เมนู

เป็นที่รื่นรมย์ใจ. ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกกันว่า เวฬุวัน. อนึ่ง ชนทั้งหลาย
ได้ให้เหยื่อแก่พวกกระแตในอุทยานนี้, ด้วยเหตุนั้น อุทยานนั้น จึงชื่อว่า
กลันทกนิวาปะ.
ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระราชาพระองค์หนึ่ง ได้เสด็จประพาส
ณ อุทยานนั้นทรงมึนเมาเพราะน้ำจัณฑ์แล้ว บรรทมหลับกลางวัน. แม้
บริวารของพระองค์ ก็พูดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกดอกไม้
และผลไม้เย้ายวนใจอยู่ จึงพากันหลีกไปทางโน้นทางนี้. ขณะนั้น
งูเห่า เลื้อยออกมาจากต้นไม้มีโพรงต้นใดต้นหนึ่ง เพราะกลิ่นสุรา เลื้อย
มุ่งหน้าตรงมาหาพระราชา รุกขเทวดาเห็นงูเห่านั้นแล้วคิดว่า เราจักถวาย
ชีวิตแด่พระราชา จึงแปลงเพศเป็นกระแตมาทำเสียงร้องที่ใกล้พระกรรณ
แห่งพระราชา. พระราชาทรงตื่นบรรทม. งูก็เลื้อยกลับไป. ท้าวเธอ
ทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิตเรา จึงเริ่ม
ต้นเลี้ยงเหยื่อแก่กระแตทั้งหลาย และทรงให้ประกาศพระราชทานอภัยแก่
ฝูงกระแตในอุทยานนั้น เพราะฉะนั้น เวฬุวันนั้น จึงถึงอันนับว่า
กลันทกนิวาปะ (เป็นที่เลี้ยงเหยื่อแก่กระแต) จำเดิมแต่กาลนั้นมา. แท้
จริง คำว่า กลันทกะ นี้ เป็นชื่อของพวกกระรอกกระแต.

[แก้อรรถเรื่องพระทัพพมัลลบุตร]


คำว่า ทัพพะ เป็นนามแห่งพระเถระนั้น.
บทว่า มลฺลปุตฺโต แปลว่า เป็นโอรสของเจ้ามัลลราช.
คำว่า ชาติยา สตฺตวสฺเสน อรหตฺตํ สจฺฉิกตํ มีความว่า ได้ยิน
ว่า พระเถระบัณฑิตพึงทราบว่า มีอายุเพียง 7 ขวบ เมื่อบรรพชา ได้
ความสังเวชแล้วบรรลุพระอรหัตผล ในขณะปลงผมเสร็จนั่นเทียว.

คำว่า ยงฺกกิญฺจ สาวเกน ปตฺตพฺพํ สพฺพํ เตน ปตฺตพฺพํ มีความว่า
คุณชาตินี้ คือ วิชชา 3 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 โลกุตรธรรม 9
ชื่อว่า อันสาวกพึงบรรลุ, คุณชาตินั้น ย่อมเป็นอันพระเถระนั้นบรรลุ
แล้วทุกอย่าง.
คำว่า นตฺถิ จสฺส กิญฺจิ อุตฺตริกรณียํ มีความว่า บัดนี้ กิจที่
จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปน้อยหนึ่ง ไม่มีแก่พระเถระนั้น เพราะกิจ 16 ประการ
ในอริยสัจ 4 อัน ท่านกระทำเสร็จแล้วด้วยมรรค 4.
คำว่า กตสฺส วา ปฏิจโย มีความว่า แม้การจะเพิ่มเติมกิจที่
กระทำเสร็จแล้วนั้นก็ไม่มี เหมือนกับผ้าที่ซักแล้ว ไม่ต้องซักซ้ำอีก
เหมือนของหอมที่บดแล้ว ไม่ต้องบดซ้ำอีก และเหมือนดอกไม้ที่บานแล้ว
ไม่กลับบานอีกฉะนั้นแล.
บทว่า รโหคตสฺส ได้แก่ ไปในที่สงัด.
บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ หลีกจากอารมณ์นั้น ๆ แล้วเร้นอยู่.
มีคำอธิบายว่า ถึงความเป็นผู้โดดเดี่ยว.
ข้อว่า อถโข อายสฺมโต ทพฺพสฺส มลฺลปุตฺตสฺส เอตทโหสิ
ยนฺนูนาหํ สงฺฆสฺส เสนาสนญฺจ ปญฺญาเปยฺยํ ภตฺตานิ จ อุทฺทิเสยฺยํ

มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระเห็นว่า กิจของตนกระทำเสร็จแล้ว จึงดำริว่า
เรายังทรงไว้ซึ่งสรีระสุดท้ายอันนี้, ก็แลสรีระสุดท้ายนั้น ดำรงอยู่ในทาง
แห่งความเป็นของไม่เที่ยง ไม่นานนักก็จะดับไปเป็นธรรมดา ดุจประทีป
ตั้งอยู่ทางลมฉะนั้น, เราควรจะกระทำการขวนขวายแก่สงฆ์ ตลอดเวลา
ที่ยังไม่ดับ อย่างไรหนอแล ? พลางพิจารณาเห็นอย่างนั้นว่า เหล่ากุลบุตร
เป็นอันมาก ในแคว้นนอกทั้งหลาย บวชไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เลย, ท่านเหล่านั้น ย่อมพากันมาแม้จากที่ไกล ด้วยหวังใจว่า เรา
ทั้งหลายจักเฝ้าแหน จักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรดากุลบุตรนั้น
เสนาสนะไม่เพียงพอแก่ท่านพวกได, ท่านพวกนั้น ต้องนอนแม้บน
แผ่นศิลา, ก็แล เราย่อมอาจเพื่อนิรมิตเสนาสนะ มีปราสาท วิหาร เพิงพัก
เป็นต้น พร้อมทั้งเตียงตั้งและเครื่องลาดให้ตามอำนาจความปรารถนาของ
กุลบุตรเป็นอันมากเหล่านั้น ด้วยอานุภาพของตน และในวันรุ่งขึ้น
บรรดากุลบุตรเหล่านี้ บางเหล่ามีกายเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน, กุลบุตร
พวกนั้นจะยืนข้างหน้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้เเจกแม้ซึ่งภัตตาหารด้วย
คารวะหาได้ไม่, ก็เราแลอาจแจกแม้ซึ่งภัตตาหารแก่กุลบุตรเหล่านั้นได้.
ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้พิจารณาอยู่อย่างนี้ ได้มีความตกลง
ใจนี้ว่า ผิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์.
ถามว่า ก็ฐานะทั้ง 2 ประการนี้ ควรแก่ภิกษุผู้ตามประกอบแต่
ความยินดีในการพูดเป็นต้น มิใช่หรือ ? ส่วนท่านพระทัพพมัลลบุตรนี้
เป็นพระขีณาสพ ไม่มีความยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า, เพราะเหตุไร
ฐานะ 2 ประการนี้ จึงปรากฎแจ่มแจ้งแก่ท่านผู้มีอายุนี้เล่า ?
ตอบว่า เพราะความปรารถนาในปางก่อนกระตุ้นเตือน.
ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงมีเหล่าพระสาวกผู้บรรลุ
ฐานันดรนี้เหมือนกัน, และท่านพระทัพพมัลลบุตรนี้ เกิดชาติปางหลัง
ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ เห็นอานุภาพของภิกษุผู้บรรลุฐานันดรนี้ นิมนต์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ 680,000 รูป ถวายมหาทานตลอด 7 วัน แล้ว
หมอบลงแทบบาทมูล ได้กระทำความปรารถนาว่า ในกาลแห่งพระ-

พุทธเจ้าเช่นกับพระองค์บังเกิดขึ้นในอนาคต แม้ข้าพระองค์ พึงเป็นผู้
แต่งตั้งเสนาสนะและภัตตุทเทสกะ เหมือนสาวกของพระองค์ผู้มีชื่อนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องอนาคตังสญาณไป ได้ทอดพระเนตรเห็น
แล้ว. ก็แลครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า โดยกาล
ล่วงไปแห่งแสนกัปแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดมจักทรง
อุบัติขึ้น. ในกาลนั้นท่านจักเกิดเป็นบุตรของมัลลกษัตริย์นามว่า ทัพพะ
มีอายุ 7 ขวบโดยกำเนิด จักออกบรรพชา แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งพระ-
อรหัตผล และจักได้ฐานันดรนี้. จำเดิมแต่นั้นมาท่านบำเพ็ญกุศลมีทาน
ศีล เป็นต้นอยู่ ได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ได้กระทำให้แจ้งพระอรหัตผลเช่นกับพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงพยากรณ์แล้วนั่นแล. ลำดับนั้น เมื่อท่าน
พระทัพพมัลลบุตรผู้อยู่ในที่สงัด ดำริอยู่ว่า เราพึงทำการขวนขวายแก่สงฆ์
อย่างไรหนอแล ฐานะ 2 นี้ปรากฎแจ่มแจ้งแล้ว เพราะความปรารถนา
ในปางก่อนนั้น กระตุ้นเตือน ฉะนี้แล.
ครั้งนั้น ท่านได้มีความรำพึงนี้ว่า เราแล ไม่เป็นอิสระในตนเอง,
เราอยู่ในสำนักเดียวกับพระศาสดา, ถ้าหากพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรง
อนุญาตให้เราไซร้, เราจักสมาทานฐานะทั้ง 2 นี้ แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงได้กล่าวว่า
อถโข อายสฺมา ทพฺโพ มลฺลปุตฺโต ฯ เป ฯ ภตฺตานิ จ อุทฺทิสิตุํ
ดังนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้น
ให้รื่นเริงด้วยพระดำรัสว่า ดีละ ดีแล้ว ทัพพะ ! จึงตรัสว่า ดูก่อน

ทัพพะ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงแต่งตั้งเสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์
เถิด, เพราะว่า ภิกษุผู้ห่างไกลจากการลำเอียงเพราะอคติเห็นปานนี้ ย่อม
สมควรจัดการฐานะทั้ ง 2 นี้.
สองบทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสิ มีความว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตร
กราบทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ ทูลรับสนองตรง
พระพักตร์. มีคำอธิบายว่า ทูลรับสนองตอบ.
ในคำว่า ปฐมํ ทพฺโพ ยาจิตพฺโพ นี้ มีคำถามว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงให้ขอ เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพื่อจะป้องกันความครหานินทา.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ในอนาคต อุปัทวะใหญ่
จักบังเกิดแก่ทัพพะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุชื่อเมตติยะและภุมมชกะเพราะ
อาศัยฐานะนี้, บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกจักตำหนิว่า ท่านทัพพะนี้
เป็นผู้นิ่งเฉย, ไม่ทำการงานของตน มาจัดการฐานะเช่นนี้เพราะเหตุไร ?
ลำดับนั้น ภิกษุพวกอื่นจักกล่าวว่า โทษอะไรของท่านผู้นี้, ท่านผู้นี้
อันภิกษุเหล่านั้นแลขอตั้งแล้ว, เธอจักพ้นจากความครหานินทาด้วยอาการ
อย่างนี้. แม้ครั้นให้ขอเพื่อเปลื้องความครหาอย่างนี้แล้ว เพราะเมื่อภิกษุ
ที่สงฆ์ไม่ได้สมมติซ้ำอีก กล่าวคำอะไร ๆ ในท่ามกลางสงฆ์จะเกิดการบ่นว่า
เป็นธรรมดาว่า เพราะเหตุไร ท่านผู้นี้จึงกระทำเสียงดัง แสดงความเป็น
ใหญ่ในท่ามกลางสงฆ์เล่า ? แต่เมื่อภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้วพูด จะมีผู้กล่าว
ว่า พวกท่านอย่าได้พูดอะไร ๆ, ท่านผู้นี้สงฆ์สมมติแล้ว จงพูดได้ตาม
สบายเถิด, และภิกษุผู้กล่าวตู่ผู้ที่สงฆ์มิได้สมมติด้วยคำไม่จริง เป็นอาบัติเบา

เพียงทุกกฏ. แต่ผู้กล่าวตู่ภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้ว เป็นอาบัติปาจิตตีย์ที่หนัก
กว่า, ทีนั้นภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้ว จะเป็นผู้ถูกพวกภิกษุแม้ผู้จองเวรกำจัด
ได้ยากยิ่ง เพราะเป็นอาบัติหนัก ฉะนั้น เพื่อจะให้สงฆ์สมมติท่านผู้มีอายุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า พยตฺเตน ภิกฺขุนา เป็นต้น.
ถามว่า ก็การให้สมมติ 2 อย่าง แก่ภิกษุรูปเดียวควรหรือ ?
ตอบว่า มิใช่แต่เพียง 2 อย่างเท่านั้น, ถ้าสามารถ จะให้สมมติ
ทั้ง 13 อย่าง ก็ควร. แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่สามารถ แม้สมมติอย่างเดียว
ก็ไม่สมควรให้แก่ภิกษุ 2 หรือ 3 รูป.
บทว่า สภาคานํ มีความว่า ผู้เสมอกันด้วยคุณ ไม่ใช่ผู้เสมอกัน
โดยเป็นมิตรสนิทสนมกัน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า เย เต ภิกฺขู สุตฺตนฺติกา เตสํ เอกชุณํ เป็นต้น. ก็ภิกษุ
ผู้ทรงพระสูตรมีจำนวนเท่าใด, ท่านทัพพะคัดเลือกภิกษุเหล่านั้นแต่งตั้ง
เสนาสนะอันสมควรแก่ภิกษุเหล่านั้นแลรวมกัน, แก่พวกภิกษุที่เหลือ
ก็อย่างนั้น.
บทว่า กายทฬฺหีพหุลา ได้แก่ เป็นผู้มากไปด้วยการกระทำ
ร่างกายให้แข็งแรง, อธิบายว่า เป็นผู้มากไปด้วยการบำรุงร่างกาย.
ข้อว่า อิมายปิเม อายสฺมนฺโต รตฺติยา ได้แก่ ด้วยความยินดี
ในดิรัจฉานกถาอันเป็นเหตุขัดขวางต่อทางสวรรค์นี้.
บทว่า อจฺฉิสฺสนฺติ แปลว่า จักอยู่.
ข้อว่า เตฌชธาตุํ สมาปชฺชิตฺวา เตเนวาโลเกน มีความว่า ท่าน
ผู้มีอายุนั้น เข้าจตุตถฌาน มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ออกแล้วอธิษฐาน
นิ้วมือให้สว่างด้วยอภิญญาญาณ (แต่งตั้งเสนาสนะ) ด้วยแสงสว่างที่โพลง

จากนิ้วมือ อันเตโชธาตุสมาบัติให้เกิดแล้วนั้น. ก็อานุภาพของพระเถระ
อย่างนั้น ได้ปรากฏแล้ว ในสกลชมพูทวีป ต่อกาลไม่นานนัก. ชน
ทั้งหลายสดับข่าวนั้น อยากเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของท่าน ได้พากันมา.
พวกภิกษุแกล้งมาในเวลาวิกาลบ้าง ก็มี.
ข้อว่า เต สญฺจจิจ ทูเร อปทิสนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น
ทั้งที่รู้อยู่ ก็พากันอ้างถึงสถานทีไกล ๆ.
คือ อย่างไร ?
คือ อ้างเอาโดยนัยนี้ว่า พระคุณเจ้าทัพพะ ! ขอท่านจงแต่งตั้ง
เสนาสนะให้พวกกระผมที่เขาคิชฌกูฏ ดังนี้ เป็นต้น.
คำว่า องฺคุลิยา ชลมานาย ปุรโต ปุรโต คจฺฉติ มีความว่า
ถ้ามีภิกษุรูปเดียว, ท่านไปเอง ถ้ามีหลายรูป, ท่านนิรมิตอัตภาพเป็นอัน
มาก ให้เป็นเช่นเดียวกับตนของท่านทั้งหมด.
ก็ในคำว่า เสนาสนํ ปญฺญาเปติ อยํ มญฺโจ เป็นต้น มีวินิจฉัย
ดังนี้:- เมื่อพระเถระกล่าวว่า นี้เตียง แม้อัตภาพทีนิรมิตก็กล่าวว่า นี้เตียง
ในที่แห่งตน ๆ ไปถึงแล้ว. แม้ในบททั้งปวงก็อย่างนั้น จริงอยู่ ปกตินี้
เป็นธรรมดาของอัตภาพนิรมิต คือ:-
เมื่อผู้มีฤทธิ์คนเดียวพูด อัตภาพนิรมิตทั้งหมด
ก็พูดด้วย เมื่อผู้มีฤทธิ์คนเดียวนั่งนิ่ง อัตภาพนิรมิต
เหล่านั้นทั้งหมด ก็นิ่งด้วย.

ก็ในวิหารใด เตียง ตั่ง เป็นต้น ไม่สมบูรณ์, ท่านย่อมให้บริบูรณ์
ด้วยอานุภาพของตน, การพูดนอกเรื่องของอัตภาพที่พระเถระนั้นนิรมิต
ย่อมไม่มี.

คำว่า เสนาสนํ ปญฺญาเปตฺวา ปุนเทว เวฬุวนํ ปจฺจาคจฺฉติ
มีความว่า ท่านย่อมไม่นั่งคุยเรื่องชนบทกับภิกษุเหล่านั้น กลับนาสู่ที่อยู่
ของตนทันที.

[แก้อรรถเรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ]


บทว่า เมตฺติยภุมฺมชกา ได้แก่ ภิกษุเหล่านี้ คือ ภิกษุชื่อเมตติยะ 1
ภิกษุชื่อภุมมชกะ 1 เป็นบุรุษชั้นหัวหน้าแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์.
สองบทว่า ลามกานิ จ ภตฺตานิ ได้แก่ ข้อนี้ คือ เสนาสน ะ
อันเลวทราม ถึงแก่พวกภิกษุใหม่ก่อน ไม่เป็นข้อที่น่าอัศจรรย์เลย. แต่
ภิกษุทั้งหลายใส่สลากไว้ในกระเช้า หรือขนดจีวร เคล้าคละกันแล้วจับ
ขึ้นทีละอัน ๆ แจกภัตให้ไป, ภัตแม้เหล่านั้นเป็นของเลวด้อยกว่าเขาทั้งหมด
ย่อมถึงแก่ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น เพราะเป็นผู้มีบุญน้อย.
ภัตที่ควรแจกให้ถึงตามลำดับคราวหนึ่งแม้ใด ชื่อว่า เอกวาริกภัต
เป็นของประณีตแสนจะประณีต พึงประมวลให้แจกตั้งแต่พระเถระจนถึง
พระนวกะ, แม้ภัตนั้น ในวันที่ถึงแก่ภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนี้กลายเป็น
ของเลว หรือพวกชาวบ้านพอเห็นภิกษุ 2 รูปนั้น ไม่ถวายของประณีต
กลับถวายของเลว ๆ.
บทว่า อภิสงฺขริกํ ได้แก่ อันเขาปรุงผสมด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ.
อธิบายว่า อันเขาตระเตรียมด้วยดี คือให้สำเร็จด้วยดี.
บทว่า กาณาชกํ ได้แก่ ข้าวปนรำ.
บทว่า พิลงฺคทุติยํ ได้แก่ คู่กับน้ำผักดอง.
บทว่า กลฺยาณภตฺติโก มีความว่า ภัตอย่างดี คือที่อร่อยแสน