เมนู

มากนั้นเถิด. แต่ถ้าเธอไม่ตั้งอยู่ในฐาน (เป็นลัชชี) จำเดิมแต่เวลาพูดผิด
ไป. พึงให้การวินิจฉัย.*

[ว่าด้วยองค์ของโจทก์และจำเลย]


เมื่อเรื่องถูกนำมาเสนอในที่ประชุมท่ามกลางสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่ง
การโจทอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นนี้ พระวินัยธรทราบการปฏิบัติในจำเลย
และโจทก์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยด้วยสามารถแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและ
ที่สุดเป็นต้น เพื่อรู้จักสมบัติและวิบัติแห่งการโจทนั้นนั่นเอง. คืออย่างไร ?
คือการโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ?
การขอโอกาสว่า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน, ขอท่านผู้มีอายุ จง
กระทำโอกาสให้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่า เบื้องต้นแห่งการโจท.
การโจทแล้วให้จำเลยให้การตามวัตถุที่ยกขึ้นบรรยายฟ้องแล้ววินิจ-
ฉัย ชื่อว่า ท่ามกลางแห่งการโจท.
การระงับด้วยให้จำเลยทั้งอยู่ในอาบัติ หรืออนาบัติ ชื่อว่า ที่สุด
แห่งการโจท.
การโจท มีมูลเท่าไร ? มีวัตถุเท่าไร ? มีภูมิเท่าไร ?
การโจทมีมูล 2 คือ มูลมีเหตุ 1 มูลไม่มีเหตุ 1 (มูลมีมูล 1 มูล
ไม่มีมูล 1). มีวัตถุ 3 คือ ได้เห็น 1 ได้ยิน 1 ได้รังเกียจ 1. มีภูมิ 5
คือจักพูดตามกาล จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดตามจริง จักไม่พูด
โดยคำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1 จัก
* สารัตถทีปนี 3/44, มี น ปฏิเสธ เป็น วินิจฺฉโย น ทาตพฺโพติ อลชฺชิภาวาปนฺนตฺตา
ทาตพฺโพ แปลว่า ข้อว่า ไม่พึงให้วินิจฉัย คือ พึงให้วินิจฉัย เพราะถึงความเป็นอลัชชี.

พูดถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
จักมีจิตประกอบด้วยเมตตาพูด จักไม่เพ่งโทษพูด 1.
ก็ในการโจทนี้ บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม 5 อย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุบาลีปัญจกะ โดยนัยเป็นต้นว่า เราเป็น
ผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์หรือหนอแล. ผู้เป็นจำเลย พึงตั้งอยู่ในธรรม 2 อย่าง
คือในความจริง และความไม่โกรธ.
ข้อว่า อปฺเปว นาม นํ อิมมฺหา พฺรหฺมจริยา จาเวยฺยํ มีความว่า
แม้ไฉนแล เราจะพึงให้บุคคลผู้นั้นเคลื่อนจากความประพฤติอันประเสริฐ
นี้ได้. มีคำอธิบายว่า พึงตามกำจัดด้วยความประสงค์อย่างนี้ว่า พึงเป็น
การดีหนอ ถ้าเราพึงให้บุคคลผู้นี้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้. แต่ในบท
ภาชนะ ท่านพระอุบาลีกล่าวคำเป็นต้นว่า พึงให้เคลื่อนจากความเป็น
ภิกษุ เพื่อแสดงเพียงปริยายแห่งคำว่า พึงให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ นี้
เท่านั้น.
บททั้งหลายมีขณะเป็นต้น เป็นไวพจน์ของสมัย.
หลายบทว่า ตํ ขณํ ตํ ลยํ ตํ มหุตฺตํ วีติวตฺเต ได้แก่ เมื่อขณะ
นั้น เมื่อครู่นั้น เมื่อยามนั้น ล่วงเลยไปแล้ว จริงอยู่ คำว่า ตํ ขณํ
เป็นต้นนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ เพื่อเกิดเป็นสัตตมีวิภัตติ (ลงในอรรถแห่งสัตต-
มีวิภัตติ).
ในสมนุคคาหิยมานนิเทศ ข้อว่า เยน วตฺถุนา อนุทฺธํสิโต โหติ
มีความว่า จำเลยถูกโจทก์ตามกำจัด คือข่มเหง ครอบงำด้วยวัตถุใด ใน
บรรดาวัตถุแห่งปาราชิก 4.
ข้อว่า ตสฺมึ วตฺถุสฺมึ สมนุคฺคาหิยมาโน มีความว่า ในเรื่องที่

โจทก์กล่าวหานั้น โจทก์นั้น ถูกพระวินัยธรผู้ว่าความสอบสวน ไต่สวน
คือพิจารณาอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเห็นอะไร ? ท่านเห็นว่าอย่างไร ?
ในอสมนุคคาหิยมานนิเทศ ข้อว่า น เกนจิ วุจฺจมาโน คืออันผู้
ว่าความ หรือใครคนใดคนหนึ่ง (ไม่ซักถาม). อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ไม่ถูกผู้ว่าความสอบถาม ด้วยบรรดาวัตถุที่ได้เห็นเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก็บัณฑิตพึงทราบความสัมพันธ์แห่งบทมาติกาทั้ง 2 นี้ ด้วยคำว่า
ภิกขุ จ โทสํ ปติฏฺฐาติ นี้ข้างหน้า. จริงอยู่ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า ก็แล ภิกษุอันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม
อย่างนี้ (เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม) ยืนยัน อิงอาศัยโทสะ คือปฎิญญา,
เป็นสังฆาทิเสส. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงกาลปรากฏ
แห่งความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูลเท่านั้น. แต่ภิกษุผู้โจทก์ย่อมต้องอาบัติใน
ขณะที่ตนโจทนั่นแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิกรณํ นาม เป็นต้น เพื่อ
จะไม่ตรัสลักษณะอธิกรณ์ไม่มีมูลนั้น แสดงแต่ที่ยังไม่เคยมีเท่านั้น เพราะ
ลักษณะแห่งอธิกรณ์ไม่มีมูล ได้ตรัสไว้แล้วในก่อน ในคำว่า อมูลกญฺเจว
ตํ อธิกรณํ โหติ
นี้.

[อธิบายคำว่าอธิกรณ์เป็นต้น]


เพราะ อธิกรณ์ในคำว่า อิธิกรณํ นาม นั้น โดยอรรถ คือเหตุ
ย่อมมีแม้อย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีต่าง ๆ กัน; เพราะเหตุนั้น
เพื่อความแตกต่างกันนั้น แห่งอธิกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
มีอาทิว่า จตฺตาริ อธิกรณานิ วิวาทาธิกรณํ ดังนี้.