เมนู

คำว่า เสนาสนํ ปญฺญาเปตฺวา ปุนเทว เวฬุวนํ ปจฺจาคจฺฉติ
มีความว่า ท่านย่อมไม่นั่งคุยเรื่องชนบทกับภิกษุเหล่านั้น กลับนาสู่ที่อยู่
ของตนทันที.

[แก้อรรถเรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ]


บทว่า เมตฺติยภุมฺมชกา ได้แก่ ภิกษุเหล่านี้ คือ ภิกษุชื่อเมตติยะ 1
ภิกษุชื่อภุมมชกะ 1 เป็นบุรุษชั้นหัวหน้าแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์.
สองบทว่า ลามกานิ จ ภตฺตานิ ได้แก่ ข้อนี้ คือ เสนาสน ะ
อันเลวทราม ถึงแก่พวกภิกษุใหม่ก่อน ไม่เป็นข้อที่น่าอัศจรรย์เลย. แต่
ภิกษุทั้งหลายใส่สลากไว้ในกระเช้า หรือขนดจีวร เคล้าคละกันแล้วจับ
ขึ้นทีละอัน ๆ แจกภัตให้ไป, ภัตแม้เหล่านั้นเป็นของเลวด้อยกว่าเขาทั้งหมด
ย่อมถึงแก่ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น เพราะเป็นผู้มีบุญน้อย.
ภัตที่ควรแจกให้ถึงตามลำดับคราวหนึ่งแม้ใด ชื่อว่า เอกวาริกภัต
เป็นของประณีตแสนจะประณีต พึงประมวลให้แจกตั้งแต่พระเถระจนถึง
พระนวกะ, แม้ภัตนั้น ในวันที่ถึงแก่ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนี้กลายเป็น
ของเลว หรือพวกชาวบ้านพอเห็นภิกษุ 2 รูปนั้น ไม่ถวายของประณีต
กลับถวายของเลว ๆ.
บทว่า อภิสงฺขริกํ ได้แก่ อันเขาปรุงผสมด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ.
อธิบายว่า อันเขาตระเตรียมด้วยดี คือให้สำเร็จด้วยดี.
บทว่า กาณาชกํ ได้แก่ ข้าวปนรำ.
บทว่า พิลงฺคทุติยํ ได้แก่ คู่กับน้ำผักดอง.
บทว่า กลฺยาณภตฺติโก มีความว่า ภัตอย่างดี คือที่อร่อยแสน

จะประณีตของอุบาสกนั้น มีอยู่, เพราะเหตุนั้น อุบาสกนั้นจึงชื่อว่า
กัลยาณภัตติกะ อุบาสกนั้น ปรากฏชื่อตามภัตนั่นแล เพราะเป็นผู้ถวาย
ภัตประณีต.
สองบทว่า จตุกฺกภตฺตํ เทติ ได้แก่ ถวายภัตตาหารวันละ 4 ที่.
แต่โดยโวหารแห่งตัทธิตท่านกล่าวว่า จตุกภัต.
สองบทว่า อุปติฏฺฐิตฺวา ปริวิสติ มีความว่า อุบาสกนั้นสละการ
งานทั้งหมด กระทำการบูชาและสักการะ แล้วยืนอังคาสอยู่ในที่ใกล้ๆ.
สองบทว่า โอทเนน ปุจฺฉนฺติ มีความว่า พวกคนถือข้าวสุกเข้า
ไปหาแล้ว ถามว่า กระผมจะถวายข้าวสุก หรือขอรับ ? อย่างนี้ เป็น
ตติยาวิภัตติ ลงโนอรรถแห่งกรณะ. ในสูปะเป็นต้นก็มีนัยอย่างนี้.
บทว่า สฺวาตนาย มีความว่า การฉันภัตตาหารอันมีในวันพรุ่งนี้
ชื่อว่า สวาตนะ เพื่อประโยชน์แก่การฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้นั้น ชื่อว่า
สฺวาตนาย. มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การฉันภัตตาหาร ที่ควร
กระทำในวันรุ่งขึ้น.
สองบทว่า อุทฺทิฏฐํ โหติ ได้แก่ เป็นของอันภัตตุทเทสก์ถวาย
ให้ถึงแล้ว.
พระเถระไม่ได้คำนึงถึง จึงกล่าวคำนี้ว่า เมตฺติยภุมฺมชกานํ โข
คหปติ
ดังนี้.
จริงอยู่ ความที่ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น เป็นผู้มีบุญน้อย มี
พลังอย่างนี้ แม้พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความเป็นผู้มีสติ
อันไพบูลย์ ก็ไม่มีความคำนึงถึง.
ด้วยคำว่า เช ในคำว่า เย เช นี้ คหบดี ร้องเรียกนางทาสี.

ข้อว่า หีโย โข อาวุโส อมฺหากํ มีความว่า ภิกษุเมตติยะและ
ภุมมชกะ ปรึกษากันตลอดราตรี กล่าวหมายถึงส่วนแห่งวันที่ล่วงแล้วว่า
หีโย (วันวาน).
บทว่า น จิตูตรูปํ ได้แก่ ไม่สมใจนึก. ภิกษุทั้งสองนั้นจำวัด
ไม่หลับ เหมือนอย่างที่ตนเคยจำวัดหลับเท่าที่ตนต้องการในก่อน. มีคำ
อธิบายว่า จำวัดได้นิดหน่อยเท่านั้น.
บทว่า พหารามโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตูแห่งพระเวฬุ-
วันวิหาร.
บทว่า ปตฺตกขนฺธา ได้แก่ มีคอตก คือ นั่งงอกระดูกคอ
(นั่งคอพับ).
บทว่า ปชฺณายนฺตา ได้แก่ ซบเซาอยู่.
คำว่า ยโต นีวาตํ ตโต ปวาตํ มีความว่า ณ ที่ใดอับลม คือ
ไม่มีลมแม้แต่น้อย, ณ ที่นั้นเกิดมีลมพัดแรงขึ้น.
คำว่า อุทกํ มญฺเญ อาทิตฺตํ ได้แก่ เหมือนน้ำถูกต้มให้เดือด.

[พระทัพพมัลลบุตรถูกสอบสวน]


ข้อว่า สรสิ ตฺวํ ทพฺพ เอวรูปํ กตฺต ความว่า ดูก่อนทัพพะ !
เธอผู้ทำกรรมเห็นปานนี้ ยังระลึกได้อยู่หรือ ? อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ดูก่อนทัพพะ ! เธอยังระลึกคำอย่างที่นางภิกษุณีกล่าวหาได้อยู่หรือ ? ก็
ในคำนี้ บัณฑิตพึงประกอบเห็นใจความอย่างนี้ว่า เธอเป็นผู้กระทำกรรม
อย่างที่นางภิกษุณีนี้กล่าวหาหรือ ? แต่ปาฐะของพวกอาจารย์ผู้สวดว่า
ภตฺวา ปรากฏตรงทีเดียว.