เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพนฺนนิสฺสิตํ มีความว่า อันอาศัย
นาบุพพัณชาติ คือตั้งอยู่ใกล้เคียงนาเพราะปลูกธัญชาติ 7 ชนิด. แม้
ในบทว่า อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่ในบทว่า
อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายมีกุรุนที
เป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า ตะแลงแกง นั้น ได้แก่เรือนของเจ้าพนักงาน คือ
เรือนของคนมีเวร ที่เขาสร้างไว้ เพื่อใช้เป็นที่ฆ่าพวกโจร.
พื้นที่ลงอาชญาคนผิด มีการตัดมือและเท้าเป็นต้น เรียกว่า ที่
ทรมานนักโทษ. ป่าช้าใหญ่ ท่านเรียกว่า สุสาน. ทางที่คนจะต้องเดิน
ผ่านไป คือ ทางไปมา ท่านเรียกว่า ทางสัญจร. บทที่เหลือชัดเจน
ทั้งนั้น.

[ว่าด้วยลักษณะการสร้างกุฎี]


ข้อว่า น สกฺกา โหติ ยถายุตฺเตน สกเฏน มีความว่า เป็น
ที่อันเกวียนซึ่งเทียมด้วยโคถึก 2 ตัว ไม่อาจจะจอดล้อข้างหนึ่งไว้ในที่น้ำ
ตกจากชายคา ล้อข้างหนึ่งไว้ข้างนอกแล้วเวียนไปได้. แต่ในกุรุนทีกล่าว
ว่า เทียมด้วยโคถึก 4 ตัว ก็ดี.
หลายบทว่า สมนฺตา นิสฺเสณิยา อนุปริคนฺตุํ มีความว่า เป็น
ที่ซึ่งคนทั้งหลายผู้ยืนมุงเรือนอยู่ที่บันได หรือพะอง ไม่อาจเวียนไปโดย
รอบด้วยบันได หรือพะองได้, ในที่มีผู้จองไว้และไม่มีชานรอบ เห็นปานนี้
ดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่ควรให้สร้างกุฎี. แค่ควรให้สร้างในที่ไม่มีผู้จองไว้
และมีชานรอบ.

สองบท (ว่า อนารมฺภํ สปริกฺกมนํ) นั้น มาแล้วในพระบาลี
นั่นแล โดยปฏิปักขนัยแห่งคำกล่าวแล้ว. คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สํยาจิกา
นาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสซ้ำเพื่อประกาศเนื้อความแห่งคำว่า สํยาจิกา
เป็นต้น ที่ตรัสไวอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอมาเอง ในพื้น
ที่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ.
สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า ภิกษุดำริว่า เราจักให้
สร้างกุฎีที่สงฆ์ไม่แสดงที่ให้ หรือให้ล่วงประมาณ โดยนัยดังตรัสไว้ในบาลี
อย่างนี้ แล้วลับมีด หรือขวานเพื่อต้องการนำไม้มาจากป่า เป็นทุกกฏ.
เข้าสู่ป่า เป็นทุกกฏ. ตัดหญ้าสดในป่านั้น เป็นปาจิตตีย์พร้อมด้วยทุกกฏ.
ตัดหญ้าแห้ง เป็นทุกกฏ. แม้ในต้นไม้ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน .
ประโยคตั้งแต่ต้นอย่างนี้ คือ ภิกษุถางพื้นที่, ขุด โกยดิน วัด
เป็นต้นไป จนถึงปักผัง (ผูกแผนผัง) ชื่อว่า บุพประโยค. ในบุพ-
ประโยคนี้ ทุก ๆ แห่ง ในฐานะแห่งปาจิตตีย์ เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ
ในฐานะแห่งทุกกฏ เป็นเพียงทุกกฏ. จำเดิมแต่ปักผังนั้นไป ชื่อว่า
สหประโยค.
ในสหประโยคนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในกุฎีที่พึงสร้างด้วยเสาหลาย
ต้น ภิกษุให้ยกเสาต้นแรกในกุฎีนั้น เป็นทุกกฏ. ในกุฎีที่พึงก่อด้วยอิฐ
หลายก้อน ภิกษุก่ออิฐก้อนแรก เป็นทุกกฏ. ภิกษุประกอบเครื่อง
อุปกรณ์ใด ๆ เข้าด้วยอุบายยอย่านี้. เป็นทุกกฏ ทุกประโยคแห่งการ
ประกอบเครื่องอุปกรณ์นั้น . เมื่อถากไม้ เป็นทุกกฏทุก ๆ ครั้งที่ยกมือ,
เมื่อไปเพื่อต้องการถากไม้นั้นเป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า.

ก็เมื่อภิกษุคิดว่า เราจักฉาบกุฎีฝาผนังไม้ หรือฝาผนังศิลา หรือ
ฝาผนังอิฐ ชั้นที่สุดแม้บรรณศาลา พร้อมทั้งฝาและหลังคาที่สร้างแล้ว
อย่างนี้ แล้วฉาบด้วยปูนขาว หรือดินเหนียวเป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค,
เป็นทุกกฏ ตลอดเวลาที่ยังไม่เป็นถุลลัจจัย. แต่ทุกกฏนี้ ขยายเพิ่มขึ้น
ด้วยการฉาบมากครั้งเหมือนกัน. ไม่เป็นอาบัติ ในเพราะการระบายสีขาว
และสีแดงหรือในเพราะจิตรกรรม.
ข้อว่า เอกํ ปิณฺฑํ อนาคเต มีความว่า ในเมื่อการสร้างกุฎี
ยิ่งไม่ทันถึงก้อนปูนฉาบก้อนหนึ่ง ซึ่งเป็นก้อนหลังสุดแห่งเขาทั้งหมด
มีคำอธิบายว่า ในขณะที่ควรกล่าวได้ว่า กุฎีจักถึงความสำเร็จด้วย 2 ก้อน
ในบัดนี้ ในบรรดา 2 ก้อนนั้น เป็นถุลลัจจัยในการใส่ก้อนแรก.
ข้อว่า ตสฺมึ ปิณฺเฑ อาคเต มีความว่า ในเมื่อกุฎีกรรมยัง
ไม่ถึงก้อนหนึ่งอันใด เป็นถุลลัจจัย, เมื่อก้อนนั้นอันเป็นก้อนสุดท้าย
มาถึงแล้ว คือ อันภิกษุใส่แล้ว วางลงแล้ว ต้องสังฆาทิเสส เพราะการ
ฉาบเชื่อมกันแล้ว. และอันภิกษุผู้ฉาบอย่างนี้ เมื่อเชื่อมการฉาบด้านใน
ด้วยการฉาบด้านใน ทำให้ฝาและหลังคาเนื่องเป็นอันเดียวกัน หรือเมื่อ
เชื่อมการฉาบด้านนอกด้วยการฉาบด้านนอกแล้ว จึงเป็นสังฆาทิเสส
ก็ถ้าภิกษุยังไม่ตั้งทวารพันธ์ (กรอบประตู) หรือหน้าต่างเลย ฉาบ
ด้วยดินเหนียว, และเมื่อตั้งกรอบประตูและหน้าต่างนั้นแล้วจะขยายโอกาส
แห่งกรอบประตูและหน้าต่างนั้นใหม่ หรือไม่ขยายก็ตาม การฉาบยังไม่
เชื่อมกัน ยังรักษาอยู่ก่อน. แต่เมื่อฉาบใหม่พอเชื่อมกันก็เป็นสังฆา-
ทิเสส.

ถ้ากรอบประตูและหน้าต่างนั้น ที่ภิกษุติดตั้งไว้ ตั้งอยู่ติดต่อกัน
กับด้วยการฉาบที่ให้ไว้แต่แรกทีเดียว, เป็นสังฆาทิเสสตั้งแต่แรกเหมือน
กัน. เพื่อป้องกันปลวก จะฉาบฝาผนัง ไม่ให้ถึงหลังคาประมาณ 8 นิ้ว
ไม่เป็นอาบัติ. เพื่อป้องกันปลวกเหมือนกัน จะทำฝาผนังหินภายใต้ ไม่
ฉาบฝานั้น ฉาบในเบื้องบน, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ไม่เป็น
อาบัติเหมือนกัน.
ภิกษุทำหน้าต่างและปล่องไฟด้วยอิฐล้วน ในกุฎีฝาผนังอิฐ เป็น
อาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบทีเดียว. ภิกษุฉาบบรรณศาลา, เป็นอาบัติ
โดยเชื่อมด้วยการฉาบเหมือนกัน, เพื่อต้องการแสงสว่างในบรรณศาลานั้น
จึงฉาบเว้นที่ไว้ประมาณ 8 นิ้ว, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ยังไม่
เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ถ้าภิกษุทำในใจว่า เราได้หน้าต่างแล้ว จักตั้งตรงนี้ แล้วจึงทำ,
เมื่อติดตั้งหน้าต่างเสร็จแล้ว เป็นอาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบ. ถ้าภิกษุ
ทำฝาผนังด้วยดินเหนียว, เป็นอาบัติในเพราะการเชื่อมกันกับด้วยการฉาบ
หลังคา. รูปหนึ่งพักให้เหลือไว้ก้อนหนึ่ง. อีกรูปอื่นเห็นหนึ่งก้อนที่ไม่ได้
ฉาบนั้น ทำในใจว่า นี้เป็นทุกกฏ จึงฉาบเสียด้วยมุ่งวัตร ไม่เป็นอาบัติ
ทั้งสองรูป.

[แก้อรรถนี้บทภาชนีย์ว่าด้วยจตุกกะทำให้เป็นอาบัติต่าง ๆ]


36 จตุกกะมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกขุ กุฏี กโรติ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ. ใน 36 จตุกกะนั้น พึงทราบ
อาบัติที่คละกันด้วยอำนาจแห่งทุกกฏและสังฆาทิเสสเหล่านี้ คือทุกกฏ