เมนู

สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ
คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น
ที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน เพื่อ
กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของ
ชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


8. 4. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักมาตุคาม ด้วย
ถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น
นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[415] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มี
การงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติ

อย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่าง เป็นเถระก็ตาม
เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง. . .
ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า พระพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกพระพฤติแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วย
ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิต
ปฏิพัทธ์.
บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้วก็แปรปรวน
ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปร
ปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนในอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตที่ถูกราคะยอมแล้ว.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่

หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ
ถึงถ้อยคำเป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.
บทว่า ในสำนักมาตุคาม คือ ในที่ใกล้มาตุคาม ในที่ไม่ห่าง
มาตุคาม.
บทว่า กามของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความ
ประสงค์ของตน การบำเรอของตน.
บทว่า นั่นเป็นยอด คือนั่นเป็นเลิศ ประเสริฐ สูงสุด อุดมเยี่ยม.
บทว่า สตรีใด ได้แก่ นางกษัตริย์ พราหมณี หญิงแพศย์ หรือ
หญิงศูทร.
บทว่า เช่นเรา คือ เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็น
แพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม.
บทว่า มีศีล คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนา-
ทาน เว้นขาดจากมุสาวาท.
บทว่า ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ เป็นผู้ชื่อว่ามีธรรมงาม เพราะ
ศีลนั้นและเพราะพรหมจรรย์นั้น.
บทว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า บำเรอ คือ อภิรมย์.
บทว่า ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุน
ธรรม.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน

ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์
สตรีคนเดียว


[416] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ
บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าว
คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และ
กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย

บัณเฑาะก์คนเดียว


บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง
การบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ