เมนู

มากนั้นเถิด. แต่ถ้าเธอไม่ตั้งอยู่ในฐาน (เป็นลัชชี) จำเดิมแต่เวลาพูดผิด
ไป. พึงให้การวินิจฉัย.*

[ว่าด้วยองค์ของโจทก์และจำเลย]


เมื่อเรื่องถูกนำมาเสนอในที่ประชุมท่ามกลางสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่ง
การโจทอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นนี้ พระวินัยธรทราบการปฏิบัติในจำเลย
และโจทก์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยด้วยสามารถแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและ
ที่สุดเป็นต้น เพื่อรู้จักสมบัติและวิบัติแห่งการโจทนั้นนั่นเอง. คืออย่างไร ?
คือการโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ?
การขอโอกาสว่า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน, ขอท่านผู้มีอายุ จง
กระทำโอกาสให้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่า เบื้องต้นแห่งการโจท.
การโจทแล้วให้จำเลยให้การตามวัตถุที่ยกขึ้นบรรยายฟ้องแล้ววินิจ-
ฉัย ชื่อว่า ท่ามกลางแห่งการโจท.
การระงับด้วยให้จำเลยทั้งอยู่ในอาบัติ หรืออนาบัติ ชื่อว่า ที่สุด
แห่งการโจท.
การโจท มีมูลเท่าไร ? มีวัตถุเท่าไร ? มีภูมิเท่าไร ?
การโจทมีมูล 2 คือ มูลมีเหตุ 1 มูลไม่มีเหตุ 1 (มูลมีมูล 1 มูล
ไม่มีมูล 1). มีวัตถุ 3 คือ ได้เห็น 1 ได้ยิน 1 ได้รังเกียจ 1. มีภูมิ 5
คือจักพูดตามกาล จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดตามจริง จักไม่พูด
โดยคำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1 จัก
* สารัตถทีปนี 3/44, มี น ปฏิเสธ เป็น วินิจฺฉโย น ทาตพฺโพติ อลชฺชิภาวาปนฺนตฺตา
ทาตพฺโพ แปลว่า ข้อว่า ไม่พึงให้วินิจฉัย คือ พึงให้วินิจฉัย เพราะถึงความเป็นอลัชชี.