เมนู

ของพราหมณ์นั้นอย่างเดียว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า กุโต ตสฺส อุฬา-
รตฺตตา*
นี้
ในบทว่า อุฬารตฺตตา นั้น มีวิเคราะห์ว่า ตน (อัธยาศัย) ของผู้นั้น
โอฬาร (ดี); เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีตนอันโอฬาร. ภาวะแห่งบุคคล
ผู้มีตนอัน โอฬารนั้น ชื่อว่า อุฬารตฺตตา.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กุลิตฺถีหิ เป็นต้นต่อไป:-
หญิงแม่เจ้าเรือนทั้งหลาย ชื่อว่า กุลสตรี. พวกลูกสาวของตระกูล
ผู้ไปกับบุรุษอื่นได้ ชื่อว่า กุลธิดา. พวกหญิงวัยรุ่นมีใจยังไม่หนักแน่น
เรียกชื่อว่า กุลมารี. หญิงสาวที่เขานำมาจากตระกูลอื่น เพื่อเด็กหนุ่ม
ในตระกูล เรียกชื่อว่า กุลสุณหา.

(อธิบายสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยถูกราคะครอบงำ)


บทว่า โอติณฺโณ นั้น ได้แก่ ผู้อันราคะซึ่งเกิดในภายในครอบงำ
แล้ว ประหนึ่งสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูกยักษ์เป็นต้นข่มขื่นเอาไว้ฉะนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง เมื่อไม่พิจารณากำหนัดอยู่ในฐานะที่น่ากำหนัด ชื่อว่าหยั่งลง
สู่ความกำหนัดเอง ดังสัตว์ที่ไม่พิจารณาตกหลุมเป็นต้นฉะนั้น. ก็คำว่า
โอติณฺโณ นี้ เป็นชื่อของภิกษุผู้สะพรั่งด้วยราคะ เท่านั้น แม้โดยประการ
ทั้งสอง; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า
โอติณฺโณ นั้น อย่างนี้ว่า ผู้กำหนัดนัก ผู้มีความเพ่งเล็ง ผู้มีจิตปฏิพัทธ์
ชื่อว่า ผู้ถูกราคะครอบงำ.
*บาลี เป็นอุฬารตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้กำหนัดจัด ด้วย
กายสังสัคคราคะ.
บทว่า อเปกฺขวา ได้แก่ ผู้มีความเพ่งเล่ง ด้วยความมุ่งหมายใน
กายสังสัคคะ.
บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตผูกพันในวัตถุนั้น ด้วยกาย
สังสัคคราคะนั่นแหละ.
บทว่า วิปริณเตน มีความว่าจิตที่ละปกติ กล่าวคือภวังคสันตติ
ที่บริสุทธิ์เสีย เป็นไปโดยประการอื่น จัดว่าแปรปรวนไปผิดรูป หรือ
เปลี่ยนแปลงไปผิดรูป. อธิบายว่า จิตเปลี่ยนแปลงอย่างใด ชื่อว่าผิดรูป,
มีจิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น. ก็เพราะเหตุที่จิตนั้นไม่ล่วงเลยความประ-
กอบพร้อมด้วยกิเลส มีราคะเป็นต้นไปได้; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า วิปริณตํ นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า วิปริณตนฺติ
รตฺตมฺปิ จิตฺตํ
แล้วจะทรงแสดงอรรถที่ประสงค์ในสิกขาบทนี้ในที่สุด จึง
ตรัสว่า ก็แต่ว่า จิตที่กำหนัดแล้ว ชื่อว่าจิตแปรปรวน ซึ่งประสงค์ใน
อรรถนี้.
บทว่า ตทหุชาตา ได้แก่ เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น คือ สักว่าเกิด
ยังมีสีเป็นชิ้นเนื้อสด. จริงอยู่ ในเพราะเคล้าคลึงกายกับเด็กหญิง แม้เห็น
ปานนี้ ก็ย่อมเป็นสังฆาทิเสส, ในเพราะก้าวล่วงด้วยเมถุน ย่อมเป็น
ปาราชิก, และในเพราะยินดีด้วยรโหนิสัชชะ ย่อมเป็นปาจิตตีย์.
บทว่า ปเคว ได้แก่ ก่อนทีเดียว.
สองบทว่า กายสํสคฺคํ สมาปชฺเชยฺย มีความว่า พึงถึงความ
ประชิดกายมีจับมือเป็นต้น คือ ความเป็นผู้เคล้าคลึงด้วยกาย. ก็กาย-

สังสัคคะของภิกษุผู้เข้าถึงความเคล้าคลึงด้วยกายนั่นแหละ โดยใจความ
ย่อมเป็นอัชฌาจาร คือ ความประพฤติล่วงแดนแห่งสำรวมด้วยอำนาจ
ราคะ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความโดย
ย่อแห่งสองบทนั้น จึงตรัสบทภาชนะว่า เราเรียกอัชฌาจาร.
บทว่า หตฺถคฺคาหํ วา เป็นต้น เป็นบทจำแนกของสองบทนั้น
ท่านแสดงโดยพิสดาร ในสิกขาบทนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้น
ว่า หตฺโถ นาม กุปฺปรํ อุปาทาย เพื่อแสดงวิภาคแห่งอวัยวะ มีมือ
เป็นต้น ในบทภาชนะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กุปฺปรํ อุปาทาย มีความว่า หมาย
ถึงที่ต่อใหญ่ที่สอง (ตั้งแต่ข้อศอกลงไป). แต่ในที่อื่นตั้งแต่ต้นแขนถึง
ปลายเล็บ จัดเป็นมือ. ในที่นี้ ประสงค์ตั้งแต่ข้อศอกพร้อมทั้งปลาย
เล็บ.
บทว่า สุทฺเกสานํ ได้แก่ ผมที่ไม่เจือด้วยด้ายเป็นต้น คือ
ผมล้วน ๆ นั่นเอง. คำว่า ช้อง นี้ เป็นชื่อของมัดผมที่ถักด้วยผม 3
เกลียว.
บทว่า สุตฺตมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่เขาเอาด้าย 5 สี แซมในผม.
บทว่า มาลามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่เขาแซมด้วยดอกมะลิเป็นต้น
หรือถักด้วยผม 3 เกลียว. อีกอย่างหนึ่ง กำผมที่แซมด้วยดอกไม้อย่าง
เดียว แม้ไม่ได้ถัก ก็พึงทราบว่า ช้อง ในที่นี้.
บทว่า หิรญฺญมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่แซมด้วยระเบียบกหาปณะ.
บทว่า สุวณฺณมิสสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยสายสร้อยทองคำ
หรือด้วยสังวาลเป็นต้น.

บทว่า มุตฺตามิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมุกดา.
บทว่า มณิมิสฺสา ได้แก่ ช้องที่ประดับด้วยแก้วมณีร้อยด้าย. จริง
อยู่ เมื่อภิกษุจับช้องชนิดใดชนิดหนึ่งในช้องเหล่านี้เป็นสังฆาทิเสสทั้งนั้น.
ความพ้นไม่มีแก่ภิกษุผู้แก้ตัวว่า ข้าพเจ้าได้จับช้องที่เจือ.
ส่วนผม เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยเวณิศัพท์ ใน
บทว่า เวณิคฺคาหํ นี้. เพราะเหตุนั้น แม้ภิกษุใดจับผมเส้นเดียว, แม้
ภิกษุนั้น ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ร่างกายที่เหลือ เว้นมือและช้องผมมีประการทุกอย่าง ซึ่งมีลักษณะ
ดังที่กล่าวแล้ว ในคำว่า หตฺถญฺจ เวณิญฺจ ฐเปตฺวา นี้ พึงทราบว่า
อวัยวะ บรรดาอวัยวะมีมือเป็นต้น ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ การจับมือ ชื่อว่า
หัตถัคคาหะ. การจับช้องผม ชื่อว่า เวณิคคาหะ. การลูบคลำสรีระที่
เหลือ ชื่อว่า การลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม อรรถนี้ว่า ภิกษุใด
พึงถึงการจับมือก็ตาม การจับช้องผมก็ตาม การลูบคลำอวัยวะอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ตาม, เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น ดังนี้ เป็นใจความ
แห่งสิกขาบท.

[อรรถกถาธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยการจับมือเป็นต้น]


อนึ่ง การจับมือก็ดี การจับช้องผมก็ดี การลูบคลำอวัยวะที่เหลือ
ก็ดี ทั้งหมดโดยความต่างกันมี 12 อย่าง เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความ
ต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า หัตถัคคาหะ
เป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า อามสนา ปรามสนา ดังนี้.