เมนู

บทว่า อธกฺขกํ คือ เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญลงมา.
บทว่า อุพฺภชานุนณฑลํ คือ เบื้องบนตั้งแต่มณฑลเข่าขึ้นไป.
บทว่า อพฺภกฺขกํ คือ บนตั้งแต่รากขวัญขึ้นไป.
บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ คือ ต่ำตั้งแต่มณฑลเข่าลงไป.
ก็รากขวัญ (ไหปลาร้า) และมณฑลเข่า สงเคราะห์เข้าในเขตแห่ง
ทุกกฎ เฉพาะในสิกขาบทนี้ เหมือนในกายสังสัคคะของนางภิกษุณี แท้จริง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงบัญญัติครุกาบัติ ให้มีส่วนเหลือหามิได้เเล
บทว่า กายปฏิพทฺธํ ได้แก่ ผ้าบ้าง ดอกไม้บ้าง เครื่องประดับบ้าง.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]


บทว่า อตฺถปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้กล่าวอรรถแห่งบทเป็นต้นว่า
อนิมิตฺตาสิ หรือผู้ทำการสาธยายอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้บอก หรือสาธยายพระบาลี
อยู่. เมื่อภิกษุมุ่งอรรถ มุ่งธรรม กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่
ผู้มุ่งอรรถ และมุ่งธรรม.
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขารสฺส ความว่า เมื่อภิกษุมุ่งสั่งสอนกล่าว
อย่างนั้นว่า ถึงบัดนี้ เธอก็เป็นคนไม่มีนิมิต, เป็นคนสองเพศ เธอพึง
ทำความไม่ประมาทเสีย แต่บัดนี้, เธออย่าเป็นเหมือนอย่างนี้ต่อไปเลย
ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้มุ่งคำสอน. ส่วนภิกษุใด เมื่อบอกบาลีแก่พวก
นางภิกษุณี ละทำนองพูดตามปกติเสีย หัวเราะเยาะพูดย้ำ ๆ อยู่ว่า เธอ
เป็นคนมีเดือย, เป็นคนผ่า, เป็นคนสองเพศ, ภิกษุนั้น เป็นอาบัติแท้.