เมนู

เลศ แห่งอธิกรณ์ 4 อย่าง บางอธิกรณ์ซึ่งมีส่วนอื่น. และชื่อว่า เลศ
แห่งอธิกรณ์ 4 ก็ไม่มี จริงอยู่ เลศทั้งหลาย มีเลศ คือชาติเป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับบุคคลเหล่านั้น มิได้ตรัสไว้สำหรับ
อธิกรณ์ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. และชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร นี้ เป็น
เอกเทศบางอย่างของแพะนั้น ตัวตั้งอยู่ในความเป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่น
และเป็นเพียงเลศ เพื่อตามกำจัดพระเถระ ด้วยปาราชิกอันไม่มีมูล.
ก็บรรดาเทศและเลศนี้ ส่วนที่ชื่อว่าเทศ เพราะอรรถว่า ปรากฎ
คือถูกอ้างถึง ถูกเรียกว่า แพะนี้มีความสัมพันธ์แก่ส่วนอื่นนั้น. คำว่า
เทศนี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้น. ที่ชื่อว่า
เลศ เพราะอรรถว่า รวม คือยึดตัววัตถุแม้อื่นไว้ ได้แก่ติดอยู่เพียงเล็กน้อย
โดยเป็นเพียงโวหารเท่านั้น. คำว่า เลศ นี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง
บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้นเหมือนกัน. คำอื่นนอกจากสองคำนั้น มีอรรถ
กระจ่างทั้งนั้น. แม้ในสิกขาบทบัญญัติ ก็มีอรรถอย่างนั้นเหมือนกัน.

[อธิบายอธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้น]


ก็บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในบทภาชนะว่า ภิกษุพึงถือเอา
เอกเทศบางอย่าง ของอธิกรณ์อัน เป็นเรื่องอื่นใด ให้เป็นเพียงเลศ ตาม
กำจัดภิกษุด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก, อธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นนั้น
แจ่มแจ้งแล้วด้วยอำนาจแห่งเหตุที่เกิดขึ้นนั่นแล; เพราะเหตุนั้น อธิกรณ์
อันเป็นเรื่องอื่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงจำแนกไว้ในบท
ภาชนะ. ก็แล อธิกรณ์ 4 เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วย
อำนาจแห่งอันยกเนื้อความขึ้น โดยคำสามัญว่า อธิกรณ์. ข้อที่อธิกรณ์

เหล่านั้นเป็นเรื่องอื่น และข้อที่อธิกรณ์เหล่านั้นเป็นเรื่องนั้น ยังไม่ปรากฏ
ด้วย อันพระวินัยธรทั้งหลาย ควรทราบด้วย; เพราะเหตุนั้น เมื่อ
พระองค์จะทรงอาศัยอธิกรณ์ที่ได้โดยคำสามัญ กระทำข้อที่อธิกรณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้นนั้นให้เเจ่มแจ้ง จึงตรัสบทภาชนะว่า อญฺญ-
ภาคิยสฺส อธิกรณสฺสาติ อาปตฺตญฺภาคิยํ วา โหติ อธิกรณญฺญภาคิยํ
วา
เป็นต้น.
ก็ข้อที่อธิกรณ์ทั้งปวงเป็นเรื่องนั้น และเป็นเรื่องอื่นนี้ อันผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ทรงประมวลมาแล้ว เพื่อแสดงแม้ซึ่งคำโจทด้วยอำนาจแห่ง
อธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นแห่งอาบัติ ที่ตรัสไว้เเล้วในสุดนั่นแล. อันที่
จริง เมื่อนิเทศว่า กถญฺจ อาปตฺติ อาปตฺติยา อญฺญภาคิยา โหติ ดังนี้
อันพระองค์ควรปรารภถึ. เพราะในอุเทศนั้นได้ทรงยกขึ้นไว้ก่อนว่า
อาปตฺตญฺญภาคิยํ วา เป็นต้น, เนื้อความนี้จักมาในคราวพิจารณาอธิกรณ์
เป็นส่วนนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั้นแล; เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงปรารภอย่างนั้น ทรงกำหนดเอาบทสุดท้าย
ทีเดียว ปรารภนิเทศว่า กถญฺจ อธิกรณํ อธิกรณสฺส อญฺญภาคิยํ ดังนี้.
ในวาระทั้งสองนั้น อัญญภาคิยวาร มีเนื้อความตื้นทีเดียว. จริงอยู่
อธิกรณ์แต่ละอย่าง ๆ จัดเป็นเรื่องอื่น คือเป็นฝ่ายอื่น เป็นส่วนอื่นแห่ง
อธิกรณ์ 3 อย่างนอกนี้ เพราะมีวัตถุเป็นวิสภาคกัน.
ส่วนในตัพภาติวาร มีวินิจฉัยว่า วิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นเรื่องนั้น
เป็นฝ่ายนั้น เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ ก็เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน.
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ก็เหมือนกัน. คือ
อย่างไร ? คือเพราะว่า วิวาทที่อาศัย เภทกรวัตถุ 18 เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้ง

พุทธกาล และวิวาทที่อาศัยเภทกรวัตถุเกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นวิวาทา-
ธิกรณ์อย่างเดียวกันแท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน.
อนึ่ง อนุวาทที่อาศัยวิบัติ 4 เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธกาล และอนุวาท
ที่อาศัยวิบัติ 4 เกิดในบัดนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอนุวาทาธิกรณ์อย่างเดียวกัน
แท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ ไม่จัดเป็นเรื่องนั้น
โดยส่วนเดียว แห่งอาปัตตาธิกรณ์ เพราะมีวัตถุทั้งเป็นสภาคกัน ทั้งเป็น
วิสภาคกัน และเพราะพึงเห็นคล้ายความเป็นเอง; เพราะเหตุนั้น อาปัตตา-
ธิกรณ์ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเรื่องนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นเรื่อง
อื่น แห่งอาปัตตาธิกรณ์ก็มี. ในตัพภาติยะ และอัญญภาคิยะนั้น อัญญ-
ภาติยะนั่นแล ทรงอธิบายก่อน แม้ในอาปัตตาธิกรณ์นิเทศนี้ เพราะ
อัญญาภาคิยะ ได้ทรงอธิบายมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ต้น. ข้อที่อาปัตตาธิกรณ์
เป็นเรื่องอื่น ในอาปัตตาธิกรณ์นิเทศนั้น และข้อที่อาปัตตาธิกรณ์เป็น
เรื่องนั้น (ที่กล่าวไว้) ข้างหน้า ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า กิจฺจาธิกรณํ กิจฺจาธิกรณสฺส ตพฺภาคิยํ นี้ มีวินิจฉัย
ดังนี้:- อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม 4 เกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และ
อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม 4 เกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นกิจจาธิกรณ์อย่าง
เดียวกันแท้ เพราะเป็นสภาคกัน และเพราะเห็นได้คล้ายกัน.
ถามว่า อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิดขึ้น ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์
หรือว่า ข้อนั้นเป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น.
แก้ว่า ข้อนั้น เป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น. แม้เมื่อ
เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเรียกอธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิด
ขึ้นว่า กิจจาธิกรณ์ เพราะอาศัยกรรมลักษณะที่ภิกษุใฝ่ใจถึง ซึ่งตรัส

ไว้ว่า 'ชื่อว่าสังฆกรรมนี้และนี้ ควรทำอย่างนี้ ่ เกิดขึ้นและเพราะอาศัย
สังฆกรรมก่อน ๆ เกิดขึ้น.
ก็เพราะสองบทว่า เทโส หรือ เลสมตฺโต อันมีอยู่ในคำว่า กิญฺจิ
เทสํ เลสมตฺตํ อุปาทาย
นี้ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่าง
เดียวกัน โดยนัยดังกล่าวแล้วดังก่อนนั่นแล; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เลโสติ ทส เลสา ชาติเลโส นามเลโส ดังนี้.
บรรดาเลศ คือชาติเป็นต้นนั้น ชาติ (กำเนิด) นั่นเอง ชื่อว่า เลศ คือ
ชาติ. ในเลศที่เหลือ ก็นัยนี้.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงเลศนั้นนั่นแลโดยพิสดาร
แสดงให้เห็นพร้อมทั้งวัตถุ โดยประการที่จะมีการอ้างเลศนั้นตามกำจัด
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ชาติเลโส นาม ขตฺติโย ทิฏโฐ โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ขตฺติโย หิฏโฐ โหติ มีความว่า บุคคล
อื่นบางคน เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ย่อมเป็นผู้อันโจทก์นี้เห็นแล้ว.
คำว่า ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโต ได้แก่ เป็นผู้ต้องบรรดา
ปาราชิกมีเมถุนธรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า อญฺญํ ขตฺติยํ ปสฺสิตฺวา โจเทติ มีความว่า ภายหลังโจทก์
นั้น เห็นภิกษุอื่นผู้มีชาติเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นคู่เวรของตน แล้วถือเอา
เลศ คือชาติกษัตริย์นั้น โจทอย่างนี้ว่า กษัตริย์ต้องธรรม คือปาราชิก
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว, ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ต้องธรรม คือปาราชิก.
อีกอย่างหนึ่ง โจทว่า ท่าน คือกษัตริย์นั้น ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้ต้องธรรม