เมนู

วาจา ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค
และเมถุนธรรม.
บทว่า พูดเคาะ คือ ที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน.
คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่ เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่น
คือหนุ่มกับสาว ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม.
บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์
มาติกา


[399] มุ่งมรรคทั้งสอง พูดชม ก็ดี พูดติ ก็ดี พูดขอ ก็ดี
พูดอ้อนวอน ก็ดี ถาม ก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอก ก็ดี สอน ก็ดี
ด่า ก็ดี.
[400] ที่ชื่อว่า พูดชม คือ ชม พรรณนา สรรเสริญ มรรค
ทั้งสอง.
ที่ชื่อว่า พูดติ คือ ด่า ว่า ติเตียน มรรคทั้งสอง.

ที่ชื่อว่า พูดขอ คือ พูดว่า โปรดให้แก่เรา โปรดยกให้แก่เรา
ควรจะให้แก่เรา ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า พูดอ้อนวอน คือ พูดว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส
เมื่อไรบิดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไร
โอกาสดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรเวลาดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรยามดีจักมีแก่เธอ
เมื่อไรฉันจักได้เมถุนธรรมของเธอ ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า เธอให้เมถุนธรรมแก่สามีอย่างไร ให้
แก่ชู้อย่างไร ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า ย้อนถาม คือ สอบถามดูว่า ข่าวว่า เธอให้เมถุนธรรม
แก่สามีอย่างนี้หรือ ให้เเก่ชู้อย่างนี้หรือ ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า บอก คือ ถูกเขาถามแล้วบอกว่า เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อ
ให้อย่างนี้ จักเป็นที่รักใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ได้ถาม บอกเองว่า เธอจงให้อย่างนี้
เมื่อให้อย่างนี้ จักเป็นที่รักใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า ด่า คือ ด่าว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต เธอเป็นคนสักแต่ว่า
มีนิมิต เธอเป็นคนไม่มีโลหิต เธอเป็นคนมีโลหิตเสมอ เธอเป็นคนมีผ้าซับ
เสมอ เธอเป็นคนช้ำรั่ว เธอเป็นคนมีเดือย เธอเป็นบัณเฑาะก์หญิง
เธอเป็นคนกล้าผู้ชาย เธอเป็นคนผ่า เธอเป็นคนสองเพศ ดังนี้
เป็นต้น.

สตรี


[401] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี ความกำหนัดและ
พูดพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ของสตรี ชนก็ดี ติก็ดี ขอก็ดี อ้อน-