เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


12. 8. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ตามกำจัด
ซึ่งภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ด้วยหมายว่า แม้
ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น
อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้น
เป็นเรื่องหามูลมิได้ แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[546] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ข้อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น
พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พ้ร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
บทว่า ซึ่งภิกษุ หมายภิกษุอื่น.
บทว่า ขัดใจ มีโทสะ คือโกรธ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แค้นใจ
เจ็บใจ.
บทว่า ไม่แช่มชื่น คือ เป็นคนมีใจไม่แช่มชื่น เพราะความ
โกรธนั้น เพราะโทสะนั้น เพราะความไม่ถูกใจนั้น และเพราะความไม่
พอใจนั้น.
ที่ชื่อว่า อันหามูลมิได้ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
บทว่า ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก คือ ด้วยปาราชิกธรรมทั้ง 4
สิกขาบท สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง.
บทว่า ตามกำจัด ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้โจท.
พากย์ว่า แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้
ความว่า ให้เคลื่อนจากภิกษุภาพ ให้เคลื่อนจากสมณธรรม ให้เคลื่อน
จากศีลขันธ์ ให้เคลื่อนเจ้าคุณคือตบะ.
[547] คำว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น ความว่า เมื่อขณะคราว
ครู่หนึ่งที่ภิกษุผู้ถูกตามกำจัดนั้น ผ่านไปแล้ว.
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม คือ ภิกษุเป็นผู้ถูกตามกำจัด
ด้วย เรื่องใด มีคนเชื่อในเพราะเรื่องนั้นก็ตาม.

บทว่า ไม่ถือเอาตามก็ตาม คือ ไม่มีใคร ๆ พูดถึง.
[548] ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่อธิกรณ์ 4 อย่าง คือวิวาทา-
ธิกรณ์ 1 อนุวาทาธิกรณ์ 1 อาปัตตาธิกรณ์ 1 กิจจาธิกรณ์ 1.
[549] คำว่า แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่ ความว่า ภิกษุกล่าว
ปฏิญาณว่าข้าพเจ้าพูดเปล่า ๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้พูดแล้ว.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์
ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น


[550] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้า
โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็น
สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี
สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด.

ไม่ได้ยิน โจทว่าได้ยิน


ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า
ข้าพเจ้าได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่
เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี
ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด.