เมนู

บทว่า สชฺชิโต ความว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง
หรือเป็นผู้ตกแต่งประดับประดาแล้ว.
บทว่า ชุตฺตา ได้แก่ พวกนักเลงหญิง.
บทว่า ปริจาเรนฺตา ความว่า ยังอินทรีย์ทั้งหลายให้เที่ยวรื่นเริง
ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่เพลิดเพลินใจโดยรอบด้าน อย่างโน้นอย่างนี้,
มีอธิบายว่า เล่นอยู่ คือยินดีอยู่.
บทว่ า อพฺภุตมกํสุ ความว่า พวกนักเลงกระทำการพนันกันว่า
ถ้าพระอุทายีจักทำ ท่านชนะพนันเท่านี้ ถ้าจักไม่ทำ เราจักแพ้พนัน
เท่านี้ ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็การกระทำพนันกัน ไม่ควรแก่
ภิกษุทั้งหลาย, ถ้าภิกษุใดกระทำ, ผู้แพ้จะต้องเสียให้แก่ภิกษุนั้น.
เวลาไม่นาน เรียกว่า ตังขณะ (ขณะนั้น) ในคำว่า กถํ หิ นาม
อยฺโย อุทายิ ตงฺขณิกํ
นี้. บทว่า ตงฺขณิกํ ได้แก่ การชักสื่อ มีการ
ทำหน้าที่ชั่วกาลไม่นาน.

[อธิบายการเที่ยวชักสื่อ]


คำว่า สญฺจริตฺตํ สนาปชฺเชยฺย ความว่า พึงถึงภาวะเที่ยวชักสื่อ
ก็เพราะภิกษุผู้ถึงภาวะชักสื่อนั้น ถูกใคร ๆ ส่งไปแล้ว จำจะต้องไป
ในที่บางแห่ง, หญิงและชาย ที่ท่านประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ โดยพระบาลี
เป็นต้นว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ ข้างหน้านั่นแหละ. ฉะนั้น เพื่อจะ
ทรงแสดงอรรถนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งคําว่า อิตฺถิ-
ยา วา ปุริสมตึ
นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุถูกหญิงวานไปในสำนักผู้ชาย
หรือว่าถูกผู้ชายวานไปในสำนักแห่งหญิง ดังนี้ .

ในคำว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ ปุริสสฺส วา อิตฺถึมตึ นี้
บัณฑิตพึงทราบบาลีที่เหลือว่า อาโรเจยฺย แปลว่า พึงบอก. ด้วยเหตุ
นั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า ปุริสสฺส วา อิตฺถีมตึ นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ย่อมบอกความประสงค์ของชายแก่หญิง
บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชาย ดังนี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประโยชน์ คือ ความประสงค์ ความต้อง
การ อัธยาศัย ความพอใจ ความชอบใจ ของชายและหญิงเหล่านั้น
ที่ภิกษุบอก จึงตรัสว่า ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม.
บรรดาบททั้งสองนั้น บทว่า ชายตฺตเน คือ ในความเป็นเมีย.
บทว่า ชารตฺตเน คือ ในควานเป็นชู้ อธิบายว่า เมื่อภิกษุ
บอกความประสงค์ของชายแก่หญิง ชื่อว่าย่อมบอกในความเป็นเมีย, เมื่อ
บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชาย ชื่อว่าย่อมบอกในความเป็นชู้. อีก
นัยหนึ่ง เมื่อบอกความประสงค์ของชายนั่นแหละแก่หญิง ชื่อว่าบอก
ในความเป็นเมีย คือ ในความเป็นภรรยาถูกต้องตามกฎหมายบ้าง ใน
ความเป็นชู้ คือ ในความเป็นมิจฉาจารบ้าง. ก็เพราะว่า ภิกษุเมื่อจะบอก
ความเป็นเมียและเป็นชู้นี้ จำจะต้องกล่าวคำมีอาทิว่า นัยว่า เธอจักต้อง
เป็นภรรยาของชายนั้น, ฉะนั้น เพื่อจะแสดงอาการแห่งความเป็นถ้อยคำ
จำเป็นต้องกล่าวนั้น จึงตรัสบอกบทภาชนะแห่งบททั้งสองนั้น ว่า คำว่า
ในความเป็นเมีย คือ เธอจักเป็นภรรยา, คำว่า ในความเป็นชู้ คือ เธอ
จักเป็นชู้ ดังนี้.
โดยอุบายนี้นั่นแล แม้ในการบอกความประสงค์ของหญิงแก่ชาย

บัณฑิตพึงทราบอาการที่ภิกษุจำเป็นต้องกล่าวว่า เธอจักเป็นผัว, เธอจัก
เป็นสามี, ชักเป็นชู้.
สองบทว่า อนฺตมโส ตํขณิกายปิ มีความว่า หญิงที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตังขณิกา เพราะผู้อันชายพึงอยู่ร่วมเฉพาะ
ในขณะนั้น คือ เพียงชั่วครู่, ความว่า เป็นเมียเพียงชั่วคราว โดย
กำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด. เมื่อภิกษุบอกความประสงค์ของชายอย่างนี้
ว่า เธอจักเป็นเมียชั่วคราว แก่หญิงแม้นั้น ก็เป็นสังฆาทิเสส. โดยอุบาย
นี้นั่นแล แม้ภิกษุผู้บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายอย่างนี้ว่า เธอจัก
เป็นผัวชั่วคราว บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องสังฆาทิเสส.

[อธิบายหญิง 10 จำพวก]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงหญิงจำพวกที่ทรง
ประสงค์ในคำว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ นี้ โดยประเภทแล้ว ทรงแสดง
ชนิดแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ชักสื่อ ในหญิงเหล่านั้น จึงตรัส
คำว่า ทส อิตฺถิโย เเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตุรกฺขิตา ได้แก่ หญิงที่มารดา
รักษา คือ มารดารักษาโดยประการที่จะสำเร็จการอยู่ร่วมกับผู้ชายไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวแม้บทภาชนะแห่งบทว่า มาตุรกฺขิตา
นั้นว่า มารดาย่อมรักษาคุ้มครอง ยังตนให้ทำความเป็นใหญ่ ยังอำนาจ
ให้เป็นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขิตา ความว่า ไม่ให้ไปในที่
ไหน ๆ. บทว่า โคเปติ ความว่า ย่อมกักไว้ในที่คุ้มครอง โดยประการ
ที่ชายเหล่าอื่นจะไม่เห็น.