เมนู

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้า. พระอุทายีเถระเป็นต้นบัญญัติ ในสิกขาบทนี้
ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้เป็นต้นบัญญัติฉะนี้แล.
บทภาชนียวรรณา จบ

บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 ย่อม
เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็น
กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
มีเวทนา 2 ฉะนี้แล.

วินีตวัตถุในตติยสังฆาทิเสส


บรรดาวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโลหิต ดังนี้:- ภิกษุนั้น
กล่าวหมายถึงนิมิตที่มีโลหิตของหญิง, หญิงนอกนี้ไม่รู้; เพราะฉะนั้น
จึงเป็นทุกกฏ.
บทว่า กกฺกสโลมํ แปลว่า มีขนมากด้วยขนสั้น ๆ.
บทว่า อากิณฺณโลมํ แปลว่า มีขนรกรุงรัง.
บทว่า ขรโลมํ แปลว่า มีขนกระด้าง.
บทว่า ทีฆโลมํ แปลว่า มีเส้นขนไม่สั้น (ขนยาว). คำทั้งหมด
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวหมายถึงนิมิตของหญิงทั้งนั้น.
ภิกษุนั้นกล่าวหมายถึงอสัทธรรมว่า เธอหว่านนาแล้วหรือ ? หญิง
นั้นไม่เข้าใจ จึงกล่าวว่า (หว่านแล้ว) แต่ยังไม่ได้กลบเจ้าค่ะ !

พืชที่ชื่อว่ากลบแล้ว ได้แก่ พืชที่เขาให้ตั้งขึ้นใหม่ (ให้หว่านซ่อม)
ในโอกาสที่พืชทั้งหลายตั้งไม่ติด (ไม่งอก) หรือในโอกาสที่มีพืชถูกพวก
แมลงทำให้เสียหาย แล้วราดให้เสมอด้วยน้ำ ในนาหว่านมีน้ำ (และ)
พืชที่เขาเกลี่ยให้เสมอด้วยคราดมีฟัน 8 ซี่ซ้ำอีก เพื่อต้องการทำให้พืช
ทั้งหลาย ที่ตกลงไปไม่สม่ำเสมอกัน ให้สม่ำเสมอกันในนาหว่านที่ดอน.
บรรดาพืชเหล่านั้น หญิงนี้กล่าวหมายเอาพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ในเรื่องทาง คำว่า ทางของเธอราบรื่นดอกหรือ ? ภิกษุนั้นกล่าว
หมายถึงทางองคชาต. คำที่เหลือมีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้นแล.
ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ


สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4
เรื่องพระอุทายี


[414] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก
ครั้งนั้นมีสตรีหม้ายผู้หนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่าน
พระอุทายีครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเดินไปทางเรือนของสตรี
หม้ายนั้น ครั้นแล้วนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไป
หาท่านพระอุทายี กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุทายี
ได้ยังสตรีหม้ายนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา