เมนู

คำว่า ทานํ ทสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักให้ทาน
แก่สัตว์เล็ก ๆ มีแมลงและมดเป็นต้น .
คำว่า ปุญฺญํ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเราปล่อยให้เป็นทานแก่แมลง
เป็นต้น จักเป็นบุญ.
คำว่า ยญฺญํ ยชิสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักบูชา
ยัญแก่พวกแมลงเป็นต้น, มีอธิบายว่า เราจักกล่าวบทมนต์อะไรบางอย่าง
แล้วให้.
คำว่า สคฺคํ คมิสฺสามิ ความว่า เราจักไปสวรรค์ด้วยการที่ปล่อย
ให้ทานแก่พวกแมลงเป็นต้น ด้วยบุญ หรือด้วยยัญวิธี.
คำว่า วีชํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นพืชเพื่อทารกผู้เป็นหน่อแห่ง
วงศ์สกุล. อธิบายว่า ย่อมปล่อยโดยประสงค์นี้ว่า บุตรจักเกิดด้วยพืช
ของเรานี้.
บทว่า วีมํสตฺถาย คือ เพื่อต้องการรู้.
ในคำว่า นีลํ ภวิสฺสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราจักรู้ก่อนว่า สุกกะที่ปล่อยแล้ว จักเป็นสีเขียว หรือสีอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีสีเหลืองเป็นต้น.
บทว่า ขิฑฺฑาธิปฺปาโย คือ ขวนขวายในการเล่น. มีคำอธิบายว่า
ภิกษุย่อมปล่อยเล่นโดยความประสงค์นั้น ๆ.

[อธิบายสุทธิกสังฆาทิเสส]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ภิกษุให้สุกกะ
เคลื่อนต้องอาบัติและจำนวนชนิดอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านั้น

ทั้งหมด ในพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า อชฺฌตฺตรูเป โมเจติ เป็นต้น จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ คือ พยายามในรูปภายใน, สุกกะ
เคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจเตติ ความว่า ย่อมจงใจว่า สุกกะ
จงเคลื่อน ด้วยเจตนาที่ถึงความยินดีในการให้เคลื่อน.
บทว่า อุปกฺกมติ ความว่า ย่อมกระทำความพยายามอันสมควร
แก่ความจงใจนั้น.
บทว่า มุจฺจติ ความว่า เมื่อภิกษุจงใจอยู่อย่างนั้น พยายามด้วย
ความพยายามอันสมควรแก่ความจงใจนั้น สุกกะย่อมเคลื่อนจากฐาน.
คำว่า อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส ความว่า ย่อมเป็นอาบัติชื่อสังฆา-
ทิเสส แก่ภิกษุนั้น ด้วยองค์ 3 เหล่านี้. แม้ใน 28 บทที่เหลือมีบทว่า
พหิทฺพารูเป เป็นต้น ก็นัยนี้.
ก็ในปัญจกะทั้ง 4 นี้ บัณฑิตพึงนำอาบัติสองพันตัวออกแสดง.
แสดงอย่างไร ? คือ เมื่อภิกษุปล่อยสุกกะสีเขียวเพื่อประสงค์ความไม่มีโรค
ในเวลาเกิดความกำหนัดในรูปภายในก่อน ย่อมเป็นอาบัติตัวเดียว, เป็น
อาบัติ อีก 9 ตัว ด้วยอำนาจปล่อยสุกกะสีเหลืองเป็นต้นในรูปภายในนั่นแล
เพื่อประสงค์ความไม่มีโรค ในเวลามีความกำหนัด; ฉะนั้น จึงรวมเป็น
อาบัติ 10 ตัว. เหมือนอย่างว่า เพื่อประสงค์ความไม่มีโรค มีอาบัติ
10 ตัว ฉันใด, เพื่อประสงค์ 9 บท มีสุขบทเป็นต้น ก็มีอาบัติ 10 ตัว
เพราะแบ่งออกไปแต่ละบทเป็นบทละ 10 ตัว ๆ ฉันนั้น. อาบัติ 90 ตัว
เหล่านี้ และอาบัติ 10 ตัวก่อน ด้วยประการอย่างนี้; ฉะนั้น จึงเป็น
อาบัติ 100 ตัว ในเวลาเกิดความกำหนัดก่อน. เหมือนอย่างว่า ในเวลา

เกิดความกำหนัด มีอาบัติ 100 ตัว ฉันใด, แม้ในเหตุหนุน 4 อย่าง
มีปวดอุจจาระเป็นต้น ก็มีอาบัติ 400 ตัว เพราะแบ่งเหตุหนุนแต่ละอย่าง
ออกไปเป็นอย่างละ 100 ตัว ๆ ฉันนั้น. อาบัติ 400 ตัวเหล่านี้ และ
อาบัติ 100 ตัวก่อนดังกล่าวมานี้ จึงเป็นอาบัติ 500 ตัว ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุหนุน 5 อย่าง ในรูปภายในก่อน. เหมือนอย่างว่าในรูปภายใน
มีอาบัติ 500 ตัว ฉันใด, ในรูปภายนอกมีอาบัติ 500 ตัว ในรูปทั้งที่
เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก มีอาบัติ 500 ตัว, เมื่อภิกษุแอ่นสะเอวใน
อากาศ มีอาบัติ 500 ตัว ฉันนั้น, บัณฑิตพึงทราบ อาบัติทั้งหมด
2,000 ตัว ด้วยอำนาจปัญจกะทั้ง 4 ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้น]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระบาลีมีความวิจิตรไปด้วยชนิด
แห่งขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้นว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อความ
สุข ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า เมื่อมีการปล่อยสุกกะให้เคลื่อนด้วยความ
พยายามโดยความจงใจ ของภิกษุผู้จับ (องคชาต) ตามลำดับ หรือผิด
ลำดับ หรือเบื้องต่ำใน 10 บท มีบทว่า อาโรคฺยตฺถาย เป็นต้นก่อน
แล้วจับเบื้องบนก็ดี จับเบื้องบนแล้วจับเบื้องต่ำก็ดี จับทั้งสองข้างแล้ว
หยุดอยู่ที่ตรงกลางก็ดี จับที่ตรงกลางแล้วขยับไปทั้งสองข้างก็ดี จับให้มี
มูลรวมกันทั้งหมดก็ดี ชื่อว่าความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี.
ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขัณฑจักรอันหนึ่ง ประกอบ
อาโรคยบท ด้วยทุก ๆ บท อย่างนี้ว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อ