เมนู

เรื่องชักโยงสามีภรรยาผู้ทะเลาะให้คืนดี


[492] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีคนหนึ่งทะเลาะกับสามี แล้วได้
ไปยังเรือนมารดา ภิกษุกุลุปกะได้ชักโยงให้คืนดีกันแล้ว เธอได้มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เขาหย่ากันแล้วหรือ
ภิ. เขายังไม่ได้หย่ากัน พระพุทธเจ้าข้า
ภ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเขายังไม่ทันหย่ากัน.

เรื่องการชักสื่อในบัณเฑาะก์


[493] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถึงการชักสื่อในบัณเฑาะก์
เเล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5 บท

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5


สัญจริตตสิกขาบทวรรณนา


สัญจริตตสิกขา บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในสัญจริตตสิกขาบทนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุทายี]


บทว่า ปณฺฑิตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาด คือผู้มี
ปัญญาเป็นเครื่องดำเนินไป.

บทว่า พฺยตฺตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้สามารถ คือ
เป็นผู้รู้อุบาย ผู้กล้าหาญ.
บทว่า เมธาวินี ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาทำให้คนอื่น
เห็นแล้วเห็นเล่า.
บทว่า ทกฺขา คือ เป็นผู้เฉียบแหลม.
บทว่า อนลสา คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร.
บทว่า ฉนฺนา แปลว่า เหมาะสม.
บทว่า กิสฺมึ วิย มีอธิบายว่า ดูเหมือนจะเป็นการยาก คือ
ดูจะเป็นความเสีย ดูจะเป็นข้อที่น่าละอายแก่พวกข้าพเจ้า.
สองบทว่า กุมาริกาย วตฺตุ ความว่า การที่จะพูดเพราะเหตุ
แห่งเด็กหญิงว่า พวกท่านจงรับเอาเด็กหญิงนี้ไป (ดูเป็นการยาก).
บรรดาอาวาหะเป็นต้น ที่ชื่อว่า อาวาหะ ได้แก่ การนำเด็กสาว
มาจากตระกุลอื่น เพื่อเด็กหนุ่ม. ที่ชื่อว่า วิวาหะ ได้แก่ การส่งเด็กสาว
ของคนไปสู่ตระกูลอื่น.
บทว่า วาเรยฺยานิ ความว่า การสู่ขอว่า พวกท่านจงให้เด็กหญิง
สาวน้อยแก่เด็กชายหนุ่มน้อยของพวกเรา หรือทำการกำหนดวัน ฤกษ์
และยาม.
บทว่า ปุราณคณกิยา ความว่า ภรรยาของหมอดู (โหร)คนหนึ่ง.
หญิงนั้น เมื่อหมอดูนั้นยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏชือว่า คณกี . และเมื่อหมอดู
ตายแล้ว ถึงอันนับว่า ปุราณคณกี.
บทว่า ติโรคาโม ได้แก่ นอกบ้าน. อธิบายว่า บ้านอื่น.

บทว่า มนุสฺสา ได้แก่ พวกชาวบ้านผู้รู้ความที่พระอุทายีเป็นผู้
ชอบขวนขวายในการชักสื่อนี้ .
บทว่า สุณิสาโภเคน ความว่า พวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้น
ใช้สอยหญิงนั้น อย่างที่คนทั้งหลายจะพึงใช้สอยหญิงสะใภ้ มีการให้
หุงภัตให้ต้มแกง และการให้เลี้ยงดูเป็นต้น.
หลายบทว่า ตโต อปเรน ทาสีโภเคน ความว่า แต่ล่วงไป
ได้ 1 เดือน พวกสาวกของอาชีวกเหล่านั้นใช้สอยนางนั้น ด้วยการ
ใช้สอยอย่างที่คนทั้งหลายจะพึงใช้สอยทาสี มีการทำนา เทหยากเยื่อ
และตักน้ำเป็นต้น.
บทว่า ทุคคตา คือ เป็นผู้ยากจน, อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ไปสู่ตระกูลที่ตนไปแล้ว เป็นผู้ตกทุกข์ได้ยาก.
หลายบทว่า มายฺโย อิมํ ภุมาริกํ ความว่า คุณอย่าใช้สอย
เด็กหญิงนี้ อย่างใช้สอยทาสีเลย.
ด้วยบทว่า อาหารูปหาโร พวกสาวกของอาชีวกแสดงว่า การ
รับรองและการตกลง คือการรับและการให้ พวกเราไม่ได้รับมา ไม่
ได้มอบให้อะไร ๆ คือว่า พวกเราไม่มีการซื้อขาย คือ การค้าขาย
กับท่าน.
คำว่า สมเณน ภิตพฺพํ อพฺยาวเฏน สมโณ อสฺส สุสฺสมโณ
มีความว่า พวกสาวกของอาชีวก รุกรานพระอุทายีเถระนั้นอย่างนี้ว่า
ธรรมดาว่า สมณะ ต้องเป็นผู้ไม่ขวนขวาย คือต้องเป็นผู้ไม่พยายาม
ในการงานเช่นนี้ ด้วยว่า สมณะผู้เป็นอย่างนี้ พึงเป็นสมณะที่ดี แล้ว
กล่าวว่า ไปเสียเถิดท่าน พวกเราไม่รู้จักท่าน.

บทว่า สชฺชิโต ความว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง
หรือเป็นผู้ตกแต่งประดับประดาแล้ว.
บทว่า ชุตฺตา ได้แก่ พวกนักเลงหญิง.
บทว่า ปริจาเรนฺตา ความว่า ยังอินทรีย์ทั้งหลายให้เที่ยวรื่นเริง
ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่เพลิดเพลินใจโดยรอบด้าน อย่างโน้นอย่างนี้,
มีอธิบายว่า เล่นอยู่ คือยินดีอยู่.
บทว่ า อพฺภุตมกํสุ ความว่า พวกนักเลงกระทำการพนันกันว่า
ถ้าพระอุทายีจักทำ ท่านชนะพนันเท่านี้ ถ้าจักไม่ทำ เราจักแพ้พนัน
เท่านี้ ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็การกระทำพนันกัน ไม่ควรแก่
ภิกษุทั้งหลาย, ถ้าภิกษุใดกระทำ, ผู้แพ้จะต้องเสียให้แก่ภิกษุนั้น.
เวลาไม่นาน เรียกว่า ตังขณะ (ขณะนั้น) ในคำว่า กถํ หิ นาม
อยฺโย อุทายิ ตงฺขณิกํ
นี้. บทว่า ตงฺขณิกํ ได้แก่ การชักสื่อ มีการ
ทำหน้าที่ชั่วกาลไม่นาน.

[อธิบายการเที่ยวชักสื่อ]


คำว่า สญฺจริตฺตํ สนาปชฺเชยฺย ความว่า พึงถึงภาวะเที่ยวชักสื่อ
ก็เพราะภิกษุผู้ถึงภาวะชักสื่อนั้น ถูกใคร ๆ ส่งไปแล้ว จำจะต้องไป
ในที่บางแห่ง, หญิงและชาย ที่ท่านประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ โดยพระบาลี
เป็นต้นว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ ข้างหน้านั่นแหละ. ฉะนั้น เพื่อจะ
ทรงแสดงอรรถนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งคําว่า อิตฺถิ-
ยา วา ปุริสมตึ
นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุถูกหญิงวานไปในสำนักผู้ชาย
หรือว่าถูกผู้ชายวานไปในสำนักแห่งหญิง ดังนี้ .