เมนู

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 9


พรรณนาสาสังกสิกขาบท


สาสังกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในสาสังกสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า วุฏฺฐวสฺสา อารญฺญเกสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็อยู่ในป่าเหมือนกัน. แต่ภิกษุเหล่านั้นอยู่
จำพรรษาในเสนาสนะใกล้เเดนบ้าน ด้วยสามารถแห่งปัจจัย เพราะเป็น
ผู้มีจีวรคร่ำคร่า เป็นผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ปรึกษากันว่า บัดนี้พวกเราหมด
กังวลแล้ว จักกระทำสมณธรรม จึงพากันอยู่ในเสนาสนะป่า.
บทว่า กตฺติกโจรกา ได้แก่ พวกโจรในเดือน 12.
บทว่า ปริปาเตนฺติ มีความว่า ย่อมรบกวน คือ วิ่งขวักไขว่ไป
มาในที่นั้น ๆ แล้วทำให้หวาดเสียว ให้หนีไป.
สองบทว่า อนฺตรฆเร นิกฺขิปิตุํ ได้แก่ เพื่อเก็บไว้ในภายในบ้าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ในละแวกบ้าน เพื่อ
สงวนจีวรไว้ เพราะธรรมดาว่า ปัจจัยทั้งหลาย เป็นของหาได้ยากโดย
ชอบธรรม, จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความขัดเกลา ไม่อาจเพื่อจะขอจีวร แม้
กะมารดา. แต่พระองค์ไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า เพราะเป็นการสมควรแก่
ภิกษุทั้งหลาย.
ในคำว่า อุปวสฺสํ โข ปน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อุปวสฺสํ คือ เข้าอยู่แล้ว. มีคำอธิบายว่า เข้าอยู่จำพรรษา
แล้ว. แท้จริง บัณฑิตพึงเห็นนิคหิตในคำว่า อุปวสฺสํ นี้ ดุจในคำมี
คำว่า อุปสมฺปชฺชํ เป็นต้น. ความว่า เข้าถึงฤดูฝนและอยู่แล้ว (เข้าจำ

พรรษาและปวารณาแล้ว). และบทว่า อุปวสฺสํ นี้ สัมพันธ์ด้วยคำนี้ว่า
ตถารูเปสุ ภิกฺขุ เสนาสเนสุ วิหรนฺโต แปลว่า ภิกษุอยู่ในเสนาสนะ
เห็นปานนั้น.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงฤดูฝน
และอยู่แล้ว (เข้าจำพรรษาและปวารณาแล้ว) จะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กัน
ว่าเป็นที่รังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้าเห็นปานนั้น ตลอดกาลอันเป็นที่สุดแห่ง
วันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ต่อจากนั้นมา เมื่อปรารถนาพึงเก็บจีวร 3 ผืน
ผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้
อนึ่ง เพราะว่า ภิกษุใด เข้าจำพรรษาแล้ว อยู่มาจนถึงวันเพ็ญ
เดือนกัตติกาต้น, ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้อยู่ภายในแห่งพวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษา
แล้ว; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะไม่ทรงทำการวิจารณ์พยัญชนะ
ที่รกรุงรังยิ่งนี้ แสดงบุคคลผู้ควรแก่การเก็บจีวรอย่างเดียวในบทภาชนะ
จึงตรัสคำว่า วุฏฺฐวสฺสานํ ดังนี้. ถึงบทว่า วุฏฺฐวสฺสานํ นั้น ก็สัมพันธ์
กับคำนี้ว่า ภิกษุเมื่ออยู่ในเสนาสนะ. จริงอยู่ ในคำว่า วุฏฺฐวสฺสานํ นี้
มีใจความดังนี้ว่า อยู่ในเสนาสนะทั้งหลาย ของพวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษา
แล้ว. มีคำอธิบายว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอยู่ภายในแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เห็น
ปานนี้. ลักษณะแห่งป่า ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งอทินนาทาน.
ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้:- ถ้าว่า วัดมีเครื่องล้อม พึงวัดตั้งแต่
เสาเขื่อนแห่งบ้านซึ่งมีเครื่องล้อม และจากสถานที่ควรล้อมแห่งบ้านที่ไม่
ได้ล้อมไป จนถึงเครื่องล้อมวัด. ถ้าเป็นวัดที่ไม่ได้ล้อม, สถานที่ใดเป็น
แห่งแรกเขาทั้งหมด จะเป็นเสนาสนะก็ดี โรงอาหารก็ดี สถานที่ประชุม

ประจำก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี เจดีย์ก็ดี, ถ้าแม้นมีอยู่ห่างไกลจากเสนาสนะ,
พึงวัดเอาที่นั้นให้เป็นเขตกำหนด.
ถ้าแม้นว่า มีหมู่บ้านอยู่ใกล้, พวกภิกษุอยู่ที่วัด ย่อมได้ยินเสียง
ของพวกชาวบ้าน, แต่ไม่อาจจะไปทางตรงได้ เพราะมีภูเขาและแม่น้ำ
เป็นต้นกั้นอยู่ และทางใดเป็นทางตามปกติของบ้านนั้น ถ้าแม้นจะต้อง
โดยสารไปทางเรือ, ก็พึงกำหนดเอาที่ห้าร้อยชั่วธนู จากบ้านโดยทางนั้น.
แต่ภิกษุใดปิดกั้นหนทางในที่นั้น ๆ เพื่อยังบ้านใกล้ให้ถึงพร้อมด้วยองค์
ภิกษุนี้ พึงทราบว่า ผู้ขโมยธุดงค์.
บทว่า สาสงฺกสมฺมตาน แปลว่า รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ.
อธิบายว่า เขารู้กันแล้วอย่างนั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อจะทรงแสดง
การณ์เป็นเหตุให้เสนาสนะเหล่านั้นเป็นที่รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ จึงตรัส
คำมีว่า อาราเม อารามูปจาเร เป็นต้น. เสนาสนะที่เป็นไปกับด้วยภัย
เฉพาะหน้า ชื่อว่า สปฏิภยะ (มีภัยเฉพาะหน้า). อธิบายว่า มีภัยร้ายแรง
ชุกชุม. แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงการณ์เป็นเหตุให้เสนาสนะ
เหล่านั้นเป็นที่มีภัยจำเพาะหน้า จึงตรัสคำว่า อาราเม อารามูปจาเร
เป็นต้น.
ข้อว่า สมนฺตา โคจรคาเม นิกฺขิเปยฺย มีความว่า เมื่อมีองค์ครบ
พึงเก็บไว้ ในโคจรคามที่ตนพอใจ ในทุกทิศาภาคโดยรอบแห่งเสนาสนะ
ในเสนาสนะป่านั้น มีองคสมบัติดังต่อไปนี้:- ภิกษุเข้าพรรษา
ในวันเข้าพรรษาแรก ปวารณาในวันมหาปวารณา, นี้เป็นองค์อันหนึ่ง.
ถ้าภิกษุเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลังก็ดี มีพรรษาขาดก็ดี ย่อมไม่ได้
เพื่อจะเก็บไว้. เป็นเดือน 12 เท่านั้น, นี้เป็นองค์ที่ 2. นอกจากเดือน

12 ไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะเก็บ. เป็นเสนาสนะที่ประกอบด้วยประมาณ
อย่างต่ำ 500 ชั่วธนูเท่านั้น, นี้เป็นองค์ที่ 3. ในเสนาสนะที่มีขนาด
หย่อน หรือมีขนาดเกินคาวุตไป ย่อมไม่ได้ (เพื่อจะเก็บไว้). จริงอยู่
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตแล้วอาจเพื่อกลับมาสู่วัดทันเวลาฉัน ในเสนาสนะใด,
เสนาสนะนั้น ทรงประสงค์เอา ในสิกขาบทนี้. แต่ภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้
ไปสิ้นทางกึ่งโยชน์บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง แล้วกลับมาเพื่อจะอยู่. ที่นี้ไม่ใช่
ประมาณ. เป็นเสนาสนะมีความรังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้าเท่านั้น, นี้
เป็นองค์ที่ 4 จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะ ไม่มีความรังเกียจ ไม่มีภัย
เฉพาะหน้า แม้ประกอบด้วยองค์ก็ไม่ได้ เพื่อจะเก็บไว้ ฉะนี้แล.
สองบทว่า อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา มีความว่า เว้นไว้เเต่โกสัม-
พิกสมมติ ที่ทรงอนุญาตไว้ในอุทโทสิตสิกขาบท. ก็ถ้าว่า มีภิกษุได้
สมมตินั้นไชร้, จะอยู่ปราศจากเกิน 6 ราตรีไปก็ได้.
คำว่า ปุน คามสีมํ โอกฺกมิตฺวา มีความว่า ถ้ามีเสนาสนะอยู่ทาง
ทิศตะวันออกจากโคจรคาม และภิกษุนี้ จะไปยังทิศตะวันตก, เธอไม่
อาจจะมายังเสนาสนะให้ทันอรุณที่ 7 ขึ้น แวะลงสู่แม้คามสีมาพักอยู่ใน
สภาหรือในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทราบข่าวคราวแห่งจีวรแล้วจึงหลีกไป
ควรอยู่.
ภิกษุผู้ไม่อาจอย่างนั้น พึงยืนอยู่ในที่ที่ตนไปแล้วนั้นนั่นแล ปัจจุท-
ธรณ์ (ถอน) เสีย. จีวรจักตั้งอยู่ ในฐานแห่งอติเรกจีวร ฉะนี้แล. คำ
ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื่นทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายกับวาจา 1 ทาง
กายวาจากับจิต 1 เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
สาสังกสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 10
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[169] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ในพระนครสาวัตถี มีชาวบ้านหมู่หนึ่ง จัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวาย
สงฆ์ ด้วยตั้งใจว่าจักให้ฉันแล้วจึงให้ครองจีวร ณ เวลาเดียวกันนั้นแล
พระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาชาวบ้านหมู่นั้น ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะชาวบ้าน
หมู่นั้นว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้แก่พวกอาตมา
ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจะถวายไม่ได้
เพราะพวกกระผม จัดภิกษาหารพร้อมทั้งจีวรได้ถวายแก่พระสงฆ์ทุกปี
พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีมาก ภัตตา-
หารของสงฆ์ก็มีมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวกท่าน จึง
อยู่ในที่นี้ ถ้าพวกท่านไม่ให้แก่พวกอาตมา เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจัก
ให้แก่พวกอาตมา ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้ แก่พวกอาตมาเถิด
เมื่อชาวบ้านหมู่นั้น ถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นได้ จึงได้ถวายจีวรตาม
ที่ได้จัดไว้แก่พระฉัพพัคคีย์แล้วอังคาสพระสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร