เมนู

บทว่า อติยาจโกสิ ได้แก่ เป็นผู้ขอจัดเหลือเกิน. มีคำอธิบายว่า
ท่านเป็นคนขอซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
บทว่า สุสู มีความว่า คนหนุ่ม คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง
ได้แก่บุรุษที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม.
ศิลาดำ ท่านเรียกว่า หินลับ. ดาบที่เขาลับแล้วบนหินลับนั้น
ท่านเรียกว่า สักขรโธตะ. ดามที่ลับดีแล้วบนหินลับ มีอยู่ในมือของ
บุรุษนั้น; เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น จึงชื่อว่า ผู้ถือดาบซึ่งลับดีแล้ว
บนหินลัน, อธิบายว่า มีมือถือดาบซึ่งขัดและลับดีแล้วบนหิน. ท่าน
วอนขอแก้วกะเรา ทำให้เราหวาดเสียว เหมือนบุรุษมีดาบในมือนั้น
ทำให้คนอื่นหวาดเสียวฉะนั้น.
ข้อว่า เสลํ มํ ยาจมาโน มีความว่า วอนขออยู่ซึ่งแก้วมณี.
ข้อว่า น ตํ ยาเจ มีความว่า ไม่ควรขอของนั้น.
ถามว่า ของสิ่งไหน ?
ตอบว่า ของที่ตนรู้ว่า เป็นที่รักของเขา.
ข้อว่า ยสฺส ปิยํ ชิคึเส มีความว่า คนพึงรู้ว่า สิ่งใดเป็นที่รัก
ของสัตว์นั้น (ไม่ควรขอของนั้น ).
ข้อว่า กิมงฺคํ ปน นนุสฺสภูตานํ มีความว่า ในคำว่า
(การอ้อนวอนขอนั้น) ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าสัตว์ที่เป็นมนุษย์ นี้ จะพึง
กล่าวทำไมเล่า ?

[แก้อรรถศัพท์ในเรื่องนกฝูงใหญ่เป็นต้น]


หลายบทว่า สกุณสงฺฆสฺส สทฺเทน อุพฺพาฬฺโห มีความว่า
ได้ยินว่า ฝูงนกนั้น ทำเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ติดต่อกันไปจนตลอดปฐมยาม

และปัจฉิมยาม. ภิกษุนั้นเป็นผู้รำคาญด้วยเสียงนกนั้น จึงได้ไปยังสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เข้ามาหาเราถึงที่อยู่.
ในคำว่า กุโต จ ตฺวํ ภิกฺขุ อาคจฺฉสิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว (ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ) มิใช่พึงมา, แต่
การที่จะกล่าวอย่างนี้ในอดีตกาลใกล้ปัจจุบันกาลยอมมีได้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! ก็เธอมาจากไหนเล่า ?
อธิบายว่า เธอเป็นผู้มาแล้วแต่ที่ไหน ?
แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ก็มีนัยอย่างนั้น
เหมือนกัน.
บทว่า อุพฺพาฬฺโห มีความว่า เป็นผู้ถูกเสียงรบกวน คือ ก่อให้
เกิดความรำคาญ.
ในคำว่า โส สกุณสงฺโฆ ภิกขุ ปตฺตํ ยาจติ นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้:-
ฝูงนกย่อมไม่รู้คำพูดของภิกษุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำให้
มันรู้โดยอานุภาพของพระองค์.
คำว่า อปาหํ เต น ชานามิ มีความว่า เออ เราก็ไม่รู้จักชน
เหล่านั้นว่า ชนเหล่านี้ เป็นคนพวกไหน หรือว่า ชนพวกนี้เป็นคน
ของใคร.
สองบทว่า สงฺคมฺม ยาจนฺติ มีความว่า ชนเหล่านั้นพากันมา คือ
รวมกันเป็นพวก ๆ อ้อนวอนขออยู่.
คำว่า ยาจโก อปฺปิโย โหติ มีความว่า บุคคลผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก
(ของผู้ถูกขอ).

คำว่า ยาจํ อททมปฺปิโย มีความว่า สิ่งที่คนอื่นขอ ท่านเรียกว่า
ยาจัง แม้ผู้ไม่ให้ซึ่งประโยชน์ที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของคนผู้ขอ).
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยาจํ ได้แก่ ของบุคคลผู้ขออยู่.
คำว่า อททมปฺปิโย มีความว่า ผู้ไม่ให้ (แก่ผู้ขอ) ย่อมไม่เป็น
ที่รัก (ของผู้ขอ).
คำว่า มา เม วิทฺเทสนา อหุ มีความว่า ความเป็นผู้ไม่เป็น
ที่รัก อย่าได้มีแล้วแก่ข้าพเจ้า, อธิบายว่า ข้าพเจ้าอย่าได้เป็นที่เกลียดชัง
คือ ไม่เป็นที่รักของท่าน หรือว่าท่านอย่าได้เป็นที่เกลียดชัง คือไม่เป็น
ที่รักของข้าพเจ้า.
บทว่า ทุสฺสํหรานิ มีความว่า รวบรวมมาได้โดยยาก ด้วยอุบาย
ทั้งหลาย มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น. การอ้อนวอนขอที่ภิกษุให้
เป็นไปเอง ท่านเรียกว่า สังยาจิกา ในคำว่า สํยาจิกาย ปน ภิกฺขุนา
นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า สํยาจิกา จึงมีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วย
การวิงวอนขอของตน. อธิบายว่า ด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายที่ตนขอมาเอง.
ก็เพราะว่า กุฎีนั้นเป็นอันภิกษุทำอยู่ด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ตนขอมาเอง คือ
ขอเอามากระทำเอง; ฉะนั้น เพื่อแสดงบรรยายแห่งอรรถนั้น ท่านจึงกล่าว
บทภาชนะแห่งบทว่า สํยาจิกาย นั้นอย่างนี้ว่า ขอเองซึ่งคนบ้าง เป็นต้น .

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ ว่าด้วยการโบกฉาบกุฎี]


บทว่า อุลฺลิตฺตา ได้แก่ โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายใน.
บทว่า อวลิตฺตา ได้แก่ โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอก.