เมนู

[ว่าด้วยกำเนิดด้าย 6 ชนิด]


บทว่า โขมํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้โขมะ.
บทว่า กปฺปาสิกํ ได้แก่ ด้ายที่เกิดจากฝ้าย.
บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่ ด้ายที่กรอด้วยใยไหม.
บทว่า กมฺพลํ ได้แก่ ด้ายทำด้วยขนแกะ.
บทว่า สาณํ ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ (ป่าน).
บทว่า ภงฺคํ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ได้แก่ ด้ายที่ทำด้วยปอ
ชนิดหนึ่งต่างหาก. แต่ด้ายที่เขาทำผสมกันด้วยสัมภาระทั้ง 5 อย่างนั่น
ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ภังคะ.
หลายบทว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ มีความว่า ถ้าช่างหูกไม่มี
กระสวยและฟืมเป็นต้น, เขาคิดว่า เราจักนำของเหล่านั้นมาจากป่า จึง
ลับมีดหรือขวาน, ตั้งแต่นั้นไปเขากระทำประโยคใดๆ เพื่อต้องการเครื่อง
อุปกรณ์ก็ดี เพื่อต้องการจะทอจีวรก็ดี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุก ๆ ประโยค
นั้นของช่างหูกในกิจทั้งปวง. เมื่อช่างหูกทอผ้าได้ด้านยาวประมาณคืบ 1
และด้านกว้างประมาณศอก 1 เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวว่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทุก ๆ ผัง* ( ทุก ๆ ช่วงผัง) แก่
ภิกษุผู้ให้ช่างหูกทออยู่จนถึงที่สุด (จนสำเร็จ). แม้คำนั้น ก็พึงทราบว่า
ท่านกล่าวหมายเอาประมาณนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ ประมาณผ้าอย่างต่ำควร
วิกัปได้ จึงถึงการนับว่าจีวรแล.

[อธิบายการใช้ช่างหูกทอด้วยด้ายกัปปิยะเป็นต้น]


อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วายาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ
นี้อย่างนี้:- จะกล่าวถึงด้ายก่อน ที่ภิกษุขอเองเป็นอกัปปิยะ. ด้ายที่เหลือ
* ไม้สำหรับถ่างผ้าที่ทอให้ตึง ปลายทั้งสองมีเข็มสำหรับเสียบที่ริมผ้า.