เมนู

คำว่า ทานํ ทสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักให้ทาน
แก่สัตว์เล็ก ๆ มีแมลงและมดเป็นต้น .
คำว่า ปุญฺญํ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเราปล่อยให้เป็นทานแก่แมลง
เป็นต้น จักเป็นบุญ.
คำว่า ยญฺญํ ยชิสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักบูชา
ยัญแก่พวกแมลงเป็นต้น, มีอธิบายว่า เราจักกล่าวบทมนต์อะไรบางอย่าง
แล้วให้.
คำว่า สคฺคํ คมิสฺสามิ ความว่า เราจักไปสวรรค์ด้วยการที่ปล่อย
ให้ทานแก่พวกแมลงเป็นต้น ด้วยบุญ หรือด้วยยัญวิธี.
คำว่า วีชํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นพืชเพื่อทารกผู้เป็นหน่อแห่ง
วงศ์สกุล. อธิบายว่า ย่อมปล่อยโดยประสงค์นี้ว่า บุตรจักเกิดด้วยพืช
ของเรานี้.
บทว่า วีมํสตฺถาย คือ เพื่อต้องการรู้.
ในคำว่า นีลํ ภวิสฺสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราจักรู้ก่อนว่า สุกกะที่ปล่อยแล้ว จักเป็นสีเขียว หรือสีอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีสีเหลืองเป็นต้น.
บทว่า ขิฑฺฑาธิปฺปาโย คือ ขวนขวายในการเล่น. มีคำอธิบายว่า
ภิกษุย่อมปล่อยเล่นโดยความประสงค์นั้น ๆ.

[อธิบายสุทธิกสังฆาทิเสส]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ภิกษุให้สุกกะ
เคลื่อนต้องอาบัติและจำนวนชนิดอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านั้น