เมนู

ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา
ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น
ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.

อนาปัตติวาร


[589] ภิกษุผู้สำคัญเป็นอย่างนั้นโจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9 บท

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9


ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา


ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :-
พึงทราบวินิจฉัยในทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ]


คำว่า หนฺท มยํ อาวุโส ฉกลกํ ทพฺพํ มลฺลปุตฺตํ นาม กโรม มี
ความว่า ได้ยินว่า พระเมตติยะและภุมมชกะนั้น ไม่อาจให้มโนรถของ
ตนสำเร็จในเรื่องแรก ได้รับการนิคหะ ถึงความแค้นเคือง กล่าวว่า
เดี๋ยวเถอะ พวกเราจักรู้กัน จึงเที่ยวคอยแส่หาเรื่องราวเช่นนั้น. ต่อมา

วันหนึ่ง ได้พบเห็นแล้วดีใจ มองดูกันและกันแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า
เอาเถิด ผู้มีอายุ ! พวกเราจะสมมติแพะผู้ตัวนี้ ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร
มีคำอธิบายว่า พวกเราจะตั้งชื่อให้แพะผู้ตัวนั้น อย่างนี้ว่า แพะตัวนี้
ชื่อว่าทัพพมัลลบุตร. แม้ในคำว่า เมตฺติยํ นาม ภิกขุนึ นี้ ก็นัยนี้.
คำว่า เต ภิกฺขู เมตฺติยภุมฺมชเก ภิกฺขู อนุยุญฺชึสุ มีความว่า พวก
ภิกษุเหล่านั้น สอบสวนอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกท่านเห็น
พระทัพพมัลลบุตรกับนางเมตติยาภิกษุณี ณ ที่ไหนกัน ?
พวกเธอตอบว่า ที่เชิงเชาคิชฌกูฏ.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า ในเวลาไหน ?
พวกเธอตอบว่า ในเวลาไปภิกขาจาร.
พวกภิกษุ ถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ท่านทัพพะ ! พวกภิกษุ
เหล่านี้ กล่าวอย่างนี้ ท่านอยู่ที่ไหน ในเวลานั้น !
ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า ข้าพเจ้าแจกภัตตาหารอยู่ในพระ-
เวฬุวัน.
ใครบ้างทราบว่าท่านอยู่ในเวฬุวัน ในเวลานั้น ?
ภิกษุสงฆ์ ขอรับ.
พวกภิกษุเหล่านั้น จึงถามสงฆ์ว่า ท่านทั้งหลาย ทราบไหมว่า
ท่านผู้มีอายุทัพพะนี้ อยู่ที่เวฬุวันในเวลานั้น ?
ภิกษุสงฆ์ ขอรับ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเรารู้ว่า พระเถระ
อยู่ที่เวฬุวันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ท่านได้รับสมมติแล้ว.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระเมตติยะและภุมมชกะว่า

ท่านผู้มีอายุ ! ถ้อยคำของท่านทั้งสอง ไม่สมกัน, พวกท่านอ้างเลศ
กล่าวกะพวกเรากระมัง ?
พระเมตติยะและภุมมชกะทั้งสองนั้น ถูกพวกภิกษุเหล่านั้น ซักฟอก
อย่างนั้น ได้กล่าวว่า ขอรับ ท่านผู้มีอายุ จึงได้บอกเรื่องราวนั้น.
ในคำว่า กมฺปน ฯเปฯ อธิกรณสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
แพะนี้ (อธิกรณ์กล่าวคือแพะนี้ ) แห่งส่วนอื่น หรือส่วนอื่นแห่ง
แพะนั้น มีอยู่; เพราะเหตุนั้น แพะนั้น จึงชื่อว่า อัญญภาคิยะ (มี
ส่วนอื่น). สัตว์ที่รองรับ พึงทราบว่า อธิกรณ์. อธิบายว่า ที่ตั้งแห่ง
เรื่อง. เพราะว่า แพะที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ กล่าวว่า ชื่อว่า
ทัพพมัลลบุตรนั้น ย่อมมีแก่ส่วน คือโกฎฐาส ฝักฝ่าย กล่าวคือกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน และความเป็นแพะอื่นจากส่วน คือโกฏฐาส ฝักฝ่าย กล่าว
คือกำเนิดมนุษย์ และความเป็นภิกษุของท่านพระทัพพมลัลบุตร, อีก
อย่างหนึ่ง ส่วนอื่นนั้น มีอยู่แก่แพะนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น แพะนั้น
จึงได้การนับว่า มีส่วนอื่น. ก็เพราะแพะนั้น เป็นที่รองรับ เป็นที่ตั้ง
แห่งเรื่องของสัญญา คือการตั้งชื่อแห่งพวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น
ผู้กล่าวอยู่ว่า พวกเราจะสมมติแพะนี้ ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร, เพราะ-
ฉะนั้น แพะนั้น พึงทราบว่า อธิกรณ์. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นหมายถึง
แพะนั้น จึงได้กล่าวว่า อญฺญภาคิยสฺสิ อธิกรณสฺส เป็นต้น, มิได้
กล่าวหมายถึงอธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะอธิกรณ์เหล่านั้น ไม่มี.
เพราะว่าภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ถือเอาเอกเทศบางอย่างให้เป็นเพียง

เลศ แห่งอธิกรณ์ 4 อย่าง บางอธิกรณ์ซึ่งมีส่วนอื่น. และชื่อว่า เลศ
แห่งอธิกรณ์ 4 ก็ไม่มี จริงอยู่ เลศทั้งหลาย มีเลศ คือชาติเป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับบุคคลเหล่านั้น มิได้ตรัสไว้สำหรับ
อธิกรณ์ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. และชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร นี้ เป็น
เอกเทศบางอย่างของแพะนั้น ตัวตั้งอยู่ในความเป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่น
และเป็นเพียงเลศ เพื่อตามกำจัดพระเถระ ด้วยปาราชิกอันไม่มีมูล.
ก็บรรดาเทศและเลศนี้ ส่วนที่ชื่อว่าเทศ เพราะอรรถว่า ปรากฎ
คือถูกอ้างถึง ถูกเรียกว่า แพะนี้มีความสัมพันธ์แก่ส่วนอื่นนั้น. คำว่า
เทศนี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้น. ที่ชื่อว่า
เลศ เพราะอรรถว่า รวม คือยึดตัววัตถุแม้อื่นไว้ ได้แก่ติดอยู่เพียงเล็กน้อย
โดยเป็นเพียงโวหารเท่านั้น. คำว่า เลศ นี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง
บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้นเหมือนกัน. คำอื่นนอกจากสองคำนั้น มีอรรถ
กระจ่างทั้งนั้น. แม้ในสิกขาบทบัญญัติ ก็มีอรรถอย่างนั้นเหมือนกัน.

[อธิบายอธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้น]


ก็บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในบทภาชนะว่า ภิกษุพึงถือเอา
เอกเทศบางอย่าง ของอธิกรณ์อัน เป็นเรื่องอื่นใด ให้เป็นเพียงเลศ ตาม
กำจัดภิกษุด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก, อธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นนั้น
แจ่มแจ้งแล้วด้วยอำนาจแห่งเหตุที่เกิดขึ้นนั่นแล; เพราะเหตุนั้น อธิกรณ์
อันเป็นเรื่องอื่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ทรงจำแนกไว้ในบท
ภาชนะ. ก็แล อธิกรณ์ 4 เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วย
อำนาจแห่งอันยกเนื้อความขึ้น โดยคำสามัญว่า อธิกรณ์. ข้อที่อธิกรณ์