เมนู

[ว่าด้วยพื้นที่ควรสร้างกุฏีและไม่ควรสร้าง]


ข้อว่า ภิกฺขู อภิเนตพฺพา วตฺถุเทสนาย มีความว่า อันภิกษุ
ผู้จะสร้าง พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อประโยชน์แก่การแสดงที่ให้ในที่
ซึ่งตนต้องการจะให้สร้างกุฏี.
ก็คำว่า เตน กุฏีการเกน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เพื่อทรงแสดงวิธีที่จะพึงนำภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อแสดงที่สร้าง.
บรรดาบทเหล่านั้นด้วยคำว่า กุฏีวตฺถุํ โสเธตฺวา พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้สร้างกุฎี อย่าพึงนำภิกษุทั้งหลายไปสู่ป่ามีพื้น
ที่ไม่เสมอ พึงให้ชำระที่สร้างกุฎีก่อน ปราบพื้นที่ให้เรียบเสมอเช่นกับ
มณฑลสีมาแล้ว ภายหลังเข้าไปหาสงฆ์ขอแล้วจึงพาไป.
สองบทว่า เอวมสฺส วจนีโย มีความว่า สงฆ์ควรเป็นผู้อันภิกษุ
นั้นพึงบอกอย่างนี้,. แต่ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงภิกษุ
หลายรูป ตรัสพหุวจนะว่า ทุติยมฺปิ ยาจิตพฺพา.
คำว่า สเจ สพฺโพ สงฺโฆ น อุสฺสหติ มีความว่า ถ้าสงฆ์
ทั้งปวงไม่ปรารถนา คือ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวายในกิจ มีการ
สาธยายและมนสิการเป็นต้น.
สองบทว่า สารมฺภํ อนารมฺภํ ได้แก่ มีเหตุขัดข้อง ไม่มีเหตุ
ขัดข้อง.
สองบทว่า สปริกฺกมนํ อปริกฺกมนํ ได้แก่ มีชานรอบ ไม่มี
ชานรอบ.
บทว่า ปตฺตกลฺลํ มีความว่า เวลาแห่งการตรวจดูนี้ถึงแล้ว; เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีกาลถึงแล้ว. ปัตตกาลนั้นแล ข้อว่า ปัตตกัลลัง.

ก็แลอปโลกนกรรมนี้ ถึงจะอปโลกน์ทำ โดยนัยแห่งการสวดประกาศ
สมมติกรรม เพื่อต้องการตรวจดูพื้นที่ ก็ควร. แต่ต่อไปข้างหน้ากรรม
ที่ทำในการแสดงพื้นที่ ควรทำด้วยญัตติ และอนุสาวนาตามที่กล่าวแล้ว
เท่านั้น. จะอปโลกน์ทำไม่ควร.
บทว่า กิปิลิกานํ มีความว่า แห่งมดทั้งหลาย มีชนิดเป็นมดแดง
มดดำและมดเหลืองเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง. ปาฐะว่า กปีลกานํ ก็มี.
บทว่า อาสโย แปลว่า สถานที่อยู่ประจำ. และพึงทราบที่อาศัย
คือ ที่อยู่ประจำแม้ของพวกสัตว์เล็ก มีตัวปลวกเป็นต้น เหมือนของ
พวกมดฉะนั้น, แต่พวกสัตว์เล็ก มีมดแดงเป็นต้นนั้น มาเพื่อต้องการ
หาเหยื่อในที่ใดแล้วไป, ประเทศที่สัญจรเช่นนั้น แม้ของสัตว์ทุก
จำพวก ท่านไม่ห้าม. เพราะฉะนั้น การถางต้นไม้เป็นต้นในโอกาสนั้น
ออกปราบให้เตียนแล้วสร้าง ควรอยู่. ที่ 6 สถานเหล่านี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าห้ามไว้ก่อน เพราะความเอ็นดูสัตว์.
บทว่า หตฺถีนํ วา มีความว่า สถานที่อยู่ประจำก็ดี สถานที่
หากินประจำก็ดี ของช้างโขลง ย่อมไม่สมควร. ที่อาศัยของสัตว์ร้าย
มีสีหะเป็นต้นก็ดี ทางเดินประจำของพวกสัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น ที่หลีก
ไปหาเหยื่อก็ดี ไม่สมควร. แต่ท่านมิได้หมายเอาพื้นที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง
สัตว์ร้ายเหล่านั่น.
สองบทว่า เยสํ เกสญฺจิ มีความว่า แห่งสัตว์ดิรัจฉานที่ดุร้าย
แม้จำพวกอื่น. ที่ 7 สถานเหล่านี้ เป็นที่มีภัยเฉพาะหน้า ทรงห้ามไว้
เพื่อประโยชน์แก่ความปลอดจากอันตรายแห่งภิกษุทั้งหลาย. สถานที่เหลือ
เป็นสถานที่มีเหตุขัดข้องด้วยเหตุขัดข้องต่าง ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพนฺนนิสฺสิตํ มีความว่า อันอาศัย
นาบุพพัณชาติ คือตั้งอยู่ใกล้เคียงนาเพราะปลูกธัญชาติ 7 ชนิด. แม้
ในบทว่า อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่ในบทว่า
อปรนฺนนิสฺสิตํ เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายมีกุรุนที
เป็นต้นว่า ที่ชื่อว่า ตะแลงแกง นั้น ได้แก่เรือนของเจ้าพนักงาน คือ
เรือนของคนมีเวร ที่เขาสร้างไว้ เพื่อใช้เป็นที่ฆ่าพวกโจร.
พื้นที่ลงอาชญาคนผิด มีการตัดมือและเท้าเป็นต้น เรียกว่า ที่
ทรมานนักโทษ. ป่าช้าใหญ่ ท่านเรียกว่า สุสาน. ทางที่คนจะต้องเดิน
ผ่านไป คือ ทางไปมา ท่านเรียกว่า ทางสัญจร. บทที่เหลือชัดเจน
ทั้งนั้น.

[ว่าด้วยลักษณะการสร้างกุฎี]


ข้อว่า น สกฺกา โหติ ยถายุตฺเตน สกเฏน มีความว่า เป็น
ที่อันเกวียนซึ่งเทียมด้วยโคถึก 2 ตัว ไม่อาจจะจอดล้อข้างหนึ่งไว้ในที่น้ำ
ตกจากชายคา ล้อข้างหนึ่งไว้ข้างนอกแล้วเวียนไปได้. แต่ในกุรุนทีกล่าว
ว่า เทียมด้วยโคถึก 4 ตัว ก็ดี.
หลายบทว่า สมนฺตา นิสฺเสณิยา อนุปริคนฺตุํ มีความว่า เป็น
ที่ซึ่งคนทั้งหลายผู้ยืนมุงเรือนอยู่ที่บันได หรือพะอง ไม่อาจเวียนไปโดย
รอบด้วยบันได หรือพะองได้, ในที่มีผู้จองไว้และไม่มีชานรอบ เห็นปานนี้
ดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่ควรให้สร้างกุฎี. แค่ควรให้สร้างในที่ไม่มีผู้จองไว้
และมีชานรอบ.