เมนู

[ว่าด้วยกำเนิดด้าย 6 ชนิด]


บทว่า โขมํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้โขมะ.
บทว่า กปฺปาสิกํ ได้แก่ ด้ายที่เกิดจากฝ้าย.
บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่ ด้ายที่กรอด้วยใยไหม.
บทว่า กมฺพลํ ได้แก่ ด้ายทำด้วยขนแกะ.
บทว่า สาณํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ (ป่าน).
บทว่า ภงฺคํ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยปอ
ชนิดหนึ่งต่างหาก. แต่ด้ายที่เขาทำผสมกันด้วยสัมภาระทั้ง 5 อย่างนั่น
ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ภังคะ.
หลายบทว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า ถ้าช่างหูกไม่มี
กระสวยและฟืมเป็นต้น, เขาคิดว่า เราจักนำของเหล่านั้นมาจากป่า จึง
ลับมีดหรือขวาน, ตั้งแต่นั้นไปเขากระทำประโยคใดๆ เพื่อต้องการเครื่อง
อุปกรณ์ก็ดี เพื่อต้องการจะทอจีวรก็ดี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุก ๆ ประโยค
นั้นของช่างหูกในกิจทั้งปวง. เมื่อช่างหูกทอผ้าได้ด้านยาวประมาณคืบ 1
และด้านกว้างประมาณศอก 1 เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวว่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทุก ๆ ผัง* ( ทุก ๆ ช่วงผัง) แก่
ภิกษุผู้ให้ช่างหูกทออยู่จนถึงที่สุด (จนสำเร็จ). แม้คำนั้น ก็พึงทราบว่า
ท่านกล่าวหมายเอาประมาณนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ ประมาณผ้าอย่างต่ำควร
วิกัปได้ จึงถึงการนับว่าจีวรแล.

[อธิบายการใช้ช่างหูกทอด้วยด้ายกัปปิยะเป็นต้น]


อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ
นี้อย่างนี้:- จะกล่าวถึงด้ายก่อน ที่ภิกษุขอเองเป็นอกัปปิยะ. ด้ายที่เหลือ
* ไม้สำหรับถ่างผ้าที่ทอให้ตึง ปลายทั้งสองมีเข็มสำหรับเสียบที่ริมผ้า.

อันบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งญาติเป็นต้น เป็นกัปปิยะ. แม้ช่างหูกก็ไม่ใช่
ญาติและไม่ใช่คนปวารณา ภิกษุได้มาด้วยการขอ เป็นอกัปปิยะ. ช่าง
หูกที่เหลือเป็นกัปปิยะ. บรรดาด้ายและช่างหูกเหล่านั้น ด้ายที่เป็นอกัป-
ปิยะ เป็นนิสสัคคีย์แก่ภิกษุผู้ให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะทอ โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อน.
อนึ่ง เมื่อภิกษุให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะนั้นแลทอด้ายที่เป็นกัปปิยะ
เป็นทุกกฏ เหมือนเป็นนิสสัคคีย์ในเบื้องต้นนั่นแล. เมื่อภิกษุให้ช่างหูก
อกัปปิยะนั้นแล ทอด้ายกัปปิยะและอกัปปิยะ ถ้าจีวรเป็นดุจกระทงนา
เนื่องกันเท่าประมาณแห่งจีวรขนาดเล็ก อย่างนี้ คือ ตอนหนึ่งสำเร็จ
ด้วยด้ายกัปปิยะล้วน ๆ ตอนหนึ่งสำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ. เป็นปาจิตตีย์
ในทุก ๆ ตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ. เป็นทุกกฏใน (ตอนที่สำเร็จด้วย
ด้ายเป็นกัปปิยะ) นอกนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน. ถ้ามีหลายตอนหย่อนกว่า
ขนาดจีวรที่ควรวิกัปเป็นอย่างต่ำนั้น โดยที่สุด แม้ขนาดเท่าดวงไฟก็เป็น
ทุกกฏตามจำนวนตอนในทุก ๆ ตอน. ถ้าจีวรทอด้วยด้ายที่คั่นลำดับกัน
ทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้ายกัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายอกัปปิยะ
อยู่ทางด้านขวาง (ด้านพุ่ง) ก็ดี, เป็นทุกกฏทุก ๆ ผัง.
จริงอยู่ เมื่อภิกษุใช้ให้ช่างหูกกัปปิยะทอด้ายที่เป็นอกัปปิยะ เป็น
ทุกกฏ เหมือนเป็นนิสสัคคีย์ในเบื้องต้น. เมื่อภิกษุให้ช่างหูกกัปปิยะนั้น
นั่นเอง ทอด้ายที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ถ้าว่า มีตอนแห่งด้ายอกัปปิยะ
หลายตอนขนาดเท่าจีวรอย่างเล็ก หรือหย่อนกว่า, ในตอนด้ายอกัปปิยะ
เหล่านั้น เป็นทุกกฏด้วยจำนวนตอน. ในตอนด้ายที่เป็นกัปปิยะทั้งหลาย
ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าจีวรทอด้วยด้ายคั่นลำดับกันทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้าย

กัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายอกัปปิยะอยู่ด้านขวาง (ด้านพุ่ง)
ก็ดี, เป็นทุกกฏในทุก ๆ ผัง (ทุก ๆ ช่วงผัง).

[ว่าด้วยช่างหูก 2 คนผลัดกันทอ]


ก็ถ้ามีช่างหูก 2 คน คนหนึ่งเป็นกัปปิยะ คนหนึ่งเป็นอกัปปิยะ
และด้ายก็เป็นอกัปปิยะ, ถ้าช่างหูก 2 คนนั้นผลัดกันทอ, เป็นปาจิตตีย์
ในทุก ๆ ผังที่ช่างหูกอกัปปิยะทอ เป็นทุกกฏ ในจีวรที่หย่อนลงมา.
เป็นทุกกฏในตอนทั้งสองที่ช่างหูกกัปปิยะนอกนี้ทอ. ถ้าช่างหูกทั้ง 2 คน
จับฟืมทอด้วยกัน, เป็นทุกกฏในทุก ๆ ผัง. ถ้าด้ายเป็นกัปปิยะ และ
จีวรมีตอนด้วยการกั้นดังกระทงนาเป็นต้น, เป็นทุกกฏในทุก ๆ ตอนที่
ช่างหูกกัปปิยะทอ. ในตอนที่ช่างหูกกัปปิยะนอกนี้ทอ ไม่เป็นอาบัติ.
ถ้าช่างหูกทั้ง 2 คน จับฟืมทอด้วยกัน เป็นทุกกฏในทุก ๆ ผัง.
ถ้าแม้ด้ายเป็นทั้งกัปปิยะทั้งอกัปปิยะ, ถ้าช่างหูกทั้งสองคนนั้นผลัด
กันทอ, ในตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ มีขนาดเท่าจีวรอย่างเล็ก ซึง
ช่างหูกอกัปปิยะทอ เป็นปาจิตตีย์ ตามจำนวนตอน. เป็นทุกกฏในตอน
ทั้งหลายที่หย่อนลงมา และที่สำเร็จด้วยด้ายกัปปิยะ. เป็นทุกกฏเหมือนกันใน
ตอนที่สำเร็จด้วยด้ายอกัปปิยะ ซึ่งได้ขนาดหรือหย่อนลงมา ที่ช่างหูก
กัปปิยะทอ. ในตอนที่สำเร็จด้วยด้ายกัปปิยะ ไม่เป็นอาบัติ.
ถ้าช่างหูกทั้ง 2 คนทอด้วยด้ายที่สลับกันทีละเส้นก็ดี ทอให้ด้าย
อกัปปิยะอยู่ทางด้านยาว (ด้านยืน) ให้ด้ายกัปปิยะอยู่ทางด้านขวาง (ด้าน
พุ่ง) ก็ดี แม้ทั้งสองคนจับฟืมทอด้วยกันก็ดี, เป็นทุกกฏทุก ๆ ผัง ใน
จีวรที่ไม่มีตอน. ส่วนเนื้อความว่า ในจีวรที่มีตอนเป็นทุกกฏหลายตัว
ด้วยอำนาจแห่งตอน นี้ไม่ปรากฏในมหาอรรถกถา ปรากฏแต่ในมหา-
ปัจจรีเป็นต้น, ในอรรถกถานี้ปรากฏโดยอาการทุกอย่างแล.