เมนู

เข้าในกุฎีที่คนมีความประสงค์จะให้ถึงความเป็นของสร้างแล้วเสร็จด้วยดิน-
เหนียวจำนวนมาก หรือด้วยดินเหนียวผสมแกลบ ชื่อว่าให้สำเร็จลง.
สองบทว่า ปเรหิ ปริโยสาเปติ มีความว่า ใช้คนเหล่าอื่นทําให้
สำเร็จ เพื่อประโยชน์แก่ตน
ในคำนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็กุฎีอันตนเอง หรืออันคน
เหล่าอื่น หรือว่าทั้งสองฝ่าย ทำค้างไว้ก็ตามที, ก็แล ภิกษุยังกุฎีนั้นให้
สำเร็จด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำให้สำเร็จก็ดี ใช้คนที่รวมเป็นคู่ คือ
ตนเองและคนเหล่าอื่นสร้างให้สำเร็จก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นสังฆา-
ทิเสสทั้งนั้น.
แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุ 2-3 รูป รวมกันทำกล่าวว่า
พวกเราจักอยู่, ยังรักษาอยู่ก่อน, ยังไม่เป็นอาบัติ เพราะยังไม่แจกกัน,
แจกกันว่า ที่นี่ของท่าน แล้วช่วยกันทำ, เป็นอาบัติ, สามเณรกับภิกษุ
ร่วมกันทำ, ยังรักษาอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้แบ่งกัน, แจกกันโดยนัยก่อน
แล้วช่วยกันทำ เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ดังนี้.

[อนาปัตติวารวรรณนา]


ในคำว่า อนาปตฺติ เลเณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้กระทำถ้ำแม้ให้ใหญ่ เพราะการฉาบในถ้ำนี้ไม่เชื่อมต่อกัน.
สำหรับภิกษุผู้กระทำแม้คูหา คือ คูหาก่ออิฐก็ดี คูหาศิลาก็ดี คูหาไม้ก็ดี
คูหาดินก็ดี แม้ให้ใหญ่ก็ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า ติณกุฎีกาโย มีความว่า ปราสาทแม้มีพื้น 7 ชั้น แต่
หลังคามุงด้วยหญ้าและใบไม้ ท่านก็เรียกว่า กุฎีหญ้า. แต่ในอรรถกถา

ทั้งหลาย ท่านเรียกกุฎีที่เขาทำหลังคาให้ประสานกันดุจตาข่าย ด้วยไม้
ระแนงทั้งหลายย แล้วมุงด้วยพวกหญ้าหรือใบไม้นั้นแลว่า เรือนเล้าไก่
ไม่เป็นอาบัติในเพราะกุฎีที่เขามุงแล้วนั่น. จะกระทำเรือนหลังคามุงหญ้า
แม้ให้ใหญ่ ก็ควร เพราะว่าภาวะมีการโบกฉาบปูนภายในเป็นต้นเป็น
ลักษณะแห่งกุฎี. และภาวะมีโบกฉาบปูนภายในเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงหลังคาเท่านั้น.
ก็คำว่า หญ้าและใบไม้แห่งโรงจงกรมพังลง... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตเพื่อกำหนดทำการโบกฉาบปูนทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น
เป็นเครื่องสาธกในกุฎีหญ้านี้. เพราะฉะนั้น เรือนหลังใด มีปีกสองข้าง
หรือติดยอด กลม หรือ 4 เหลี่ยมจตุรัสเป็นของที่เขาสร้างโดยสังเขปว่า
นี้เป็นหลังคาของเรือนหลังนี้ เมื่อการฉาบเชื่อมติดต่อกันกับด้วยการฉาบ
ฝาผนังของเรือนหลังนั้นแล้ว เป็นอาบต. ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายมุงด้วย
หญ้าข้างบน เพื่อรักษาเครื่องฉาบของเรือนที่มีหลังคาโบกฉาบปูนไว้ทั้ง
ภายในและภายนอก ไม่ชื่อว่าเป็นกุฎีหญ้า ด้วยอาการเพียงเท่านี้.
ถามว่า ก็ในกุฎีหญ้านี้ ไม่เป็นอาบัติ เพราะสงฆ์ไม่ได้แสดงที่ให้
และทำล่วงประมาณเป็นปัจจัยเท่านั้น หรือว่า แม้เพราะมีผู้จองไว้และ
ไม่มีชานรอบเป็นปัจจัยเล่า ?
ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติ แม้ในทุก ๆ กรณี.
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกุฎีเช่นนี้ จึงตรัสไว้
ในคัมภีร์ปริวารว่า

ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งสงฆ์ไม่แสดงที่ให้ ล่วงประมาณ มีผู้
จองไว้ ไม่มีชานรอบด้วยการขอเอาเอง ไม่เป็นอาบัติ ปัญหานี้
ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิดกันแล้ว.

ส่วนคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีมีอาทิว่า ภิกษุผู้สร้าง
ต้องอาบัติทุกกฏ 3 ตัว ดังนี้ ตรัสเพราะการไม่สร้างตามที่สั่งไว้เป็นปัจจัย.
สองบทว่า อญฺญสฺสตฺถาย มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สร้าง.
กุฎี แม้ไม่ถูกลักษณะของกุฎี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คืออุปัชฌาย์ก็ตาม
อาจารย์ก็ตาม สงฆ์ก็ตาม
ข้อว่า วาสาคารํ ฐเปตฺวา สพฺพตฺถ มีความว่า ภิกษุให้สร้าง
อาคารอื่น เว้นอาคารเพื่อประโยชน์เป็นที่อยู่ของตนเสีย ด้วยตั้งใจว่า
จักเป็นโรงอุโบสถก็ตาม เป็นเรือนไฟก็ตาม เป็นหอฉันก็ตาม เป็นโรง
ไฟก็ตาม; ไม่เป็นอาบัติในเพราะอาคารทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น.
ถ้าแม้นภิกษุนั้น มีความรำพึงในใจว่า จักเป็นโรงอุโบสถด้วย เราจัก
อยู่ด้วย ดังนี้ ก็ดี ว่า จักเป็นเรือนไฟด้วย จักเป็นศาลาฉันด้วย... จัก
เป็นโรงไฟด้วย เราจักอยู่ด้วย ดังนี้ ก็ดี แม้เมื่อให้สร้างโรงอุโบสถ
เป็นต้น เป็นอาบัติแท้. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ
แล้วกล่าวว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สร้าง เพื่อประโยชน์แก่เรือนเป็นที่อยู่
ของตนเท่านั้น.
บทว่า อนาปตฺติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้า และแก่
พวกภิกษุชาวแคว้นอาฬวี ผู้เป็นต้นบัญญัติเป็นต้น.
ในสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฏ-
ฐาน 6 เป็นกิริยา. แท้จริง สิกขาบทนี้ ย่อมเกิดโดยการกระทำของภิกษุ

ผู้ให้สงฆ์แสดงที่ให้แล้ว สร้างให้ล่วงประมาณไป, เกิดทั้งโดยการทำและ
ไม่ทำของภิกษุผู้ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้แล้วสร้าง เป็นโนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
กุฏีการสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7
เรื่องพระฉันนะ


[521] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ วัด
โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น คฤหบดีอุปัฏฐากของท่าน
พระฉันนะได้กล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าโปรด
ตรวจดูสถานที่สร้างวิหาร กระผมจักให้สร้างวิหารถวายพระคุณเจ้า จึง
ท่านพระฉันนะ ให้แผ้วถางสถานที่สร้างวิหาร ให้โค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์
ต้นหนึ่ง ซึ่งชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พา
กันบูชา คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้โค่นต้นไม้อันเป็นเจดีย์ ซึ่งชาว
บ้าน ชาวนิคม ชาวนคร ชาวชนบท ชาวรัฏฐะ พากันบูชาเล่า พระ-
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเบียดเบียนอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งมีชีพ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพวกเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ผู้ที่มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ
สิกขา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงให้