เมนู

[แก้อรรถบทภาชนีย์]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นแสดงโดยพิสดาร
ด้วยสามารถแห่งเรื่องของการโจท มีเรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตรัสไว้
โดยสังเขปแล้วนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อทิฏฺฐสฺส โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อหิฏฺฐสฺส โหติ ได้แก่ (จำเลย) เป็น
ผู้อันโจทก์นั้นมิได้เห็น. อธิบายว่า บุคคลผู้ต้องธรรมถึงปาราชิกนั้น เป็น
ผู้อันโจทก์นี้มิได้เห็น. แม้ในบทว่า อสฺสุตสฺส โหติ เป็นต้น ก็มีนัย
เหมือนกันนี้.
สองบทว่า หิฏฺโฐ มยา มีคำอธิบายว่า ท่านเป็นผู้อันเราเห็นแล้ว.
แม้ในบทว่า สุโต มยา เป็นต้นก็มีนัยอย่างนี้. บทที่เหลือในอธิกรณ์มี
เรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นมูลชัดเจนทีเดียว. ส่วนในอธิกรณ์ที่มีมูลด้วยเรื่องที่
ได้เห็น พึงทราบความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูล เพราะความไม่มีแห่งมูล มี
เรื่องที่ได้ยินเป็นต้น ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ถ้าโจทก์โจทภิกษุนั้นว่า ข้าพเจ้า
ได้ยิน เป็นต้น.
ก็ในวาระของโจทก์ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน
ทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจแห่งคำพูดคำหนึ่ง ๆ ในบรรดาคำเหล่านี้อันมา
แล้วในที่อื่นว่า ท่านเป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว มีสมาจารอันไม่สะอาด น่า
รังเกียจ มีการงานอันซ่อนเร้น มิใช่สมณะ ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่
พรหมจารี ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าใน มีราคะชุม เกิดเป็น
เพียงหยากเยื่อ เหมือนเป็นสังฆาทิเสสทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจคำหนึ่ง ๆ
ในบรรดาคำเหล่านี้ อันมาแล้วในสิกขาบทนี้ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก
เป็นผู้มีใช่สมณะ ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตรฉะนั้น.

ก็คำล้วน ๆ เหล่านี้ว่า อุโบสถ หรือปวารณา หรือสังฆกรรม
ร่วมกับท่าน ย่อมไม่มี ยังไม่ถึงที่สุดก่อน. แต่คำพูดที่เชื่อมต่อกับบทใด
บทหนึ่งแล้วเท่านั้น บรรดาบทว่าทุศีลเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ทุศีล
อุโบสถก็ดี ร่วมกับท่านไม่มี และบรรดาบทว่า ท่านต้องธรรมถึงปาราชิก
เป็นต้น ย่อมถึงที่สุด คือทำให้เป็นสังฆาทิเสส.
แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เฉพาะบทเป็นต้นว่า เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลว อย่างเดียว ซึ่งมิได้มาในบาลีในสิกขาบทนี้ ยังไม่ถึงที่สุด,
แม้บทเหล่านี้คือ ท่านเป็นคนชั่ว ท่านเป็นสามเณรโค่ง ท่านเป็นมหา
อุบายสก ท่านเป็นผู้ประกอบวัตรแห่งเจ้าแม่กลีเทพีผู้ประเสริฐ ท่านเป็น
นิครนถ์ ท่านเป็นอาชีวก ท่านเป็นดาบส ท่านเป็นปริพาชก ท่านเป็น
บัณเฑาะก์ ท่านเป็นเถยยสังวาส ท่านเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ท่านเป็น
ดิรัจฉาน ท่านเป็นผู้ฆ่ามารดา ท่านเป็นผู้ฆ่าบิดา ท่านเป็นผู้ฆ่าพระ-
อรหันต์ ท่านเป็นผู้ทำสังฆเภท ท่านเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ท่านเป็น
ภิกขุนีทูสกะ ท่านเป็นคนสองเพศ ย่อมถึงที่สุดทีเดียว. และพระมหา-
ปทุมเถระอีกนั่นแหละ กล่าวในบทว่า ทิฏฺเฐ เวมติโก เป็นต้นว่า เป็น
ผู้เคลือบแคลงด้วยส่วนใด ย่อมไม่เชื่อด้วยส่วนนั้น, ไม่เชื่อด้วยส่วนใด
ย่อมระลึกไม่ได้โดยส่วนนั้น, ระลึกไม่ได้โดยส่วนใด ย่อมเป็นผู้หลงลืม
โดยส่วนนั้น.
ฝ่ายมหาสุมเถระแยกบทหนึ่ง ๆ ออกเป็น 2 บท แล้วแสดงนัย
เฉพาะอย่างแห่งบทแม้ทั้ง 4. คืออย่างไร ? คือพึงทราบนัยว่า หิฏฺเฐ

เวมติโก นี้ก่อน, ภิกษุเป็นผู้สงสัยในการเห็นบ้าง, ในบุคคลบ้าง, บรรดา
การเห็นและบุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้สงสัยในการเห็นอย่างนี้ว่า เป็นบุคคล
ที่เราเห็น หรือไม่ใช่คนที่เราเห็น, เป็นผู้มีความสงสัยในบุคคลอย่างนี้ว่า
คนนี้แน่หรือที่เราเห็นหรือคนอื่น. ย่อมไม่เชื่อการเห็นบ้าง บุคคลบ้าง,
ย่อมระลึกไม่ได้ซึ่งการเห็นบ้าง บุคคลบ้าง, ย่อมเป็นผู้ลืมการเห็นบ้าง
บุคคลบ้าง ด้วยประการอย่างนี้.
ก็บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า เวมติโก ได้แก่ เกิดความสงสัย.
สองบทว่า โน กปฺเปติ ได้แก่ ย่อมไม่เชื่อ.
บทว่า น สรตํ มีความว่า เมื่อคนอื่นไม่เตือน ก็ระลึกไม่ได้.
แต่เมื่อใด คนเหล่าอื่นเตือนเธอให้ระลึกว่า ในสถานที่ชื่อโน้น ขอรับ !
ในเวลาโน้น เมื่อนั้น จึงระลึกได้.
บทว่า ปมุฏโฐ มีความว่า บุคคลผู้แม้ซึ่งคนอื่นเตือนให้ระลึกอยู่
โดยอุบายนั้น ๆ ก็ระลึกไม่ได้เลย. แม้วาระแห่งบุคคลผู้ให้โจท ก็พึงทราบ
โดยอุบายนี้ ก็ในโจทาปกวารนั้น ลดบทว่า มยา ออกอย่างเดียว, บท
ที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับโจทกวารนั่นแล.
ต่อจากโจทาปกวารนั้น เพื่อแสดงชนิดแห่งอาบัติ และชนิดแห่ง
อนาบัติ จึงทรงตั้งจตุกกะว่า อสุทฺเธ สุทฺธทิฏฺฐิ เป็นต้นแล้วทรงแสดง
ขยายแต่ละบทออกไป ตามชนิดอย่างละ 4 ชนิด. จตุกกะทั้งหมดนั้น
ผู้ศึกษาอาจจะรู้ได้ ตามนัยแห่งพระบาลีนั้นแล. ก็ในการโจทนี้ พึงทราบ
ความต่างกันแห่งความประสงค์อย่างเดียว. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ความ
ประสงค์นี้ มีมากอย่าง คือ ความประสงค์ในอันให้เคลื่อน ความประสงค์
ในการด่า ความประสงค์ในการงาน ความประสงค์ในการออก (จากอาบัติ)

ความประสงค์ในการพักอุโบสถและปวารณา ความประสงค์ในการสอบ-
สวน ความประสงค์ในการกล่าวธรรม.
บรรดาความประสงค์เหล่านั้น ในความประสงค์ 4 อย่างข้างต้น
เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ไม่ให้กระทำโอกาส, และเป็นสังฆาทิเสส แม้เเก่
ภิกษุผู้ให้กระทำโอกาส แล้วตามกำจัด (โจท) ด้วยปาราชิกอันไม่มีมูล
ซึ่ง ๆ หน้า, เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ตามกำจัด (โจท) ด้วยสังฆาทิเสส
ไม่มีมูล, เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ตามกำจัดด้วยอาจารวิบัติ, เป็นปาจิตตีย์
แก่ภิกษุผู้กล่าวด้วยประสงค์จะด่า, เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้กล่าวด้วยกอง
อาบัติแม้ทั้ง 7 กอง ในที่ลับหลัง, เป็นทุกกฏอย่างเดียวแก่ภิกษุผู้กระทำ
กรรมทั้ง 7 อย่าง เฉพาะในที่ลับหลัง.
ส่วนในกุรุนที ท่านกล่าวว่า กิจด้วยการขอโอกาส ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้กล่าวว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ จงกระทำคืนอาบัตินั้นเสีย โดย
ความประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ. ในอรรถกถาทุก ๆ อรรถกถาทีเดียว
ไม่มีการขอโอกาสสำหรับภิกษุผู้พักอุโบสถและปวารณา แต่พึงรู้เขตแห่ง
การพัก ดังนี้:- ก็เมื่อสวดยังไม่เลย เร อักษร นี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต
สงฺโฆ อชฺชโปสโถ ปณฺเณรโส ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกฺลํ สงฺโฆ อุโปสถํ
กเร
ดังนี้ ไป ย่อมได้เพื่อจะพัก. แต่ถัดจากนั้นไป เมื่อถึง อักษร
แล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อพัก. ในปวารณาก็มีนัยอย่างนี้.
โอกาสกรรม ย่อมไม่มี แม้แก่ภิกษุผู้สอบสวนในเมื่อเรื่องถูกนำ
เข้าเสนอแล้ว กล่าวอยู่ด้วยประสงค์จะสอบสวนว่า เรื่องอย่างนี้มีแก่ท่าน
หรือ ? แม้สำหรับพระธรรมกถึกผู้นั่งอยู่บนธรรมาสน์กล่าวธรรมไม่เจาะจง
โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุใดกระทำอย่างนี้และนี้, ภิกษุนี้มิใช่สมณะ ดังนี้

ก็ไม่ต้องมีการขอโอกาส. แต่ทว่ากล่าวเจาะจงกำหนดว่า ผู้โน้น ๆ มิใช่
สมณะ มิใช่อุบาสก ดังนี้ ลงจากธรรมาสน์แล้วควรแสดงอาบัติก่อนจึง
ไป. อนึ่ง พึงกราบใจความแห่งคำที่ท่านกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ ว่า อโนกาสํ
กาเรตฺวา
อย่างนี้ว่า โอกาสํ อกาเรตฺวา แปลว่า ไม่ให้กระทำโอกาส.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าโอกาส ไม่สมควรบางโอกาส ที่โจทก็ให้ทำโอกาสแล้ว
ยังต้องอาบัติจะไม่มี หามิได้. แต่โจทก์ไม่ให้จำเลยทำโอกาสจึงต้องอาบัติ
ฉะนี้แล. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ เกิดขึ้น
ทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา
สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็น
ทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 9
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ


[564] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวพุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเมตติยะและพระภุมมชกะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏ
ได้เเลเห็นแพะผู้กับแพะเมียกำลังสมจรกัน ครั้นแล้วได้พูดอย่างนี้ว่า
อาวุโส ผิฉะนั้น พวกเราจะสมมติแพะผู้นี้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติ