เมนู

บทว่า มุตฺตามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมุกดา.
บทว่า มณิมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมณีร้อยด้าย. จริง
อยู่ เมื่อภิกษุจับช้องชนิดใดชนิดหนึ่งในช้องเหล่านี้เป็นสังฆาทิเสสทั้งนั้น.
ความพ้นไม่มีแก่ภิกษุผู้แก้ตัวว่า ข้าพเจ้าได้จับช้องที่เจือ.
ส่วนผม เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยเวณิศัพท์ ใน
บทว่า เวณิคฺคาหํ นี้. เพราะเหตุนั้น แม้ภิกษุใดจับผมเส้นเดียว, แม้
ภิกษุนั้น ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ร่างกายที่เหลือ เว้นมือและช้องผมมีประการทุกอย่าง ซึ่งมีลักษณะ
ดังที่กล่าวแล้ว ในคำว่า หตฺถญฺจ เวณิญฺจ ฐเปตฺวา นี้ พึงทราบว่า
อวัยวะ บรรดาอวัยวะมีมือเป็นต้น ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ การจับมือ ชื่อว่า
หัตถัคคาหะ. การจับช้องผม ชื่อว่า เวณิคคาหะ. การลูบคลำสรีระที่
เหลือ ชื่อว่า การลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม อรรถนี้ว่า ภิกษุใด
พึงถึงการจับมือก็ตาม การจับช้องผมก็ตาม การลูบคลำอวัยวะอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ตาม, เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น ดังนี้ เป็นใจความ
แห่งสิกขาบท.

[อรรถกถาธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยการจับมือเป็นต้น]


อนึ่ง การจับมือก็ดี การจับช้องผมก็ดี การลูบคลำอวัยวะที่เหลือ
ก็ดี ทั้งหมดโดยความต่างกันมี 12 อย่าง เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความ
ต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า หัตถัคคาหะ
เป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า อามสนา ปรามสนา ดังนี้.

บรรดาบทว่า อามสนา เป็นต้นนั้น 2 บทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อามสนา นาม อามฏฺฐมตตา และว่า ฉุปนนฺนาม ผุฏฺฐมตฺตา นี้
มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ การถูกต้อง คือ การเสียดสีในโอกาสที่
ถูกต้องเท่านั้น ไม่ถึงกับเลยโอกาสที่ถูกต้องไป ชื่อว่า อามสนา. จริงอยู่
การเสียดสีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อามัฏฐมัตตา. กิริยาสักว่า
ถูกต้องไม่เสียดสี ชื่อว่า ฉุปนัง. ถึงแม้ในบทเดียวกันนั้นเองที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในนิเทศแห่ง อุมฺมสนา และ อุลฺลงฺฆนา ว่า อุทธํ
อุจฺจารณา
ดังนี้ ก็มีความแปลกกันดังต่อไปนี้:- บทที่ 1 ตรัสด้วย
สามารถแห่งกายของคนถูกต้องข้างบนกายของหญิง. บทที่ 2 ตรัสด้วย
สามารถแห่งการยกกายของหญิงขึ้น. บทที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติโดย
พิสดาร ด้วย สามารถแห่งบทเหล่านี้ ของภิกษุผู้ถูกราคะครอบงำแล้วมีจิต
แปรปรวน ถึงความเคล้าคลึงกาย จึงตรัสคำเป็นต้นว่า หญิง 1 ภิกษุ
มีความสำคัญว่าเป็นหญิง 1 มีความกำหนัด 1 เคล้าคลึงกายด้วยกายกับ
หญิงนั้น 1 ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยบทเหล่านั้น ดังนี้:- คำว่า ภิกฺขุ จ นํ อิตฺถิยา
กาเยน กายํ
ความว่า ภิกษุนั้นมีความกำหนัด 1 มีความสำคัญเป็น
หญิง 1 (เคล้าคลึงกายของหญิง) ด้วยกายของตน บทว่า นํ เป็นเพียง
นิบาต. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า (เคล้าคลึง) กายนั่น คือ กายต่างด้วยมือ
เป็นต้นของหญิงนั้น.
คำว่า อามสติ ปรามสิ ความว่า ก็ภิกษุประพฤติล่วงละเมิด
โดยอาการแม้อย่างหนึ่ง บรรดาการจับต้องเป็นต้นเหล่านี้นั่นแล ต้อง

สังฆาทิเสส, ในการจับต้องเป็นต้นนั้น เมื่อภิกษุจับต้องคราวเดียวเป็น
อาบัติตัวเดียว, เมื่อจับต้องบ่อย ๆ เป็นสังฆาทิเสสทุก ๆ ประโยค. เเม้
เมื่อลูบคลำ หากว่า ไม่ปล่อยให้พ้นจากกายเลย ส่าย ย้าย ไส มือก็ดี
กายก็ดี ของตนไปข้างโน้น ข้างนี้, เมื่อลูบคลำอยู่ แม้ตลอดทั้งวัน ก็
เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ถ้าปล่อยให้พ้นจากกายแล้ว ๆ เล่า ๆ ลูบคลำ
เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค. เมื่อลูบลง ถ้าไม่ให้พ้นจากกายเลย ลูบตั้งแต่
กระหม่อมของหญิงลงไปจนถึงหลังเท้า ก็เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. ก็ ถ้าว่า
ถึงที่นั้น ๆ บรรดาที่มีท้องเป็นต้น ปล่อย (มือ) แล้วลูบลงไป เป็น
อาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในการลูบขึ้น ดังนี้:- เมื่อภิกษุลูบขึ้นตั้งแต่เท้า
ไปจนถึงศีรษะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยการทับลง ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับมาตุคามที่ผม
แล้วกดลง กระทำอัชฌาจารตามปรารถนา มีการจูบเป็นต้นแล้วปล่อย
เป็นอาบัติตัวเดียว. เมื่อภิกษุกดหญิงที่เงยขึ้นแล้ว ให้ก้มลงบ่อย ๆ เป็น
อาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในการอุ้ม ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับมาตุคามที่ผม
ก็ดี ที่มือทั้งสองก็ดี ให้ลุกขึ้น มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในการฉุด ดังนี้:- ภิกษุฉุดมาตุคามให้หันหน้ามา
หาตน ยังไม่ปล่อย ( มือ) เพียงใด เป็นอาบัติตัวเดียวเพียงนั้นแล เมื่อ
ปล่อยวาง (มือ) แล้วกลับฉุดมาแม้อีก เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค.
พึงทราบวินิจฉัยในการผลัก ดังนี้:- ก็เมื่อภิกษุจับที่หลังมาตุคาม
ลับหลังแล้วผลักไป มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในการกด ดังนี้:- เมื่อภิกษุจับที่มือ หรือที่แขน
มาตุคามให้แน่นแล้ว เดินไปแม้สิ้นระยะโยชน์หนึ่ง เป็นอาบัติเพียงตัว
เดียว. เมื่อปล่อยจับ ๆ เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค, พระมหาสุมเถระกล่าวว่า
เมื่อไม่ปล่อยถูกต้อง หรือสวมกอดก็ดี บ่อย ๆ เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า การจับเดิมนั่นแหละเป็นประมาณ, เพราะ-
เหตุนั้น ภิกษุยังไม่ปล่อย (มือ) ตราบใด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว
ตราบนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการบีบ ดังนี้:- เมื่อภิกษุบีบด้วยผ้าก็ดี เครื่อง
ประดับก็ดี ไม่ถูกต้องตัวเป็นถุลลัจจัย, เมื่อถูกต้องตัว เป็นสังฆาทิเสส
เป็นอาบัติตัวเดียวโดยประโยคเดียว, เป็นอาบัติต่าง ๆ ด้วยประโยคต่าง ๆ
กัน. ในการจับและถูกต้อง แม้เมื่อไม่กระทำวิการอะไร ๆ อื่น ย่อมต้อง
อาบัติแม้ด้วยอาการเพียงจับ เพียงถูกต้อง.
บรรดาอาการ มีการจับต้องเป็นต้นนี้ อย่างกล่าวมานี้ เมื่อภิกษุ
มีความสำคัญในหญิงว่าเป็นผู้หญิง ประพฤติล่วงละเมิดด้วยอาการแม้อย่าง
หนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้มีความสงสัย แม้ภิกษุ
สำคัญในหญิงว่าเป็นบัณเฑาะก์ เป็นบุรุษ และเป็นดิรัจฉาน ก็เป็นถุลลัจจัย
เหมือนกัน. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญในบัณเฑาะก์ว่าเป็น
บัณเฑาะก์ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้มีความสงสัย. สำหรับภิกษุผู้สำคัญ (ใน
บัณเฑาะก์) ว่าเป็นบุรุษ เป็นดิรัจฉาน และเป็นหญิงเป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ภิกษุมีความสำคัญในบุรุษว่า เป็นบุรุษก็ดี มีความสงสัยก็ดี มีความสำคัญ
ว่า เป็นหญิง เป็นบัณเฑาะก์ เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี เป็นทุกกฏทั้งนั้น.
แม้ในสัตว์ดิรัจฉาน ก็เป็นทุกกฎโดยอาการทุกอย่างเหมือนกันแล. บัณฑิต

พึงกำหนดอาบัติเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเอกมูลกันแล้ว
ทราบอาบัติทวีคูณ แม้ในทวิมูลกัน ที่ตรัสโดยอุบายนี้ และโดยอำนาจ
แห่งคำว่า เทฺว อิตฺถิโย ทฺวินฺนํ อิตฺถีนํ เป็นต้น.
เหมือนอย่างว่า ในหญิง 2 คน พึงทราบสังฆาทิเสส 2 ตัว ฉันใด
ในหญิงมากคน พึงทราบสังฆาทิเสสมากตัว ฉันนั้น. จริงอยู่ ภิกษุใด
เอาแขนทั้งสองรวบจับหญิงมีจำนวนมากคนที่ยืนรวมกันอยู่ ภิกษุนั้นต้อง
สังฆาทิเสสมากตัว ด้วยการนับจำนวนหญิงที่ตนถูกต้อง ต้องถุลลัจจัย
ด้วยการนับหญิงที่อยู่ตรงกลาง. จริงอยู่ หญิงเหล่านั้นย่อมเป็นอันภิกษุ
นั้นจับต้องด้วยของเนื่องด้วยกาย.
อนึ่ง ภิกษุใด จับนิ้วมือ หรือผมของหญิงจำนวนมากรวมกัน,
ภิกษุนั้น พระวินัยธรอย่านับนิ้วมือ หรือเส้นผมปรับ พึงนับหญิงปรับ
ด้วยสังฆาทิเสส และเธอย่อมต้องถุลลัจจัยด้วยการนับหญิงทั้งหลายผู้มี
นิ้วมือและผมอยู่ตรงกลาง. จริงอยู่ หญิงเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันภิกษุนั้น
จับต้องแล้ว ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย แต่เมื่อภิกษุรวบจับหญิงเป็นอัน
มาก ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย มีเชือกและผ้าเป็นต้น ย่อมต้องอาบัติถุล-
ลัจจัย ด้วยการนับหญิงทั้งหมดผู้อยู่ภายในวงล้อมนั้นแล. ในมหาปัจจรี
ท่านปรับทุกกฏ ในพวกหญิงที่ไม่ได้ถูกต้องด้วย. บรรดานัยก่อนและนัย
ที่ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีนั้น เพราะขึ้นชื่อว่า การจับต้องของเนื่อง
ด้วยกาย กับของเนื่องด้วยกาย ไม่มีในบาลี; เพราะฉะนั้นแล นัยก่อน
ที่ท่านรวบรวมของเนื่องด้วยกายทั้งหมดเข้าด้วยกัน กล่าวไว้ในมหา-
อรรถกถาและกุรุนที ปรากฏว่าถูกต้องกว่าในอธิการนี้.

ก็ภิกษุใดมีความกำหนัดจัดเท่ากัน ในหญิงทั้งหลายผู้ยืนเอามือจับ
มือกันอยู่ตามลำดับ จับหญิงหนึ่งที่มือ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสังฆา-
ทิเสสตัวเดียว ด้วยสามารถแห่งหญิงคนที่ตนจับ, ต้องอาบัติถุลลัจจัยหลาย
ตัว ตามจำนวนแห่งหญิงนอกนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล. ถ้าว่าภิกษุนั้นจับ
หญิงนั้น ที่ผ้า หรือที่ดอกไม้อันเป็นของเนื่องด้วยกาย ย่อมต้องอาบัติ
ถุลลัจจัยมากตัว ตามจำนวนแห่งหญิงทั้งหมด. เหมือนอย่างว่า ภิกษุรวบ
จับหญิงทั้งหลาย ด้วยเชือกและผ้าเป็นต้น ย่อมเป็นอันจับต้องหล่อนแม้
ทั้งหมด ด้วยของเนื่องด้วยกาย ฉันใดแล, แม้ในอธิการนี้ หญิงทั้งหมด
ก็เป็นอันภิกษุจับต้องแล้ว ด้วยของเนื่องด้วยกาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ฉะนี้แล.
ก็ถ้าว่า หญิงเหล่านั้นยืนจับกันและกันที่ชายผ้า, และภิกษุนี้จับ
หญิงคนแรกในบรรดาหญิงเหล่านั้น ที่มือ, เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ด้วยอำนาจแห่งหญิงคนที่ตนจับ, ต้องทุกกฏหลายตัวตามจำนวนแห่งหญิง
นอกนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล. ด้วยว่า ของที่เนื่องด้วยกายกับของที่เนื่องด้วย
กายของหญิงเหล่านั้นทั้งหมด เป็นอันภิกษุนั้นจับต้องแล้ว โดยนัยก่อน
เหมือนกัน. ก็ถ้าแม้นว่า ภิกษุนั้นจับหญิงนั้นเฉพาะของที่เนื่องด้วยกาย
เท่านั้น, ต้องทุกกฎหลายตัวตามจำนวนแห่งหญิงนอกนี้ โดยนัยถัดมา
นั่นเอง.
ก็ภิกษุใด เบียดผู้หญิงที่นุ่งผ้าหนา ถูกผ้าด้วยกายสังสัคคราคะ,
ภิกษุนั้นต้องถุลลัจจัย เบียดผู้หญิงที่นุ่งผ้าบางถูกผ้า, ถ้าว่าในที่ซึ่งถูกกัน
นั้น ขนของผู้หญิงที่ลอดออกจากรูผ้าถูกภิกษุ หรือขนของภิกษุแยงเข้าไป
ถูกหญิง หรือขนทั้งสองฝ่ายถูกกันเท่านั้น, เป็นสังฆาทิเสส. เพราะว่า

แม้ถูกรูปที่มีวิญญาณครอง หรือไม่มีวิญญาณครอง (ของหญิง) ด้วยกรรม-
ชรูปที่มีวิญาณ (ของตน) ก็ดี ถูกรูปที่มีวิญญาณครอง หรือไม่มี-
วิญญาณครอง (ของหญิง) ด้วยผมเป็นต้น แม้ไม่มีวิญญาณครองก็ดี ย่อม
ต้องสังฆาทิเสสเหมือนกัน. ในการที่ขนต่อขนถูกกันนั้น ในกุรุนทีกล่าวว่า
พึงนับขนปรับสังฆาทิเสส. แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ไม่ควรนับขน
ปรับอาบัติ, ภิกษุนั้นต้องสังฆาทิเสสตัวเดียวเท่านั้น ส่วนภิกษุไม่ปูลาด
นอนบนเตียงของสงฆ์ จึงควรนับขนปรับอาบัติ. คำของพระอรรถกถา
นั่นแหละชอบ. เพราะว่า อาบัตินี้ปรับด้วยอำนาจแห่งหญิง ไม่ใช่ปรับ
ด้วยอำนาจแห่งส่วน ฉะนี้แล.

[ความต่างกันแห่งมติของพระเถระ 2 รูป]


ในอธิการนี้ท่านตั้งคำถามว่า ก็ภิกษุใด คิดว่า จักจับขอเนื่อง
ด้วยกาย แล้วจับกายก็ดี คิดว่า จักจับกาย แล้วจับของเนื่องด้วยกายก็ดี
ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติอะไร ?
พระสุมเถระตอบก่อนว่า ต้องอาบัติตามวัตถุเท่านั้น. ได้ยินว่า
ลัทธิของท่านมีดังนี้:-
วัตถุ 1 สัญญา 1 ราคะ 1 ความรับรู้ผัสสะ 1 เพราะ -
ฉะนั้น ควรปรับครุกาบัติ ที่กล่าวแล้วในนิเทศตามที่ทรง
อธิบายไว้.

ในคาถานี้ วัตถุ นั้น ได้แก่ ผู้หญิง. สัญญา นั้น ได้แก่ ความสำคัญว่า
เป็นผู้หญิง. ราคะ นั้น ได้แก่ ความกำหนัดในการเคล้าคลึงด้วยกาย. ความ
รับรู้ผัสสะ นั้น ได้แก่ ความรู้สึกผัสสะในการเคล้าคลึงด้วยกาย. เพราะ-