกลากิเลสทั้งหลาย.
บทว่า พาหุลฺลิโก มีความว่า ภาวะที่ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น มีมาก
ชื่อว่า พาหุลละ. ความที่ปัจจัย 4 มีมาก มีแก่พระโคดมนั้น; เหตุนั้น
พระโคดมนั้น ชื่อว่า พาหุลลิกะ อีกอย่างหนึ่ง พระโคดมนั้น เป็นผู้
ประกอบ คือตั้งอยู่ในความมีปัจจัยมากนั้น; เหตุนั้น จึงชื่อว่า พาหุลลิกะ
(เป็นผู้มีความมักมาก).
สองบทว่า พาหุลฺลาย เจเตติ มีความว่า ย่อมคิด คือย่อมดำริ
ย่อมตรึก เพื่อต้องการความมีปัจจัยมาก. อธิบายว่า ผู้ถึงความขวนขวาย
อย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ ความเป็นผู้มีปัจจัย มีจีวรเป็นต้นมาก จะพึง
มีแก่เราและสาวกของเรา.

[แก้อรรถตอนตรัสประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท]


หลายบทว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า ทรงกระทําธรรมีกถา
อันสมควรในขณะนั้น คือเหมาะสมในขณะนั้น แก่พระเทวทัตและแก่
ภิกษุทั้งหลายเป็นอเนกประการ โดยนัยที่ตรัสไว้ในขันธกะ มีอาทิอย่างนี้ว่า
อย่าเลย เทวทัต ! การทำลายสงฆ์ อย่าเป็นที่ชอบใจแก่เธอเลย, ดูก่อน
เทวทัต ! การทำลายสงฆ์ หนักแล. ดูก่อนเทวทัต ! บุคคลใดแล ทำลาย