เมนู

ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจท
เธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท
ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ
หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.

อนาปัตติวาร


[563] ภิกษุจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ภิกษุโจทก์มีความเห็นว่าเป็นผู้
ไม่บริสุทธิ์ 1 ภิกษุจำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุโจทก์มีความเห็นว่าเป็น
ผู้ไม่บริสุทธิ์ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สิกขาบทที่ 8 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 8


ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา


ทุฏฐโทสสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
พึงทราบวินิจฉัยในทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น ดังนี้

[ประวัติพระเวฬุวันวิหาร]


คำว่า เวฬุวัน ในคำว่า เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อแห่ง
อุทยานนั้น. ได้ยินว่า อุทยานนั้นได้ล้อมรอบไปด้วยกอไผ่และกำแพงสูง
18 ศอก ประกอบด้วยเชิงเทิน (ซุ้มประตู) และป้อม มีสีเขียวชอุ่ม

เป็นที่รื่นรมย์ใจ. ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกกันว่า เวฬุวัน. อนึ่ง ชนทั้งหลาย
ได้ให้เหยื่อแก่พวกกระแตในอุทยานนี้, ด้วยเหตุนั้น อุทยานนั้น จึงชื่อว่า
กลันทกนิวาปะ.
ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระราชาพระองค์หนึ่ง ได้เสด็จประพาส
ณ อุทยานนั้นทรงมึนเมาเพราะน้ำจัณฑ์แล้ว บรรทมหลับกลางวัน. แม้
บริวารของพระองค์ ก็พูดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกดอกไม้
และผลไม้เย้ายวนใจอยู่ จึงพากันหลีกไปทางโน้นทางนี้. ขณะนั้น
งูเห่า เลื้อยออกมาจากต้นไม้มีโพรงต้นใดต้นหนึ่ง เพราะกลิ่นสุรา เลื้อย
มุ่งหน้าตรงมาหาพระราชา รุกขเทวดาเห็นงูเห่านั้นแล้วคิดว่า เราจักถวาย
ชีวิตแด่พระราชา จึงแปลงเพศเป็นกระแตมาทำเสียงร้องที่ใกล้พระกรรณ
แห่งพระราชา. พระราชาทรงตื่นบรรทม. งูก็เลื้อยกลับไป. ท้าวเธอ
ทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิตเรา จึงเริ่ม
ต้นเลี้ยงเหยื่อแก่กระแตทั้งหลาย และทรงให้ประกาศพระราชทานอภัยแก่
ฝูงกระแตในอุทยานนั้น เพราะฉะนั้น เวฬุวันนั้น จึงถึงอันนับว่า
กลันทกนิวาปะ (เป็นที่เลี้ยงเหยื่อแก่กระแต) จำเดิมแต่กาลนั้นมา. แท้
จริง คำว่า กลันทกะ นี้ เป็นชื่อของพวกกระรอกกระแต.

[แก้อรรถเรื่องพระทัพพมัลลบุตร]


คำว่า ทัพพะ เป็นนามแห่งพระเถระนั้น.
บทว่า มลฺลปุตฺโต แปลว่า เป็นโอรสของเจ้ามัลลราช.
คำว่า ชาติยา สตฺตวสฺเสน อรหตฺตํ สจฺฉิกตํ มีความว่า ได้ยิน
ว่า พระเถระบัณฑิตพึงทราบว่า มีอายุเพียง 7 ขวบ เมื่อบรรพชา ได้
ความสังเวชแล้วบรรลุพระอรหัตผล ในขณะปลงผมเสร็จนั่นเทียว.