เมนู

และบัณเฑาะก์เป็นทุกกฏกับสังฆาทิเสส. ด้วยอุบายนี้ คำว่า ผู้หญิงถูก
นิสสัคคียวัตถุ, ภิกษุมีความประสงค์ในอันเสพพยายามด้วยกาย, แต่ไม่
รับรู้ผัสสะ ต้องทุกกฏ ดังนี้ ยังมีอยู่ เพียงใด, ชนิดต้องอาบัติ พึงทราบ
ตามนัยก่อนนั่นแหละ เพียงนั้น.
ก็แล ในคำนี้ ข้อว่า กาเยน วายมติ น จ ผสฺสํ ปฏิวิชานาติ
ความว่า ภิกษุเห็นผู้หญิงขว้างดอกไม้ หรือผลไม้ที่ตนขว้างไป ด้วย
ดอกไม้ หรือผลไม้สำหรับขว้างของหล่อน จึงทำกายวิการ คือ กระดิก
นิ้ว หรือยักคิ้ว หรือหลิ่วตา หรือทำวิการเห็นปานนั้นอย่างอื่น ภิกษุนี้
เรียกว่า พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้ผัสสะ. แม้ภิกษุนี้ชื่อว่า ต้องทุกกฏ
เพราะมีความพยายามด้วยกาย. ผู้หญิง 2 คน ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว,
บัณเฑาะก์กับผู้หญิง ต้องทุกกฏ 2 ตัวเหมือนกัน.

[อธิบายอาบัติและอนาบัติโดยลักษณะ]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยพิสดาร ด้วย
อำนาจแห่งวัตถุอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงอาบัติและอนาบัติโดยย่อ
ด้วยอำนาจลักษณะ จึงตรัสคำว่า เสวนาธิปฺปาโย เป็นอาทิ.
บรรดานัยเหล่านั้น นัยแรกเป็นสังฆาทิเสสด้วยครบองค์ 3 คือ
ภิกษุเป็นผู้อันหญิงถูกต้องมีอยู่ 1 มีความประสงค์ในอันเสพ พยายาม
ด้วยกาย 1 รับรู้ผัสสะ 1 นัยที่สองเป็นทุกกฏ ด้วยครบองค์ 2 คือเพราะ
พยายามเหมือนในการถูกนิสสัคคียวัตถุด้วยนิสสัคคียวัตถุ 1 เพราะไม่รับรู้
ผัสสะเหมือนในการไม่ถูกต้อง 1. นัยที่ 3 ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่พยายาม
ด้วยกาย.
จริงอยู่ ภิกษุใดมีความประสงค์จะเสพ แต่มีการนิ่ง รับรู้ คือยินดี

เสวยผัสสะอย่างเดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น เพราะไม่มีอาบัติในอาการ
สักว่า จิตตุปบาท.
ส่วนนัยที่ 4 แม้ความรับรู้ผัสสะก็ไม่มี เหมือนในการถูกนิสสัคดีย-
วัตถุ ด้วยนิสสัคคียวัตถุ, มีแต่สักว่าจิตตุปบาทอย่างเดียวเท่านั้น; เพราะ-
เหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. ไม่เป็นอาบัติในเพราะอาการทั้งปวง ของ
ภิกษุผู้ประสงค์จะให้พ้น.
ก็แล ในฐานะนี้ พึงทราบอธิบายว่า ภิกษุใดถูกผู้หญิงจับ จะ
ให้หญิงนั้นพ้นจากสรีระของตน จึงผลัก หรือ ตี, ภิกษุนี้ ชื่อว่า
พยายามด้วยกาย รับรู้ผัสสะ. ภิกษุใดเห็นผู้หญิงกำลังมาใคร่จะพ้นจาก
หญิงนั้น จึงตวาดให้หนีไป, ภิกษุนี้ ชื่อว่า พยายามด้วยกาย แต่ไม่
รับรู้ผัสสะ. ภิกษุใดเห็นทีฆชาติเช่นนั้นเลื้อยขึ้นบนกาย แต่ไม่สลัดด้วย
คิดว่า มันจงค่อย ๆ ไป, มันถูกเราสลัดเข้า จะพึงเป็นไปเพื่อความ
พินาศ, หรือรู้ว่าหญิงทีเดียวถูกตัว แต่นิ่งเฉย ทำเป็นไม่รู้เสียด้วยคิดว่า
หญิงนี้รู้ว่า ภิกษุนี้ ไม่มีความต้องการเรา แล้วจักหลีกไปเองแหละ หรือ
ภิกษุหนุ่มถูกผู้หญิงมีกำลังกอดไว้แน่น แม้อาการหนี แต่ต้องนิ่งเฉย
เพราะถูกยึดไว้มั่น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่ได้พยายามด้วยกาย แต่รับรู้ผัสสะ.
ส่วนภิกษุใดเห็นผู้หญิงมา แล้วเป็นผู้นิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า หล่อนจงมาก่อน,
เราจักตี หรือผลักหล่อนแล้วหลีกไปเสียจากนั้น ภิกษุนี้ พึงทราบว่า มี
ความประสงค์จะพ้นไปไม่พยายามด้วยกาย ทั้งไม่รับรู้ผัสสะ.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า ไม่จงใจว่า เราจักถูกผู้หญิงคนนี้
ด้วยอุบายนี้. จริงอยู่ เพราะไม่จงใจอย่างนั้น เมื่อภิกษุแม้ถูกต้องตัว
มาตุคามเข้าในคราวที่รับบาตรเป็นต้น ย่อมไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า อสติยา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้ส่งใจไปในที่อื่น คือ ไม่มี
ความนึกว่า เราจักถูกต้องมาตุคาม เพราะไม่มีสติอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ถูกต้องในเวลาเหยียดมือและเท้าเป็นต้น.
บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุเห็นเด็กหญิงมีเพศคล้าย
เด็กชาย ไม่รู้ว่า เป็นผู้หญิง ถูกต้องด้วยกรณียกิจบางอย่างเท่านั้น ไม่
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้ว่า เป็นผู้หญิง และถูกต้องด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อสาทิยนฺตสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี
การเคล้าคลึงด้วยกาย เหมือนไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่ถูกผู้หญิงจับแขนกัน
และกันห้อมล้อมพาเอาไปฉะนั้น ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วแล.
และพระอุทายีเถระเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้
เป็นอาทิกัมมิกะนั้น ฉะนี้แล.
บทภาชนียวรรณนาจบ
บรรดาสมุฎฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิก
สิกขาบท ย่อมเกิดขึ้นทางกายกับจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 2 โดยเป็นสุขเวทนาและ
อุเบกขาเวทนาทั้งสองแล.

วินีตวัตถุในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2


พึงทราบวินิจฉัย ในวินีตวัตถุทั้งหลายต่อไปนี้:-
สองบทว่า มาตุยา มานุปฺเปเมน ความว่า ย่อมจับต้องกาย
ของมารดาด้วยความรักฉันมารดา. ในเรื่องลูกสาวและพี่น้องสาว ก็มี