เมนู

[อธิบายเรื่องอธิกรณ์มีมูลและไม่มีมูล]


ในคำว่า อมูลเกน ปาราชิเกน นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
ปาราชิกนั้น ไม่มีมูล; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมูลกะ. ก็ความที่ปารา-
ชิกนั้นไม่มีมูลนั้น ทรงประสงค์เอาด้วยอำนาจแห่งโจทก์ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ
แห่งจำเลย เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น ในบทภาชนะ
ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่าไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้
รังเกียจ.
ด้วยบทภาชนะว่า อหิฏฺฐํ เป็นต้นนั้น ท่านแสดงอธิบายนี้ไว้ว่า
ปาราชิกที่โจทก์ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ในตัวบุคคลผู้เป็นจำเลย
ชื่อว่า ไม่มีมูล เพราะไม่มีมูล กล่าวคือการเห็น การได้ยิน และการ
รังเกียจนี้. ก็จำเลยนั้น จะต้องปาราชิกนั้น หรือไม่ต้องก็ตามที, ข้อที่
จำเลยต้องหรือไม่ต้องนี้ ไม่เป็นประมาณในสิกขาบทนี้.
ในบทว่า อทิฏฺฐํ เป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือไม่ได้เห็น
ด้วยจักษุประสาท หรือด้วยทิพยจักษุของตน. ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือไม่ได้
ยินใคร ๆ เขาพูดกันเหมือนอย่างนั้น. ที่ชื่อว่า ไม่ได้รังเกียจ คือไม่ได้
รังเกียจด้วยจิต.
ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือตนเองหรือคนอื่นได้เห็นด้วยจักษุประสาทหรือ
ด้วยทิพยจักษุ. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือได้ยินมาเหมือนอย่างที่ได้เห็นนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า ได้รังเกียจ คือตนเอง หรือคนอื่นรังเกียจ. ในเรื่องได้เห็น
เป็นต้น ตนเองได้เห็นมา จึงชื่อว่า ได้เห็น. แต่ลักษณะทั้งหมดนี้ คือ
คนอื่นได้เห็น ตนเองได้ยิน คนอื่นได้ยิน คนอื่นได้รังเกียจ ตั้งอยู่ใน
ฐานที่ตนได้ยินมาเท่านั้น. ก็เรื่องที่รังเกียจ มี 3 อย่าง คือรังเกียจด้วย

อำนาจได้เห็น 1 รังเกียจด้วยอำนาจได้ยิน 1 รังเกียจด้วยอำนาจได้ทราบ
1. ในเรื่องรังเกียจ 3 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า รังเกียจด้วยอำนาจได้เห็น คือ
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปยังพุ่มไม้แห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้าน ด้วยการถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ, หญิงแม้คนใดคนหนึ่ง ก็เข้าไปยังพุ่มไม้นั้นด้วยกรณียกิจบาง
อย่างเหมือนกัน แล้วกลับไป, ทั้งภิกษุก็ไม่ได้เห็นผู้หญิง ทั้งผู้หญิงก็ไม่
ได้เห็นภิกษุ, ทั้งสองคนต่างก็หลีกไปตามชอบใจ ไม่ได้เห็นกันเลย, ภิกษุ
อีกรูปหนึ่งกำหนดหมายเอาการที่คนทั้งสองออกไปจากพุ่มไม้นั้น จึง
รังเกียจว่า ชนเหล่านี้กระทำกรรมแล้ว หรือจักกระทำแน่แท้ นี้ ชื่อว่า
รังเกียจด้วยอำนาจได้เห็น.
ที่ชื่อว่า รังเกียจด้วยอำนาจได้ยิน คือคนบางคนในโลกนี้ ได้ยิน
คำปฏิสันถารเช่นนั้นของภิกษุกับมาตุคาม ในโอกาสที่มืด หรือกำบัง คน
อื่นแม้มีอยู่ในที่ใกล้ ก็ไม่ทราบว่า มี หรือไม่มี, เขารังเกียจว่า ชน
เหล่านี้ทำกรรมแล้ว หรือว่า จักทำแน่นอน นี้ชื่อว่า รังเกียจด้วยอำนาจ
ได้ยิน.
ที่ชื่อว่ารังเกียจด้วยอำนาจได้ทราบ คือ ตกกลางคืนพวกนักเลง
เป็นอันมาก ถือเอาดอกไม้ของหอม เนื้อและสุราเป็นต้นแล้ว ไปยัง
วิหารชายแดนแห่งหนึ่งพร้อมกับพวกสตรี เล่นกันตามสบายที่มณฑป
หรือที่ศาลาฉันเป็นต้น ทิ้งดอกไม้เป็นต้นให้กระจัดกระจาย แล้วพากัน
ไป, ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุเห็นอาการแปลกนั้นแล้วพากันสืบหาว่า นี้
เป็นกรรมของใคร ? ก็ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางรูปลุกขึ้นแต่
เช้าตรู่ ปฏิบัติมณฑป หรือศาลาฉันด้วยมุ่งวัตรเป็นใหญ่ จำเป็นต้องจับ
ต้องดอกไม้เป็นต้น, บางรูปต้องทำการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ที่ตนนำ

มาจากตระกูลอุปัฏฐาก, บางรูปต้องดื่มยาดองชื่ออริฏฐะเพื่อเป็นยา. ครั้ง
นั้น พวกภิกษุเหล่านั้นผู้สืบหาว่า กรรมนี้ของใคร ? จึงดมกลิ่นมือและ
กลิ่นปาก แล้วรังเกียจภิกษุเหล่านั้น, นี้ชื่อว่ารังเกียจด้วยอำนาจได้ทราบ.
ในเรื่องได้เห็นเป็นต้นนั้น เรื่องได้เห็นที่มีมูลก็มี ที่ไม่มีมูลก็มี,
เรื่องได้เห็นนั่นเอง มีมูลด้วยอำนาจแห่งสัญญาก็มี ไม่มีมูลด้วยอำนาจ
แห่งสัญญาก็มี. แม้ในเรื่องได้ยิน ก็นัยนี้. แต่ในเรื่องที่รังเกียจ เรื่องที่
รังเกียจด้วยอำนาจได้เห็น มีมูลก็มี, ไม่มีมูลก็มี, เรื่องที่รังเกียจด้วย
อำนาจได้เห็นนั้นเอง มีมูลด้วยอำนาจแห่งสัญญาก็มี, ไม่มีมูลด้วยอำนาจ
แห่งสัญญาก็มี. ในเรื่องที่รังเกียจ ด้วยการได้ยิน และการได้ทราบก็นัยนี้.
ในคำว่า มีมูลเป็นต้นนั้น เรื่องได้เห็นที่ชื่อว่ามีมูล คือเขาได้เห็น
ภิกษุต้องปาราชิกจริง ๆ แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าเห็น. ที่ชื่อว่า ไม่มีมูล
คือเขาเห็นภิกษุออกมาจากโอกาสกำบัง แต่ไม่เห็นการล่วงละเมิด กล่าวว่า
ข้าพเจ้าเห็น. เรื่องที่เห็นนั่นเอง ชื่อว่า มีมูลด้วยอำนาจแห่งสัญญา คือ
เขาเพียงแต่ได้เห็นเท่านั้น เป็นผู้มีความสำคัญว่าได้เห็น แล้วโจท. ที่
ชื่อว่า ไม่มีมูลด้วยอำนาจแห่งสัญญา คือในเบื้องต้น เขาเห็นการล่วง
ละเมิดด้วยปาราชิก ภายหลังกลับเกิดมีความสำคัญว่า ไม่ได้เห็น. ผู้นั้น
ทำให้ไม่มีมูลด้วยสัญญา แล้วโจทว่า ข้าพเจ้าเห็น. แม้เรื่องที่รังเกียจ
ด้วยอำนาจแห่งการได้ยิน และได้ทราบ ก็พึงทราบโดยพิสดารตามนัยนี้
แล. ก็ในสิกขาบทนี้ เมื่อภิกษุโจทภิกษุที่ตนเห็น แม้โดยอาการทุกอย่าง
ด้วยปาราชิกที่มีมูล หรือมีมูลด้วยอำนาจแห่งสัญญา ไม่เป็นอาบัติ. เป็น
อาบัติแต่เฉพาะภิกษุผู้โจท ด้วยปาราชิกอันหามูลมิได้ หรือไม่มีมูลด้วย
อำนาจแห่งสัญญา.

บทว่า อนุทฺธํเสยฺย ได้แก่ พึงกำจัด คือพึงขจัด ขมขู่ ครอบงำ.
ก็เพราะภิกษุโจทด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นโจทก็ดี ชื่อว่า ย่อมทำการ
กำจัดนั้นทั้งนั้น; ฉะนั้น ในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลี จึงกล่าวว่า
โจทเองก็ตาม ใช้ให้ผู้อื่นโจทก็ตาม.
ในสองบทว่า โจเทติ วา โจทาเปติ วา นั้น บทว่า โจเทติ มี
ความว่า ภิกษุโจทเองด้วยคำเป็นต้นว่า ท่านเป็นผู้ต้องธรรมถึงปาราชิก
ดังนี้ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น ทุก ๆ คำพูด.
บทว่า โจทาเปติ มีความว่า สั่งภิกษุอื่นผู้ยืนอยู่ใกล้ๆ กับตน,
ภิกษุผู้รับสั่งนั้นโจทภิกษุนั้น ตามคำของภิกษุผู้สั่งนั้น, เป็นสังฆาทิเสส
แก่ภิกษุผู้สั่งให้โจททุก ๆ คำพูดเหมือนกัน. ที่นั้นฝ่ายภิกษุผู้รับสั่งนั้นโจท
ว่า เรื่องที่ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยินมีอยู่ ดังนี้ ก็เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ
ทั้งสองรูปทุก ๆ คำพูดเหมือนกัน.

[อธิบายลักษณะแห่งการโจทต่าง ๆ]


ก็แล เพื่อความฉลาดในประเภทแห่งการโจท ในสิกขาบทนี้
บัณฑิตพึงทราบจตุกกะเป็นต้นว่าวัตถุอย่างเดียว และผู้โจทย์ก็คนเดียว
ก่อน. บรรดาจตุกกะเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งโจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยวัตถุอัน
หนึ่ง. การโจทนี้ มีวัตถุเดียว ผู้โจทก์ก็คนเดียว. ภิกษุมีจำนวนมาก
ด้วยกัน โจทภิกษุรูปหนึ่งด้วยวัตถุอันหนึ่ง ดุจพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ 500
รูป มีภิกษุเมตติยะ และภิกษุภุมมชกะเป็นหัวหน้า โจทท่านพระทัพพ-
มัลลบุตร ฉะนั้น การโจทนี้ มีวัตถุเดียว มีผู้โจทก์ต่าง ๆ กัน. ภิกษุ
รูปหนึ่ง โจทภิกษุรูปหนึ่ง ด้วยวัตถุมากหลายด้วยกัน, โจทนี้มีวัตถุต่าง ๆ