เมนู

ชื่อนี้ ดังนี้ คำใดคำหนึ่ง ความผิดสังเกต ย่อมไม่มี ฉันนั้นแล. คง
เป็นอาบัติแท้ เพราะครบองค์ 3.
แต่เมื่อภิกษุอันชายวานว่า โปรดบอกหญิงที่มารดาปกครอง แล้วไป
บอกหญิงเหล่าอื่นมีหญิงที่บิดาปกครองเป็นต้น คนใดคนหนึ่ง ผิดสังเกต.
แม้ในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. อันที่จริง ความ
แปลกกันในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้นนี้ ก็เพียงความต่างแห่ง
เปยยาล ด้วยอำนาจแห่งจักร มีเอกมูลจักร และทุมูลกจักรเป็นต้น
และด้วยอำนาจแห่งคนเดิม มีอาทิอย่างนี้ คือมารดาของชายวานภิกษุ,
มารดาของหญิงอันมารดาปกครองวานภิกษุ, หญิงที่มารดาปกครองวาน
ภิกษุเท่านั้น. แต่ความแปลกกันนั้น ผู้ศึกษาอาจทราบได้ ตามแนวแห่ง
พระบาลีนั่นเอง เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมิได้ทำความเอื้อเฟื้อเพื่อแสดงวิภาคแห่งความแปลกกันนั้น.
ก็ใน 2จตุกกะ มีคำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ เป็นอาทิ ในจตุกกะ
ที่ 1 เป็นสังฆาทิเสส เพราะครบองค์ 3 ด้วยบทต้น เป็นถุลลัจจัย
เพราะครบองค์ 2 ด้วยบทท่ามกลาง, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ 1
ด้วยบทเดียวสุดท้าย. ในจตุกกะที่ 2 เป็นถุลลัจจัย เพราะครบองค์ 2
ด้วยบทต้น, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ ด้วยสองบทท่ามกลาง,
ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่มีองค์ ด้วยบทเดียวสุดท้าย.

[อธิบายเรื่องภิกษุรับคำของหญิงผู้วานเป็นต้น]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รับ ได้แก่ รับคำสั่งของผู้วาน.
บทว่า บอก ได้แก่ ไปสู่ที่ซึ่งเขาวานไปแล้ว บอกคำสั่งนั้น.