เมนู

บทว่า ปฏิยตฺตํ แปลว่า ตกแต่งแล้ว.
ด้วยคำว่า พหู สงฺฆสฺส ภตฺตา นี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมแสดง
ความหมายว่า สงฆ์มีภัตมากมาย คือมีทางเกิดลาภมิใช่น้อย สงฆ์ไม่
บกพร่องด้วยอะไร ๆ.
บทว่า โอโณเชถ แปลว่า พวกท่านจงถวาย.
ถามว่า ก็การที่ภิกษุกล่าวอย่างนี้ ควรหรือ ?
ตอบว่า เพราะเหตุไร จะไม่ควร ? เพราะว่าภิกษาที่เขานำมา
จำเพาะนี้ เป็นของที่เขานำมาตกแต่งไว้ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ในคราว
หนึ่ง. ธรรมดาปยุตวาจา (การออกปากขอ) ย่อมไม่มีในปัจจัยมีจีวร
เป็นต้น ที่เขานำมาตระเตรียมไว้ และในส่วนที่เขาตั้งเจาะจงไว้.

[อธิบายลาภสงฆ์และการน้อมลาภสงฆ์]


บทว่า สงฺฆิกํ แปลว่า ของมีอยู่แห่งสงฆ์. จริงอยู่ ลาภนั้นแม้
ยังไม่ถึงมือ ก็จัดว่าเป็นของสงฆ์ โดยปริยายหนึ่ง เพราะเขาน้อมไปเพื่อ
สงฆ์แล้ว, แต่ในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีแสดงลาภของสงฆ์โดยตรง
ทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งการขยายความ อย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่าของสงฆ์ ได้แก่
ของที่เขาถวายแล้ว บริจาคแล้วแก่สงฆ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัตถุที่สงฆ์ควรได้ ด้วยบทว่า ลาภํ. ด้วย
เหตุนั้น แล ในนิเทศแห่งบทว่า ลาภํ นั้น จึงตรัสคำว่า จีวรํปิ เป็นต้น .
บทว่า ปริณตํ ได้แก่ ที่เขาถวายสงฆ์ คือ ที่เขาตั้งไว้เป็นของโอน
ไปเพื่อสงฆ์ เอนไปเพื่อสงฆ์. ก็เพื่อทรงแสดงการณ์เป็นเหตุที่เขาน้อมลาภ
นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะว่า คือ ที่เขาเปล่งวาจาว่า
พวกข้าพเจ้า จักถวาย จักกระทำ ดังนี้.

สองบทว่า ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า เป็นทุกกฏ ทุกประโยคที่
น้อมลาภซึ่งเขาน้อมไป (เพื่อสงฆ์) มาเพื่อตน. เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา
คือ เพราะลาภนั้นถึงมือ. แต่ถ้าว่าของนั้นเป็นอันเขาถวายสงฆ์แล้ว, จะ
รับเอาของที่เขาถวายสงฆ์แล้วนั้นมา ไม่ควร, พึงถวายแก่สงฆ์นั้นแล.
ก็ภิกษุใด พลอยกินกับพวกคนวัด, สงฆ์พึงให้ตีราคาภัณฑะนั้น ปรับ
อาบัติแก่ภิกษุนั้น . แต่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้ว่าลาภเขาน้อมไป
เพื่อสงฆ์ แล้วน้อมลาภที่เขาน้อมไปแล้ว ของพวกสหธรรมิกก็ดี ของพวก
คฤหัสถ์ก็ดี โดยที่สุดแม้ของมารดา มาเพื่อตนว่า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่เรา
แล้วถือเอา. เป็นปาจิตตีย์ล้วน ๆ แก่ภิกษุผู้น้อมไปเพื่อคนอื่นอย่างนี้ว่า
ท่านจงให้แก่ภิกษุนี้. ภิกษุน้อมบาตรใบหนึ่ง หรือจีวรผืนหนึ่งมาเพื่อตน
น้อมไปเพื่อคนอื่นใบหนึ่ง หรือผืนหนึ่ง, เป็นทั้งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทั้ง
สุทธิกปาจิตตีย์. ในบาตรและจีวรมาก ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ข้อนี้
สมจริงดังคำที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ว่า
ภิกษุพึงต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ และอาบัติปาจิตตีย์
ล้วน ที่ตรัสไว้ในขุททกสิกขาบทพร้อมกัน, ปัญหาข้อนี้ ท่าน
ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

ก็ปัญหานี้ ท่านกล่าวหมายเอาการน้อม (ลาภ). ฝ่ายภิกษุใดทราบ
ว่า ผ้าอาบน้ำฝนเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์แม้ในเรือนของมารดา ในสมัยแห่ง
ผ้าอาบน้ำฝนแล้วน้อมเอาไปเพื่อตน, เป็นนิสสัคคีย์แก่ภิกษุนั้น น้อมไป
เพื่อผู้อื่น เป็นปาจิตตีย์ล้วน. พวกชาวบ้าน ปรึกษากันว่า พวกเราจัก
กระทำสังฆภัต จึงนำเนยใสและน้ำมันเป็นต้นมา. ถ้าแม้นภิกษุอาพาธ
รู้ว่าเขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์แล้ว ยังขออะไร ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

เหมือนกัน. ก็ถ้าภิกษุอาพาธนั้นถามว่า เนยใสเป็นต้นของพวกท่านที่นำ
มา มีอยู่หรือ ? เมื่อพวกเขาตอบว่า มีอยู่ขอรับ ! แล้วกล่าวว่า พวก
ท่านจงให้แก่เราบ้าง ดังนี้ สมควร. ถ้าแม้นพวกอุบาสก รังเกียจภิกษุ
อาพาธนั้น พูดว่า แม้สงฆ์ย่อมได้เนยใสเป็นต้นที่พวกเราถวายนี้แหละ.
นิมนต์ท่านรับเถิด ขอรับ ! แม้อย่างนี้ ก็ควร.
ข้อว่า สงฺฆสฺส ปริณตํ อญฺญสงฺฆสฺส มีความว่า น้อมลาภที่
เขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์ในวัดหนึ่ง หรือที่เขาน้อมไปเฉพาะวัดอื่นด้วย
พูดว่า พวกท่านจงถวายแก่สงฆ์ในวัดชื่อโน้น.
บทว่า เจติยสฺส วา มีความว่า น้อมไปเพื่อเจดีย์อย่างนี้ว่า ถวาย
สงฆ์จะมีประโยชน์อะไร ? พวกท่านจงทำการบูชาแก่พระเจดีย์ ดังนี้ก็ดี.
ในคำว่า เจติยสฺส ปริณตํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- แม้จะบูชาดอกไม้
ที่เจดีย์อื่น จากต้นไม้ดอกที่เขากำหนดปลูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์อื่น
ก็ไม่ควร. แต่เห็นฉัตรหรือธงแผ่นผ้าที่เขาบูชาไว้เเก่เจดีย์หนึ่ง แล้วให้
ถวายของที่เหลือแก่เจดีย์อื่น สมควรอยู่.
สองบทว่า ปุคฺคลสฺส ปริณตํ มีความว่า ชั้นที่สุดแม้อาหารที่เขา
น้อมไปเพื่อสุนัข ภิกษุน้อมไปเพื่อตัวอื่นอย่างนี้ว่า ท่านอย่าให้เเก่สุนัข
ตัวนี้ ดังนี้ ก็เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าพวกทายกกล่าวว่า พวกเราอยากจะ
ถวายภัตแก่สงฆ์, อยากจะบูชาพระเจดีย์. อยากจะถวายบริขารแก่ภิกษุ
รูปหนึ่ง, จักถวายตามความพอใจของพวกท่าน, ขอท่านโปรดบอก,
พวกเราจะถวายในที่ไหน ? เมื่อพวกทายกกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึง
บอกพวกเขาว่า พวกท่านจงถวายในที่ซึ่งพวกท่านปรารถนา. แต่ถ้าพวก

ทายกถามอย่างเดียวว่า พวกข้าพเจ้า จะถวาย ณ ที่ไหน, ภิกษุพึงกล่าว
ตามนัยที่มาแล้วในบาลีนั่นแล. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มี 3 สมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจา
กับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
พรรณนาปริณตสิกขาบท ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ
ติงสกกัณฑ์ จบ