เมนู

อนาปัตติวาร


[160] ภิกษุขอต่อญาติ 1 ภิกษุขอต่อคนปวารณา 1 ภิกษุขอ
เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 1 ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง 1 เจ้า-
เรือนใคร่จะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 7


พรรณนามหาเปสการสิกขาบท


มหาเปสการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในมหาเปสการสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า สุตฺตํ ธารยิตฺวา ได้แก่ ชั่งด้ายให้ได้กำหนดหนึ่งปละ.
บทว่า อปฺปิตํ แปลว่า ให้แน่น.
บทว่า สุวีตํ ได้แก่ ให้เป็นของที่ทอดี คือ ให้เป็นของที่ทอ
เสมอในที่ทุกแห่ง.
บทว่า สุปฺปวายิตํ ได้แก่ ขึงให้ดี คือ ขึงหูกให้ตึงเสมอในที่
ทุกแห่ง.
บทว่า สุวิเลขิตํ แปลว่า ให้เป็นของสางดีด้วยเครื่องสาง.
บทว่า สุวิตจฺฉิตํ แปลว่า ให้เป็นของกรีดดีด้วยหวี (ด้วยแปรง).
อธิบายว่า ให้เป็นของชำระเรียบร้อย.
บทว่า ปฏิพทฺธํ แปลว่า ความขาดแคลน.

บทว่า ตนฺเต มีความว่า นำเข้าไปในหูกที่ขึงไปทางด้านยืนนั่นแล.
(ด้านยาว).
หลายบทว่า ตตฺร เจโส ภิกขุ มีความว่า ในคามหรือนิคมที่พวก
ช่างหูกเหล่านั้นอยู่.
สองบทว่า วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย มีความว่า ถึงความกำหนดเอา
พิเศษ คือจัดแจงเอาอย่างยิ่ง. แต่ในบาลี เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็น
เหตุให้ภิกษุถึงความกำหนดเอา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิทํ โข
อาวุโส เป็นต้น.
สองบทว่า ธมฺมํปิ ภณติ ได้แก่ กล่าวธรรมกถา. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงอาการ คือการเพิ่มด้ายเท่านั้น ด้วยคำว่า เขาทำให้ยาว
ก็ดี ให้กว้างก็ดี ให้แน่นก็ดี ตามคำของภิกษุนั้น.
สองบทว่า ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ได้แก่ เป็นผู้อันเจ้าของแห่งจีวร
ทั้งหลายมิได้ปวารณาไว้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
มหาเปสการสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 8
เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง


[161] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ