เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพนฺนนิสฺสิตํ มีความว่า อันอาศัย
นาบุพพัณชาติ คือตั้งอยู่ใกล้เคียงนาเพราะปลูกธัญชาติ 7 ชนิด. แม้
ในบทว่า อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่ในบทว่า
อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายมีกุรุนที
เป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า ตะแลงแกง นั้น ได้แก่เรือนของเจ้าพนักงาน คือ
เรือนของคนมีเวร ที่เขาสร้างไว้ เพื่อใช้เป็นที่ฆ่าพวกโจร.
พื้นที่ลงอาชญาคนผิด มีการตัดมือและเท้าเป็นต้น เรียกว่า ที่
ทรมานนักโทษ. ป่าช้าใหญ่ ท่านเรียกว่า สุสาน. ทางที่คนจะต้องเดิน
ผ่านไป คือ ทางไปมา ท่านเรียกว่า ทางสัญจร. บทที่เหลือชัดเจน
ทั้งนั้น.

[ว่าด้วยลักษณะการสร้างกุฎี]


ข้อว่า น สกฺกา โหติ ยถายุตฺเตน สกเฏน มีความว่า เป็น
ที่อันเกวียนซึ่งเทียมด้วยโคถึก 2 ตัว ไม่อาจจะจอดล้อข้างหนึ่งไว้ในที่น้ำ
ตกจากชายคา ล้อข้างหนึ่งไว้ข้างนอกแล้วเวียนไปได้. แต่ในกุรุนทีกล่าว
ว่า เทียมด้วยโคถึก 4 ตัว ก็ดี.
หลายบทว่า สมนฺตา นิสฺเสณิยา อนุปริคนฺตุํ มีความว่า เป็น
ที่ซึ่งคนทั้งหลายผู้ยืนมุงเรือนอยู่ที่บันได หรือพะอง ไม่อาจเวียนไปโดย
รอบด้วยบันได หรือพะองได้, ในที่มีผู้จองไว้และไม่มีชานรอบ เห็นปานนี้
ดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่ควรให้สร้างกุฎี. แค่ควรให้สร้างในที่ไม่มีผู้จองไว้
และมีชานรอบ.