เมนู

หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก ! พวก
ท่านอยู่ที่ไหน ? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ ! พูดต่อไปว่า
ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก ! คำพูดมีอาทิอย่างนี้
ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว
ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ ?
ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน
ในคิลานปัจจัย แม้วิญญติก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.
คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺญตฺติยา
มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก
ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ
ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ ?
บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก
ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.
บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด
ทางหนึ่ง.
สองบทว่า อญฺเญนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป
เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.

[แก้อรรถศัพพ์ในเรี่องมณีกัณฐนาคราช]


สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-

กถาให้สมควรแก่เรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะทรงทำโทษแห่งวิญญัติให้
ปรากฏชัดแม้อีก จึงทรงแสดง 3 เรื่องนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภูตปพฺพํ
ภิกฺขเว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณิกณฺโฐ มีความว่า ได้ยินว่า
พญานาคนั้นประดับแก้วมณีมีค่ามาก ซึ่งอำนวยให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
ไว้ที่คอ เที่ยวไป ; เพราะฉะนั้น จึงปรากฎนามว่า มณิกัณฐนาคราช.
คำว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺตํ ผณํ อฏฺฐาสิ มีความว่า ได้ยินว่า
บรรดาฤษีทั้ง 2 นั้น ฤษีผู้น้องนั้น เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา; เพราะ
เหตุนั้น พญานาคนั้นจึงขึ้นมาจากแม่น้ำ นิรมิตเพศเป็นเทวดานั่งในสำนัก
แห่งฤษีนั้น กล่าวสันโมทนียกถา ละเพศเทวดานั้นแล้ว กลับกลาย
เป็นเพศเดิมของตนนั้นแล วงล้อมฤษีนั้น เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึง
แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนศีรษะแห่งฤษีนั้น ดุจกั้นร่มไว้ยับยั้งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง
แล้วจึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ได้ยืน
แผ่พังพานใหญ่ไว้ ณ เบื้องบนศีรษะ
ดังนี้.
ข้อว่า มณิมสฺส กณฺเฐ ปิลนฺธนํ มีความว่า ซึ่งแก้วมณีอัน
พญานาคนั้นประดับไว้ คือ สวมไว้ที่คอ.
สองบทว่า เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ มีความว่า พญานาคนั้นมาแล้ว
โดยเพศเทวดานั้น ชื่นชมอยู่กับดาบส ได้ยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่ง.
บทว่า มนฺนปานํ ได้แก่ ข้าวและน้ำของเรา.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ มากมาย.
บทว่า อุฬารํ ได้แก่ ประณีต.

บทว่า อติยาจโกสิ ได้แก่ เป็นผู้ขอจัดเหลือเกิน. มีคำอธิบายว่า
ท่านเป็นคนขอซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
บทว่า สุสู มีความว่า คนหนุ่ม คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง
ได้แก่บุรุษที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม.
ศิลาดำ ท่านเรียกว่า หินลับ. ดาบที่เขาลับแล้วบนหินลับนั้น
ท่านเรียกว่า สักขรโธตะ. ดามที่ลับดีแล้วบนหินลับ มีอยู่ในมือของ
บุรุษนั้น; เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น จึงชื่อว่า ผู้ถือดาบซึ่งลับดีแล้ว
บนหินลัน, อธิบายว่า มีมือถือดาบซึ่งขัดและลับดีแล้วบนหิน. ท่าน
วอนขอแก้วกะเรา ทำให้เราหวาดเสียว เหมือนบุรุษมีดาบในมือนั้น
ทำให้คนอื่นหวาดเสียวฉะนั้น.
ข้อว่า เสลํ มํ ยาจมาโน มีความว่า วอนขออยู่ซึ่งแก้วมณี.
ข้อว่า น ตํ ยาเจ มีความว่า ไม่ควรขอของนั้น.
ถามว่า ของสิ่งไหน ?
ตอบว่า ของที่ตนรู้ว่า เป็นที่รักของเขา.
ข้อว่า ยสฺส ปิยํ ชิคึเส มีความว่า คนพึงรู้ว่า สิ่งใดเป็นที่รัก
ของสัตว์นั้น (ไม่ควรขอของนั้น ).
ข้อว่า กิมงฺคํ ปน นนุสฺสภูตานํ มีความว่า ในคำว่า
(การอ้อนวอนขอนั้น) ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าสัตว์ที่เป็นมนุษย์ นี้ จะพึง
กล่าวทำไมเล่า ?

[แก้อรรถศัพท์ในเรื่องนกฝูงใหญ่เป็นต้น]


หลายบทว่า สกุณสงฺฆสฺส สทฺเทน อุพฺพาฬฺโห มีความว่า
ได้ยินว่า ฝูงนกนั้น ทำเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ติดต่อกันไปจนตลอดปฐมยาม