เมนู

บทภาชนีย์


[598] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[599] ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุผู้สละเสียได้ ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10


ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา


สังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป. ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเทวทัต]


ในคำว่า อถโข เทวทตฺโต เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เรื่องพระเทวทัต เรื่องที่พระเทวทัตบวช และเหตุที่ไปหาพรรค-
พวก มีภิกษุโกกาลิกเป็นต้น แล้วกล่าวชักชวนว่า มาเถิด ผู้มีอายุ !
พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม ดังนี้ เป็นต้น
ทั้งหมดมาแล้วโนสังฆเภทขันธกะนั้นแล.
ส่วนเรื่องขอวัตถุ 5 จักมาในสังฆเภทขันธกะนั้นเหมือนกัน แม้
ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในเรื่องขอวัตถุ 5 นี้ก่อน แล้ว
จึงจักผ่านไป เพราะเรื่องมาในสังฆเภทสิกขาบทนี้ ก็มี.
คำว่า สาธุ ภนฺเต ได้แก่ การทูลขอพระวโรกาส.
คำว่า ภิกฺขู ยาวชีวํ อารญฺญิกา อสฺสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหมด
สมาทานอรัญญิกธุดงค์แล้ว จงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร คือ จงอยู่แต่ในป่า
เท่านั้น ตลอดชีวิต.
ด้วยคำว่า โย คามนฺตํ โอสเรยฺย วชฺชํ นํ ผุเสยฺย พระ-
เทวทัตกล่าวด้วยความประสงค์ว่า ภิกษุใด คือ แม้ภิกษุรูปหนึ่งละป่า
เข้าสู่เขตบ้าน เพื่อต้องการจะอยู่, โทษพึงต้องภิกษุนั้น คือโทษจงต้อง
ภิกษุนั้น ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงปรับภิกษุนั้นด้วยอาบัติ, แม้
ในวัตถุที่เหลือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
สองบทว่า ชนํ สญฺญาเปสฺสสาม มีความว่า พวกเราจักยัง
ประชาชนให้เข้าใจว่า พวกเราเป็นผู้มีความมักน้อยเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
มีคำอธิบายว่า พวกเราจักให้ประชาชนยินดีพอใจ คือ จักให้เลื่อมใส.