เมนู

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


10. 6. อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ
ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการ
สร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว 12 คืบ โดยกว้างในร่วมใน 7 คืบ ด้วย
คืบสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดง
ที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอา
เอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลาย
ไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[501] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรง
งานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี
เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้องดี หญ้าสามัญก็ดี
ดินก็ดี.
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่ง
โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภาย
นอกก็ตาม.

บทว่า สร้าง คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม.
บทว่า อันหาเจ้าของมิได้ คือ ไม่มีใคร ๆ อื่น ที่เป็นสตรีก็ตาม
บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เป็นเจ้าของ.
บทว่า เฉพาะตนเอง คือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว.
คำว่า พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้
โดยยาว 12 คืบ ด้วยคืบสุคต นั้น คือ วัดนอกฝาผนัง.
คำว่า โดยสร้างในร่วมใน 7 คืบ นั้น คือ วัดร่วมในฝาผนัง.
[502] คำว่า พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ นั้น มีพระ-
พุทธาธิบาย ไว้ว่าดังนี้ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางฟื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วย
อาการขอเอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะ
ไปตรวจดูฟื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไปตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่
อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาดสามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถาน
มีผู้จองไว้หรือไม่ เป็นสถานมีชานเดินได้รอบหรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติ
ภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์

วิธีสมมติ


ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้