เมนู

โจทก์กล่าวหานั้น โจทก์นั้น ถูกพระวินัยธรผู้ว่าความสอบสวน ไต่สวน
คือพิจารณาอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเห็นอะไร ? ท่านเห็นว่าอย่างไร ?
ในอสมนุคคาหิยมานนิเทศ ข้อว่า น เกนจิ วุจฺจมาโน คืออันผู้
ว่าความ หรือใครคนใดคนหนึ่ง (ไม่ซักถาม). อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ไม่ถูกผู้ว่าความสอบถาม ด้วยบรรดาวัตถุที่ได้เห็นเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก็บัณฑิตพึงทราบความสัมพันธ์แห่งบทมาติกาทั้ง 2 นี้ ด้วยคำว่า
ภิกขุ จ โทสํ ปติฏฺฐาติ นี้ข้างหน้า. จริงอยู่ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า ก็แล ภิกษุอันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม
อย่างนี้ (เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม) ยืนยัน อิงอาศัยโทสะ คือปฎิญญา,
เป็นสังฆาทิเสส. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงกาลปรากฏ
แห่งความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูลเท่านั้น. แต่ภิกษุผู้โจทก์ย่อมต้องอาบัติใน
ขณะที่ตนโจทนั่นแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิกรณํ นาม เป็นต้น เพื่อ
จะไม่ตรัสลักษณะอธิกรณ์ไม่มีมูลนั้น แสดงแต่ที่ยังไม่เคยมีเท่านั้น เพราะ
ลักษณะแห่งอธิกรณ์ไม่มีมูล ได้ตรัสไว้แล้วในก่อน ในคำว่า อมูลกญฺเจว
ตํ อธิกรณํ โหติ
นี้.

[อธิบายคำว่าอธิกรณ์เป็นต้น]


เพราะ อธิกรณ์ในคำว่า อิธิกรณํ นาม นั้น โดยอรรถ คือเหตุ
ย่อมมีแม้อย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีต่าง ๆ กัน; เพราะเหตุนั้น
เพื่อความแตกต่างกันนั้น แห่งอธิกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
มีอาทิว่า จตฺตาริ อธิกรณานิ วิวาทาธิกรณํ ดังนี้.

ถามว่า ก็อธิกรณ์นั่น ย่อมเป็นอันเดียว ด้วยอรรถคือเหตุอันใด
อรรถคือเหตุอันนั้นเป็นอย่างไร ?
แก้ว่า อรรถ คือ เหตุนั้น คือ ข้อที่อธิกรณ์เป็นเหตุที่จะพึงกระทำ
ยิ่ง (ระงับ) ด้วยสมถะทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น สมถะทั้งหลายเที่ยว ปรารภ
คือ อาศัย หมายเอาอธิกิจอันใดเป็นไป, อธิกิจอันนั้นพึงทราบว่า อธิกรณ์.
แต่ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า อาจารย์บางพวกกล่าวความยึดถือว่า
อธิกรณ์, บางพวกกล่าวเจตนาว่า อธิกรณ์, บางพวกกล่าวความไม่ชอบใจ
ว่า อธิกรณ์, บางพวกกล่าวโวหารว่า อธิกรณ์ บางพวกกล่าวบัญญัติ
ว่า อธิกรณ์.
พระอรรถกถาจารย์เหล่านั้นวิจารณ์ซ้ำไว้อย่างนี้ว่า ถ้าความยึดถือพึง
เป็นอธิกรณ์ไซร้, ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาคดีปรึกษากันกับภิกษุผู้เป็นสภาคกัน
เห็นโทษในคดีนั้นแล้วสละเสียอีก, อธิกรณ์นั้นของเธอ จักเป็นอันถึง
ความระงับไป. ถ้าเจตนาพึงเป็นอธิกรณ์ไซร้, เจตนาที่เกิดขึ้นว่า เราจัก
ถือเอาคดีนี้ ย่อมดับไป. ถ้าความไม่ชอบใจพึงเป็นอธิกรณ์ไซร้, ภิกษุ
แม้ถือเอาคดีด้วยความไม่ชอบใจ ภายหลังไม่ได้ความวินิจฉัย หรือฝ่าย
จำเลยขอขมาโทษแล้ว ย่อมสละเสีย. ถ้าโวหารพึงเป็นอธิกรณ์ไซร้, ภิกษุ
เที่ยวพูดอยู่ ย่อมเป็นผู้นิ่งไม่มีเสียงในภายหลัง, อธิกรณ์นั้นของเธอ จัก
เป็นอันถึงความระงับด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น บัญญัติจึงจัดเป็น
อธิกรณ์.
แต่คำของพระอรรถกถาทั้งหลายนั้นนี้ แย้งพระบาลีมีอาทิอย่างนั้นว่า
เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ มีในส่วนนั้นแห่งเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ ฯลฯ

อาปัตตาธิกรณ์เป็นส่วนนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์1อย่างนี้ และว่า วิวาทา-
ธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤต2 ก็มี ดังนี้.
อันที่จริง พระอรรถกถาจารย์เหล่านั้น มิได้ประสงค์ข้อที่บัญญัติ
เป็นกุศลเป็นต้น. และธรรมคือปาราชิก ที่มาในคำว่า อมูลเกน ปารา-
ชิเกน ธมฺเมน
นี้ จะได้ชื่อว่าเป็นบัญญัติ หามิได้. เพราะเหตุไ ?
เพราะเป็นอกุศลโดยส่วนเดียว.
จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำนี้แล้วว่า อาปัตตา-
ธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี. และปาราชิกไม่มีมูลนั่นใด
ที่ทรงนิเทศไว้ในพระบาลีนี้ว่า อมูลเกน ปาราชิเกน ดังนี้. พระบาลีว่า
อมูลกญฺเจว ตํ อธิกรณํ โหติ นี้ เป็นปฏินิเทศแห่งปาราชิกไม่มีมูลนั้น
นั่นแล ไม่ใช่แห่งบัญญัติ. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า จะได้ทรงนิเทศ
ปาราชิกอื่น แล้วทรงปฏินิเทศปาราชิกอื่น หามิได้. แต่บุคคลนั้นถูก
โจทก์ตราเอาว่า ล่วงธรรม คือปาราชิก ด้วยบัญญัติใด คือด้วยข้อหา
อันใด, บัญญัติแม้นั้น จัดว่าไม่มีมูล ก็เพราะอธิกรณ์กล่าวคือปาราชิก
เป็นของไม่มีมูล, แต่จัดเป็นอธิกรณ์ ก็เพราะบัญญัตินั้นเป็นไปในอธิกรณ์;
เพราะเหตุนั้น คำว่า บัญญัติเป็นอธิกรณ์ ควรถูก โดยบรรยายนี้. แต่
อธิกรณ์ที่จัดว่าไม่มีมูล ย่อมไม่มีโดยปกติของตน. จะมีได้ก็สักว่าบัญญัติ
เท่านั้น. แม้เพราะเหตุนั้น คำว่า บัญญัติจัดเป็นอธิกรณ์ ก็ควรจะถูก.
ก็แล ข้อที่บัญญัติจัดเป็นอธิกรณ์ โดยบรรยายดังกล่าวมานั้น ย่อม
ถูกในสิกขาบทนี้เท่านั้น ไม่ถูกทุก ๆ สิกขาบท. จริงอยู่ การบัญญัติ
อธิกรณ์มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น ไม่ใช่อรรถ คือเหตุ. แต่อรรถ คือเหตุ
1. วิ มหา. 1/389-390. 2. วิ. จลฺล 6/334.


ก็ได้แก่ข้อที่อธิกรณ์เหล่านั้น เป็นเหตุที่จะพึงกระทำยิ่ง (ระงับ) ด้วยสมถะ
ทั้งหลายดังกล่าวแล้วในหนหลัง. ด้วยอรรถ คือเหตุนี้อย่างกล่าวมานี้
วิวาทบางอย่างในโลกนี้ เป็นวิวาทด้วย เป็นอธิกรณ์ด้วย; เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์. ในอธิกรณ์ที่เหลือ ก็นัยนี้.
บรรดาอธิกรณ์ 4 มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้นนั้น วิวาทที่อาศัยเภทกร-
วัตถุ 18 อย่าง เกิดขึ้นอย่างนี้ คือพวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า
เป็นธรรม หรือว่า ไม่ใช่ธรรม ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์.
การกล่าวหากันอาศัยวิบัติ 4 เกิดขึ้นอย่างนี้ คือภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยศีลวิบัติบ้าง ชื่อว่า อนุวาทากรณ์.
เฉพาะอาบัติเท่านั้นชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้คือ กองอาบัติ
ทั้ง 5 ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์. กองอาบัติทั้ง 7 ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์.
ความเป็นกิจของสงฆ์ คือความเป็นกิจอันสงฆ์ต้องทำ ได้แก่ สังฆ-
กิจ 4 อย่างนี้คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และ
ญัตติจตุตถกรรม พึงทราบว่า กิจจาธิกรณ์. แต่ในอรรถนี้ประสงค์เอา
อาปัตตาธิกรณ์ กล่าวคืออาบัติปาราชิกเท่านั้น. อธิกรณ์ที่เหลือมีวิวาทา-
ธิกรณ์เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ ด้วยอำนาจแห่งการขยายความ. แท้จริง
อรรถแห่งศัพท์ว่าอธิกรณ์ มีเท่านี้. ในอรรถเหล่านั้น ปาราชิกเท่านั้น
ประสงค์เอาในอธิการนี้. ปาราชิกนั้นเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูล ด้วยมูลมีการ
ได้เห็นเป็นต้นนั่นแล. และภิกษุนี้ยืนยันอิงอาศัยโทสะ คือเมื่อกล่าวคำ
เป็นต้นว่า ข้าพเจ้าพูดเล่นเปล่า ๆ ชื่อว่าย่อมปฏิญญา. เป็นสังฆาทิเสส
แก่ภิกษุนั้นในขณะที่ตนโจทนั่นเองแล. นี้เป็นใจความแห่งสิกขาบทนั้น
ซึ่งมีนิเทศ (การขยาย) ตามลำดับแห่งบทก่อน.

[แก้อรรถบทภาชนีย์]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นแสดงโดยพิสดาร
ด้วยสามารถแห่งเรื่องของการโจท มีเรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตรัสไว้
โดยสังเขปแล้วนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อทิฏฺฐสฺส โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อหิฏฺฐสฺส โหติ ได้แก่ (จำเลย) เป็น
ผู้อันโจทก์นั้นมิได้เห็น. อธิบายว่า บุคคลผู้ต้องธรรมถึงปาราชิกนั้น เป็น
ผู้อันโจทก์นี้มิได้เห็น. แม้ในบทว่า อสฺสุตสฺส โหติ เป็นต้น ก็มีนัย
เหมือนกันนี้.
สองบทว่า หิฏฺโฐ มยา มีคำอธิบายว่า ท่านเป็นผู้อันเราเห็นแล้ว.
แม้ในบทว่า สุโต มยา เป็นต้นก็มีนัยอย่างนี้. บทที่เหลือในอธิกรณ์มี
เรื่องที่ไม่ได้เห็นเป็นมูลชัดเจนทีเดียว. ส่วนในอธิกรณ์ที่มีมูลด้วยเรื่องที่
ได้เห็น พึงทราบความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูล เพราะความไม่มีแห่งมูล มี
เรื่องที่ได้ยินเป็นต้น ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ถ้าโจทก์โจทภิกษุนั้นว่า ข้าพเจ้า
ได้ยิน เป็นต้น.
ก็ในวาระของโจทก์ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน
ทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจแห่งคำพูดคำหนึ่ง ๆ ในบรรดาคำเหล่านี้อันมา
แล้วในที่อื่นว่า ท่านเป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว มีสมาจารอันไม่สะอาด น่า
รังเกียจ มีการงานอันซ่อนเร้น มิใช่สมณะ ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่
พรหมจารี ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าใน มีราคะชุม เกิดเป็น
เพียงหยากเยื่อ เหมือนเป็นสังฆาทิเสสทุก ๆ คำพูด ด้วยอำนาจคำหนึ่ง ๆ
ในบรรดาคำเหล่านี้ อันมาแล้วในสิกขาบทนี้ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก
เป็นผู้มีใช่สมณะ ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตรฉะนั้น.