เมนู

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6


กุฏิการสิกขาบทวรรณนา


กุฎิการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป. ในกุฎิการสิกขาบทนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุชาวแคว้นอาฬวี]
บทว่า อาฬวกา มีความว่า พวกเด็กหนุ่มเกิดในแคว้นอาฬวี
ชื่อว่า อาฬวกา. เด็กหนุ่มเหล่านั้น แม้ในเวลาบวชแล้ว ก็ปรากฏ
ชื่อว่า อาฬวกา เหมือนกัน. ท่านกล่าวคำว่า อาฬวกา ภิกขุ หมาย
เอาภิกษุชาวแคว้นอาฬวีเหล่านั้น.
บทว่า สญฺญาจิกาโย ได้แก่ มีเครื่องอุปกรณ์อันตนขอเขาเอา
มาเอง.
บทว่า การาเปนฺติ ได้แก่ กระทำเองบ้าง ใช้ให้คนอื่นทำบ้าง.
ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น ทอดทิ้งธุระทั้งสอง คือ วิปัสสนาธุระและ
คันถธุระ ยกนวกรรมเท่านั้นขึ้นเป็นธุระสำคัญ.
บทว่า อสฺสามิกาโย ได้แก่ ไม่มีผู้เป็นใหญ่, อธิบายว่า เว้น
จากผู้สร้างถวาย.
บทว่า อตฺตุทฺเทสิกาโย ได้แก่ เฉพาะตนเอง, อธิบายว่า อัน
ภิกษุปรารภเพื่อประโยชน์แก่ตน.
บทว่า อปฺปมาณิกาโย ได้แก่ ไม่มีประมาณกำหนด*ไว้ว่าอย่างนี้ว่า
* ฎีการวิมติและสารัตถทีปนี้ เป็น อปฺปริจฺฉินฺนปฺปมาณาโย แปลว่า ไม่ได้กำหนด
ประมาณไว้, หรือไม่มีกำหนดและไม่มีประมาณ.

จักถึงความสำเร็จด้วยเครื่องอุปกรณ์เพียงเท่านี้ หรือขยายกว้างยาวไม่มี
ประมาณ อธิบายว่า ใหญ่ไม่มีประมาณ.
ภิกษุเหล่านี้ มีการขอร้องเท่านั้นมาก การงานอื่น มีน้อย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมากไปด้วยการขอร้อง. พวกภิกษุ
เหล่านั้นเป็นผู้มากด้วยการขอ ก็พึงทราบอย่างนี้. แต่โดยใจความใน
สองบทว่า ยาจนพหุลา วิญฺญตฺติพหุลา นี้ ไม่มีเหตุแตกต่างกัน. คำนั้น
เป็นชื่อรองพวกภิกษุผู้วอนขอหลายครั้งว่า ท่านจงให้คน. จงให้หัตถ-
กรรมที่คนต้องทำ (แรงงาน). บรรดาคนและหัตถกรรมนั้น จะขอคน
โดยความขาดมูลไม่ควร. จะขอว่า พวกท่านจงให้คนเพื่อประโยชน์แก่
การร่วมมือ เพื่อประโยชน์แก่การทำงาน ควรอยู่. หัตถกรรมที่คนพึง
กระทำท่านเรียกว่า แรงงาน, จะขอแรงงาน ควรอยู่.

[วิญญัติกถาว่าด้วยการออกปากขอ]


ขึ้นชื่อว่าหัตถกรรมมิใช่เป็นวัตถุบางอย่าง, เพราะเหตุนั้น หัตถ-
กรรมนั้น เว้นการงานส่วนตัวของพวกพรานเนื้อและชาวประมงเป็นต้น
เสีย ที่เหลือเป็นกัปปิยะทั้งหมด. เมื่อเขาถามว่า ท่านมาทำไมขอรับ ?
มีการงานที่ใครจะต้องทำหรือ ? หรือว่า ไม่ถาม จะขอ ก็ควร. ไม่มี
โทษ เพราะการขอเป็นปัจจัย. เพราะเหตุนั้น พวกพรานเนื้อเป็นต้น ภิกษุ
ไม่ควรขอกิจการส่วนตัวเขา. ทั้งไม่ได้กำหนดให้แน่นอนลงไป ไม่ควร
ขอว่า พวกท่านจงให้หัตถกรรม. เพราะพวกพรานเนื้อเป็นต้นนั้น ถูก
ภิกษุขออย่างนั้นแล้ว จะต้องรับคำว่า ได้ ขอรับ ! แล้วนิมนต์ภิกษุให้
กลับไป พึงฆ่าเนื้อมาถวายได้ แต่ควรขอกำหนดลงไปว่า ในวิหาร
มีกิจการบางอย่างจำต้องทำ, พวกท่านจงให้หัตถกรรมในวิหารนั้น. การ