เมนู

กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระเทวทัต จบ

สิกขาบทวิภังค์


[594] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นโด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออยู่อย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้
ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

สงฆ์ที่ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือมีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน
คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก รวมเป็น
ก๊กด้วยหมายมั่นว่า ไฉนภิกษุเหล่านี้ พึงแตกกัน พึงแยกกัน พึงเป็น
พรรคกัน.
คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ได้แก่ วัตถุเป็นเหตุ
กระทำการแตกกัน 18 อย่าง.
บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา.
บทว่า ยกย่อง คือ แสดง.
บทว่า ยันอยู่ คือ ไม่กลับคำ.
[595] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.
บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุ
เหล่าใดได้เห็น ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้นพึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำลาย
สงฆ์รูปนั้นว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อัน เป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ขอท่านจง
พร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่
วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึง
ว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าว
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์
แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อม-
เพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอ
ท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดอง

กัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส


[596] ภิกษุนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาส


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพรั่งพร้อม
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง
นั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละ
เรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด