เมนู

[ว่าด้วยพื้นที่ควรสร้างกุฏีและไม่ควรสร้าง]


ข้อว่า ภิกฺขู อภิเนตพฺพา วตฺถุเทสนาย มีความว่า อันภิกษุ
ผู้จะสร้าง พึงนำภิกษุทั้งหลายไป เพื่อประโยชน์แก่การแสดงที่ให้ในที่
ซึ่งตนต้องการจะให้สร้างกุฏี.
ก็คำว่า เตน กุฏีการเกน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เพื่อทรงแสดงวิธีที่จะพึงนำภิกษุเหล่านั้นไปเพื่อแสดงที่สร้าง.
บรรดาบทเหล่านั้นด้วยคำว่า กุฏีวตฺถุํ โสเธตฺวา พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้สร้างกุฎี อย่าพึงนำภิกษุทั้งหลายไปสู่ป่ามีพื้น
ที่ไม่เสมอ พึงให้ชำระที่สร้างกุฎีก่อน ปราบพื้นที่ให้เรียบเสมอเช่นกับ
มณฑลสีมาแล้ว ภายหลังเข้าไปหาสงฆ์ขอแล้วจึงพาไป.
สองบทว่า เอวมสฺส วจนีโย มีความว่า สงฆ์ควรเป็นผู้อันภิกษุ
นั้นพึงบอกอย่างนี้,. แต่ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงภิกษุ
หลายรูป ตรัสพหุวจนะว่า ทุติยมฺปิ ยาจิตพฺพา.
คำว่า สเจ สพฺโพ สงฺโฆ น อุสฺสหติ มีความว่า ถ้าสงฆ์
ทั้งปวงไม่ปรารถนา คือ ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวายในกิจ มีการ
สาธยายและมนสิการเป็นต้น.
สองบทว่า สารมฺภํ อนารมฺภํ ได้แก่ มีเหตุขัดข้อง ไม่มีเหตุ
ขัดข้อง.
สองบทว่า สปริกฺกมนํ อปริกฺกมนํ ได้แก่ มีชานรอบ ไม่มี
ชานรอบ.
บทว่า ปตฺตกลฺลํ มีความว่า เวลาแห่งการตรวจดูนี้ถึงแล้ว; เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีกาลถึงแล้ว. ปัตตกาลนั้นแล ข้อว่า ปัตตกัลลัง.