เมนู

บทว่า มุตฺตามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมุกดา.
บทว่า มณิมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมณีร้อยด้าย. จริง
อยู่ เมื่อภิกษุจับช้องชนิดใดชนิดหนึ่งในช้องเหล่านี้เป็นสังฆาทิเสสทั้งนั้น.
ความพ้นไม่มีแก่ภิกษุผู้แก้ตัวว่า ข้าพเจ้าได้จับช้องที่เจือ.
ส่วนผม เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยเวณิศัพท์ ใน
บทว่า เวณิคฺคาหํ นี้. เพราะเหตุนั้น แม้ภิกษุใดจับผมเส้นเดียว, แม้
ภิกษุนั้น ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ร่างกายที่เหลือ เว้นมือและช้องผมมีประการทุกอย่าง ซึ่งมีลักษณะ
ดังที่กล่าวแล้ว ในคำว่า หตฺถญฺจ เวณิญฺจ ฐเปตฺวา นี้ พึงทราบว่า
อวัยวะ บรรดาอวัยวะมีมือเป็นต้น ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ การจับมือ ชื่อว่า
หัตถัคคาหะ. การจับช้องผม ชื่อว่า เวณิคคาหะ. การลูบคลำสรีระที่
เหลือ ชื่อว่า การลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม อรรถนี้ว่า ภิกษุใด
พึงถึงการจับมือก็ตาม การจับช้องผมก็ตาม การลูบคลำอวัยวะอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ตาม, เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น ดังนี้ เป็นใจความ
แห่งสิกขาบท.

[อรรถกถาธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยการจับมือเป็นต้น]


อนึ่ง การจับมือก็ดี การจับช้องผมก็ดี การลูบคลำอวัยวะที่เหลือ
ก็ดี ทั้งหมดโดยความต่างกันมี 12 อย่าง เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความ
ต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า หัตถัคคาหะ
เป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า อามสนา ปรามสนา ดังนี้.